หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สอบสวนด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

สาขาวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ WPS-LSOS-044B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สอบสวนด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักความปลอดภัยในการทำงาน 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องมีความรู้เรื่องข้อกำหนดกฎหมายความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม และมีความรู้เรื่องแนวทางปฏิบัติที่ดีด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยตามกฎหมาย และมาตรฐานสากล ความรู้เกี่ยวกับวิธีการการวิเคราะห์ อันตราย (Hazard analysis methods) และความรู้ด้านกลยุทธ์ในการนำเสนอรายงาน (Report presentation strategies) โดยสามารถเตรียมและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสอบสวนและรายงาน อุบัติเหตุ อุบัติการณ์และหรือกรณีที่อาจเกิดการบาดเจ็บและอุบัติเหตุ เพื่อกำหนดการปฏิบัติการแก้ไขและป้องกันอุบัติเหตุได้ รายงานการสอบสวนและรายงานอุบัติเหตุรวมทั้งจัดเก็บข้อมูลทางสถิติการเกิดอุบัติเหตุได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 25542.    พระราชบัญญัติ ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 25623.    พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 25414.    กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานการตรวจสุขภาพลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง พ.ศ. 25635.    ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอย่างอื่นซึ่งรุนแรงหรือเรื้อรัง พ.ศ. 2553

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A204.1 วางแผนการสอบสวนด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

1. กำหนดวัตถุประสงค์การสอบสวนด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้

A204.1.01 147501
A204.1 วางแผนการสอบสวนด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

2. ระบุข้อมูลที่ใช้ในการสอบสวนด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้

A204.1.02 147502
A204.1 วางแผนการสอบสวนด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

3. ระบุขอบเขตการสอบสวนด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้

A204.1.03 147503
A204.1 วางแผนการสอบสวนด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

4. กำหนดเทคนิค วิธีการที่ใช้ในการสอบสวนด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้

A204.1.04 147504
A204.1 วางแผนการสอบสวนด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

5. เลือกใช้เครื่องมือ สอบสวนด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้

A204.1.05 147505
A204.1 วางแผนการสอบสวนด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

6. จัดทำแบบรายการการสอบสวนด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้

A204.1.06 147506
A204.2 สอบสวนอุบัติเหตุ อุบัติการณ์ และหรือ กรณีที่อาจเกิดการบาดเจ็บและอุบัติเหตุ

1. ระบุหลักการและวิธีการวิเคราะห์อุบัติเหตุ/อุบัติการณ์ของเทคนิคที่เลือกไว้ได้

A204.2.01 147507
A204.2 สอบสวนอุบัติเหตุ อุบัติการณ์ และหรือ กรณีที่อาจเกิดการบาดเจ็บและอุบัติเหตุ

2. สรุปเหตุการณ์ในการเกิดอุบัติเหตุ/อุบัติการณ์ได้

A204.2.02 147508
A204.2 สอบสวนอุบัติเหตุ อุบัติการณ์ และหรือ กรณีที่อาจเกิดการบาดเจ็บและอุบัติเหตุ

3. กำหนดผู้ที่เกี่ยวข้องในการวิเคราะห์อุบัติเหตุ อุบัติการณ์ได้

A204.2.03 147509
A204.2 สอบสวนอุบัติเหตุ อุบัติการณ์ และหรือ กรณีที่อาจเกิดการบาดเจ็บและอุบัติเหตุ

4. ระบุรายละเอียดข้อมูลจากสถานที่เกิดอุบัติเหตุ อุบัติการณ์ ได้

A204.2.04 147510
A204.2 สอบสวนอุบัติเหตุ อุบัติการณ์ และหรือ กรณีที่อาจเกิดการบาดเจ็บและอุบัติเหตุ

5. ระบุรายละเอียดข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ที่เห็นเหตุการณ์หรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้

A204.2.05 147511
A204.2 สอบสวนอุบัติเหตุ อุบัติการณ์ และหรือ กรณีที่อาจเกิดการบาดเจ็บและอุบัติเหตุ

6. ระบุรายละเอียดข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องได้

A204.2.06 147512
A204.2 สอบสวนอุบัติเหตุ อุบัติการณ์ และหรือ กรณีที่อาจเกิดการบาดเจ็บและอุบัติเหตุ

7. ชี้บ่งสาเหตุที่แท้จริงเชิงระบบการจัดการได้

A204.2.07 147513
A204.2 สอบสวนอุบัติเหตุ อุบัติการณ์ และหรือ กรณีที่อาจเกิดการบาดเจ็บและอุบัติเหตุ

8. จัดทำสถิติการเกิดอุบัติเหตุ อุบัติการณ์ได้

A204.2.08 147514
A204.3 สอบสวนการเจ็บป่วยจากการปฏิบัติงาน

1. ระบุหลักการและวิธีการวิเคราะห์การเจ็บป่วยจากการปฏิบัติงาน ของเทคนิคที่เลือกไว้ได้

A204.3.01 147515
A204.3 สอบสวนการเจ็บป่วยจากการปฏิบัติงาน

2. ระบุปัญหาการเจ็บป่วยจากการปฏิบัติงานได้

A204.3.02 147516
A204.3 สอบสวนการเจ็บป่วยจากการปฏิบัติงาน

3. วิเคราะห์ขั้นตอนการทำงาน กระบวนการผลิต สภาพแวดล้อมการทำงานและวัตถุดิบที่ใช้ ที่มีผลต่อการเจ็บป่วยได้

A204.3.03 147517
A204.3 สอบสวนการเจ็บป่วยจากการปฏิบัติงาน

4. ชี้บ่งสาเหตุของการเจ็บป่วยที่อาจเกิดจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัย และสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัยได้

A204.3.04 147518
A204.3 สอบสวนการเจ็บป่วยจากการปฏิบัติงาน

5. ตรวจสอบผลการวิเคราะห์หาสาเหตุของการเจ็บป่วยที่เกิดจากการปฏิบัติงานได้

A204.3.05 147519
A204.4 รายงานผลการสอบสวนด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 1. รายงานการสอบสวนและรายงาน อุบัติเหตุ อุบัติการณ์ และการเจ็บป่วยจากการปฏิบัติงานให้ผู้ที่เกี่ยวข้องพิจารณาตรวจสอบได้ A204.4.01 147520
A204.4 รายงานผลการสอบสวนด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

2. ระบุแนวทางในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ อุบัติการณ์ และการเจ็บป่วยซ้ำ ให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องได้

A204.4.02 147521
A204.4 รายงานผลการสอบสวนด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

3. สรุปผลการผลการสอบสวนด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้

A204.4.03 147522
A204.4 รายงานผลการสอบสวนด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

4. จัดทำบทเรียน (Lesson Learn)  จากการเกิดอุบัติเหตุ อุบัติการณ์ และการเจ็บป่วยจากการปฏิบัติงานได้

A204.4.04 147523
A204.4 รายงานผลการสอบสวนด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

5. จัดทำข้อเสนอแนะด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้

A204.4.05 147524

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ด้านกฎหมาย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสุขศาสตร์อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง พ.ศ.2543 และ ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะในการนำการสืบค้นหาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ (incident investigations)

2.    ทักษะในการวิเคราะห์อันตรายในการทำงาน และวิเคราะห์ขั้นตอนการทำงาน (job safety analyses and task analyses)

3.    ทักษะในการวิเคราะห์อันตราย (hazard analyses)

4.    การหาแหล่งข้อมูลเรื่องอันตราย ภัยคุกคาม (threats) และจุดอ่อน (vulnerabilities)

5.    ทักษะในการเป็นผู้นำการวิเคราะห์ความเสี่ยงอย่างละเอียดครอบคลุมทุกด้าน (Leading comprehensive risk assessments)

6.    ทักษะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอรายงาน (Using business software to present reports)

7.    ทักษะการคำนวณทางสถิติจากแหล่งข้อมูล (Calculating statistics from data sources)

8.    ทักษะการการรวบรวมสิ่งที่เป็นอันตราย 

9.    ทักษะการสำรวจการปฏิบัติงานและพื้นที่ปฏิบัติงาน

10.    ทักษะการชี้บ่งประชากรที่ได้รับการสัมผัสอันตรายได้อย่างเหมาะสม

11.    ทักษะการระบุเส้นทางการสัมผัส

12.    ทักษะการจัดเก็บและการบันทึกข้อมูล

13.    ทักษะการพิจารณาความแตกต่างของผู้ปฏิบัติงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    วิธีการการวิเคราะห์ อันตราย (Hazard analysis methods))

2.     ความรู้ด้านกลยุทธ์ในการนำเสนอรายงาน (Report presentation strategies)

3.    เทคนิคการสืบค้นหาสาเหตุของเหตุการณ์ (Incident investigation techniques)

4.     แหล่งข้อมูลในการค้นหาอันตราย ภัยคุกคาม (threats) และจุดอ่อน (vulnerabilities) เช่นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน หรือวิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุด (best practices) บทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ (published literature)

5.    . โปรแกรมที่ใช้สำหรับการจัดการข้อมูล (Data management software)

6.    ความรู้ด้านวิธีการย้ายข้อมูล Electronic และทางเลือกในการเก็บข้อมูล (data storage options

7.     การสร้างแบบฟอร์มสำหรับเก็บข้อมูล (Creating data collection forms)

8.    ความรู้ในวิธีการการวิเคราะห์ความเสี่ยงเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ นิรนัย และอุปนัย (Qualitative, deductive, and inductive risk assessment methods)quantitative

9.    พฤติกรรมองค์กรและพฤติกรรมศาสตร์ (Organizational and behavioral sciences),

10.     การวางแผนฉุกเฉิน แผนสำรองในภาวะวิกฤติ แผนสำรองกรณีเกิดภัยพิบัติ

11.     ความรู้ด้านคณิตศาสตร์และสถิติ (Mathematics and statistics)

12.    (Emergency/crisis/disaster response planning)

13.     ความรู้ด้านกลยุทธ์ในการนำเสนอรายงาน (Report presentation strategies)

14.    ความรู้เกี่ยวกับอันตรายทางชีวภาพ / เคมี / กายภาพ / การยศาสตร์

15.    ความรู้เกี่ยวกับพิษวิทยาและการเส้นทางสัมผัส

16.    ความรู้เกี่ยวกับสรีรวิทยาและกายวิภาคศาสตร์

17.    ความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรม / สภาพแวดล้อมการทำงาน

18.    ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตและหน่วยการปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม

19.    ความรู้เกี่ยวกับพิษวิทยา

20.    ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐาน / แนวปฏิบัติ

21.    ความรู้เกี่ยวกับระบาดวิทยา

22.    ความรู้เกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยง

23.    ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบรูปแบบการศึกษา


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

1.    ผู้เข้ารับการประเมินสามารถอธิบายความสำคัญและเนื้อหากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและในพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง พ.ศ.2543 และ ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและ

2.    สามารถอธิบายความสำคัญของกฎหมายความปลอดภัยและแนวทางการปฏิบัติที่ดีด้านความปลอดภัย ด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม และด้านสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศได้

3.    สามารถอธิบายขั้นตอนและรายละเอียดที่นายจ้างต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ประกาศกรม ที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ของประเทศไทยได้

4.    มีการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการด้านกฎหมายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่เสมอ

5.    มีความรู้ความเข้าใจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย สุขศาสตร์อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ



คำอธิบายรายละเอียด

    ผู้เข้ารับการประเมินสามารถวางแผน ดำเนินการในการสอบสวนด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอุบัติเหตุ โดยการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ การวาดภาพของเหตุการณ์ประกอบ การถ่ายรูปหรือบันทึกภาพสถานที่เกิดเหตุ การแสดงซ้ำให้ดู ในระหว่างการสอบสวนอุบัติเหตุการตรวจสอบอุปกรณ์ เครื่องมือ และเครื่องจักร ในการสอบสวนอุบัติเหตุ

1.    การวิเคราะห์อุบัติเหตุจากปัจจัยของคน

2.    การวิเคราะห์อุบัติเหตุจากปัจจัยของคน

3.    การกำหนดแผนแก้ไขปัญหาระยะสั้น

4.    การกำหนดแผนแก้ไขปัญหาระยะยาว

5.    การรายงานข้อมูลพื้นฐานของผู้ประสบอุบัติเหตุ ได้แก่ ชื่อ – นามสกุล อายุ เพศ หมายเลขประจำตัว ตำแหน่ง หน้าที่ หน่วยงานที่ สังกัด อายุ วันเดือนปีที่เกิด ลักษณะอุบัติเหตุ 

    สอบสวนการเจ็บป่วยจากการปฏิบัติงาน

1.    เทคนิคการรวมรวมข้อมูลโดยเครื่องมือที่เหมาะสม (การสอบถาม การสัมภาษณ์ แบบคัดกรอง แบบสอบถาม)

2.    ข้อมูลที่ต้องรวบรวม ลักษณะการเจ็บป่วย ข้อมูลส่วนบุคคล ประวัติการทำงาน ประวัติการเจ็บป่วย พฤติกรรมสุขภาพ การรับสัมผัสปัจจัยเสี่ยงจากการทำงาน 

3.    การรายงานผลการสอบสวน โดยหลัก Person Place Time

4.    การใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลในการสอบสวนโรคและการเจ็บป่วย (หลักการสอบสวนโรคด้านระบาดวิทยา Investigation of workplace การวิเคราะห์ Root cause 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1    เครื่องมือประเมินการวางแผนการสอบสวนด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2 สอบสัมภาษณ์

18.2    เครื่องมือประเมินการดำเนินการสอบสวนอุบัติเหตุ อุบัติการณ์ และหรือ กรณีที่อาจเกิดการบาดเจ็บและอุบัติเหตุตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2 สอบสัมภาษณ์

18.3 เครื่องมือประเมินการดำเนินการสอบสวนการเจ็บป่วยจากการปฏิบัติงานตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2 สอบสัมภาษณ์

18.4 เครื่องมือประเมินการรายงานผลการสอบสวนด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2 สอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ