หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ชี้บ่งสภาพการณ์และการกระทำที่ไม่ปลอดภัย

สาขาวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ WPS-SFGR-006B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ชี้บ่งสภาพการณ์และการกระทำที่ไม่ปลอดภัย

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักความปลอดภัยในการทำงาน 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องมีความรู้เรื่องข้อกำหนดกฎหมายความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม และมีความรู้เรื่องแนวทางปฏิบัติที่ดีด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยตามกฎหมาย และมาตรฐานสากล โดยสามารถชี้บ่ง ประเมิน และจัดทำทะเบียนสิ่งที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย และมาตรฐานสากลได้ วางแผน และดำเนินการชี้บ่งสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย และการกระทำที่ไม่ปลอดภัย พร้อมทั้งการจัดทำรายงานผลการการชี้บ่งสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย และการกระทำที่ไม่ปลอดภัย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 25542.    พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 3.    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 4.    ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง พ.ศ.2543 5.    ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A202.1 วางแผนการชี้บ่งสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย และการกระทำที่ไม่ปลอดภัย

1. อธิบายวัตถุประสงค์การชี้บ่งสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัยและการกระทำที่ปลอดภัยได้

A202.1.01 147464
A202.1 วางแผนการชี้บ่งสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย และการกระทำที่ไม่ปลอดภัย

2. ระบุวัตถุประสงค์และเป้าหมายการชี้บ่งสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัยและการกระทำที่ไม่ปลอดภัยได้

A202.1.02 147465
A202.1 วางแผนการชี้บ่งสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย และการกระทำที่ไม่ปลอดภัย

3. ระบุพื้นที่ กระบวนการผลิต/กิจกรรมและลักษณะสภาพแวดล้อมในการทำงานแต่ละด้านกายภาพ ชีวภาพ เคมี การยศาสตร์ และด้านจิตวิทยาสังคมได้

A202.1.03 147466
A202.1 วางแผนการชี้บ่งสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย และการกระทำที่ไม่ปลอดภัย

4. ระบุรายละเอียดของวิธีการใช้เครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆในกระบวนการพื้นที่ กระบวนการผลิต/กิจกรรมได้

A202.1.04 147467
A202.1 วางแผนการชี้บ่งสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย และการกระทำที่ไม่ปลอดภัย

5. ระบุประเภทกิจกรรมของงานหรือหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงานภายใต้การดำเนินการของหน่วยงานต่าง ๆ ได้

A202.1.05 147468
A202.1 วางแผนการชี้บ่งสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย และการกระทำที่ไม่ปลอดภัย

6. ระบุกฎหมาย มาตรฐานและข้อกำหนดต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัยและการกระทำที่ไม่ปลอดภัยได้

A202.1.06 147469
A202.1 วางแผนการชี้บ่งสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย และการกระทำที่ไม่ปลอดภัย

7. จัดทำแบบรายการสำรวจสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัยและการกระทำที่ไม่ปลอดภัยได้

A202.1.07 147470
A202.1 วางแผนการชี้บ่งสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย และการกระทำที่ไม่ปลอดภัย

8. "กำหนดพื้นที่ กระบวนการผลิต/กิจกรรม ผู้รับผิดชอบ ความถี่ที่จะไป

A202.1.08 147471
A202.1 วางแผนการชี้บ่งสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย และการกระทำที่ไม่ปลอดภัย

9. ชี้บ่งสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย และการกระทำที่ไม่ปลอดภัยไว้ในแผนได้"

A202.1.09 147472
A202.1 วางแผนการชี้บ่งสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย และการกระทำที่ไม่ปลอดภัย

10. นำเสนอแผนการชี้บ่งสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย และการกระทำที่ไม่ปลอดภัยให้ผู้เกี่ยวข้องพิจารณาได้

A202.1.10 147473
A202.2 ดำเนินการชี้บ่งสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย และการกระทำที่ไม่ปลอดภัยตามแผนที่กำหนด

1. จัดทำแบบรายการสำรวจสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัยและการกระทำที่ไม่ปลอดภัยได้

A202.2.01 147474
A202.2 ดำเนินการชี้บ่งสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย และการกระทำที่ไม่ปลอดภัยตามแผนที่กำหนด

2. ระบุขั้นตอนการปฏิบัติติงาน สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัยและการกระทำที่ไม่ปลอดภัยได้

A202.2.02 147475
A202.2 ดำเนินการชี้บ่งสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย และการกระทำที่ไม่ปลอดภัยตามแผนที่กำหนด

3. ระบุสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย และการกระทำที่ไม่ปลอดภัยตามความถี่ที่กำหนดไว้ในแผนได้

A202.2.03 147476
A202.2 ดำเนินการชี้บ่งสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย และการกระทำที่ไม่ปลอดภัยตามแผนที่กำหนด

4. ระบุแหล่งอันตราย ลักษณะของอันตราย ประเภทของผลกระทบ ที่เกิดจากสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัยและการกระทำที่ไม่ปลอดภัยลงในแบบรายการสำรวจสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัยและการกระทำที่ไม่ปลอดภัยได้ 

A202.2.04 147477
A202.2 ดำเนินการชี้บ่งสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย และการกระทำที่ไม่ปลอดภัยตามแผนที่กำหนด

5. สรุปผลประเภทของหัวข้อสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย และการกระทำที่ไม่ปลอดภัยได้

A202.2.05 147478
A202.3 จัดทำรายงานผลการการชี้บ่งสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย และการกระทำที่ไม่ปลอดภัย

1. รวบรวมผลการชี้บ่งสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย และการกระทำที่ไม่ปลอดภัย

A202.3.01 147479
A202.3 จัดทำรายงานผลการการชี้บ่งสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย และการกระทำที่ไม่ปลอดภัย

2. ตรวจสอบความถูกต้องผลการชี้บ่ง การประเมินและการกำหนดแนวทางการแก้ไขปรับปรุงสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัยและการกระทำที่ไม่ปลอดภัยได้

A202.3.02 147480
A202.3 จัดทำรายงานผลการการชี้บ่งสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย และการกระทำที่ไม่ปลอดภัย

3. ระบุข้อเสนอแนะของผลการการชี้บ่งสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย และการกระทำที่ไม่ปลอดภัย

A202.3.03 147481
A202.3 จัดทำรายงานผลการการชี้บ่งสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย และการกระทำที่ไม่ปลอดภัย

4. นำเสนอรายงานผลการชี้บ่งสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัยและการกระทำที่ไม่ปลอดภัยกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้

A202.3.04 147482

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ด้านกฎหมาย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสุขศาสตร์อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ความมั่นคงปลอดภัยของระบบข้อมูล ข่าวสาร (Information security)

2.    ทักษะในการแจกแจงอันตรายจากการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ ระบบควบคุม และกระบวนการผลิต

3.    ทักษะในการค้นหาจุดอ่อน ข้อบกพร่อง ทั้งจากภายในและภายนอก (external and internal threats) ที่จะมีผลกระทบต่อสถานประกอบการ ระบบควบคุม กระบวนการผลิต อุปกรณ์ เครื่องมือ



4.    ทักษะในการวิเคราะห์อันตรายในการทำงาน และวิเคราะห์ขั้นตอนการทำงาน (job safety analyses and task analyses)

5.    ทักษะในการวิเคราะห์อันตราย (hazard analyses)

6.    ทักษะในการนำการสืบค้นหาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ (incident investigations)

7.    ทักษะในการสัมภาษณ์ ถามคำถามผู้เห็นเหตุการณ์ (Interviewing witnesses to incidents)

8.    ทักษะในการทำความเข้าใจ (Interpreting) แผนงาน ข้อกำหนด (specifications) แบบ (drawings) และผังแสดงกระบวนการผลิต (process flow diagrams)

9.    ทักษะในการใช้โปรแกรมการจัดการข้อมูล (Using data management software)

10.    ทักษะในการปกป้องหักฐานในการสืบค้นหาสาเหตุของอุบัติเหตุ (Preserving evidence from incident investigations)

11.    ทักษะในการสร้างแบบฟอร์มสำหรับเก็บข้อมูล (Creating data collection forms)

12.    .ทักษะในการรักษาความถูกต้องของข้อมูล (Maintaining data integrity)

13.    ทักษะการสัมภาษณ์ผู้คน (Interviewing people)

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    เทคนิคการสืบค้นหาสาเหตุของเหตุการณ์ (Incident investigation techniques)

2.    ความรู้ด้านระเบียบปฏิบัติ ห่วงโซ่ความรับผิดชอบ (Chain of custody procedures)

3.    โปรแกรมที่ใช้สำหรับการจัดการข้อมูล (Data management software)

4.    ความรู้ด้านเครื่องมือสำหรับการเก็บข้อมูลและติดตามการเปลี่ยนแปลงของข้อมูล Electronic (data logging and monitoring equipment)

5.    ความรู้ด้านวิธีการย้ายข้อมูล Electronic และทางเลือกในการเก็บข้อมูล (data storage options

6.    การป้องกันข้อมูล (Information security) และข้อกำหนดด้านเก็บความลับ (confidentiality)

7.     เทคนิคการค้นหาสาเหตุของการเกิดเหตุ (Incident investigation techniques)

8.     พฤติกรรมองค์กรและพฤติกรรมศาสตร์ (Organizational and behavioral sciences)

9.     พฤติกรรมกลุ่ม (Group dynamics)

10.    ความรู้ในการเปรียบเทียบ (Benchmarks) และมาตรฐานการดำเนินงาน (performance standards)

11.    แหล่งของข้อมูลด้านอันตราย ภัยคุกคามและจุดอ่อน (threats, and vulnerabilities) เช่น ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ หรือวิธีการที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรม หรือรายงานวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ (published literature)ในสาขาที่

12.    แหล่งของข้อมูลด้านกฎหมาย กฎระเบียบ มาตรฐานการทำงานที่เป็นที่ยอมรับ (Sources of related to local laws, regulations, and consensus codes and standards)information


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

1.    ผู้เข้ารับการประเมินสามารถอธิบายความสำคัญและเนื้อหากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและในพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและ

2.    สามารถอธิบายความสำคัญของกฎหมายความปลอดภัยและแนวทางการปฏิบัติที่ดีด้านความปลอดภัย ด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม และด้านสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศได้

3.    สามารถอธิบายขั้นตอนและรายละเอียดที่นายจ้างต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ประกาศกรม ที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ของประเทศไทยได้

4.    มีการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการด้านกฎหมายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่เสมอ

5.    มีความรู้ความเข้าใจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย สุขศาสตร์อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ



คำอธิบายรายละเอียด

ผู้เข้ารับการประเมินมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย การกระทำที่ไม่ปลอดภัย แผนการบ่งชี้สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย และการประเมินสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย สามารถแสดงให้เห็นถึงการชี้บ่งสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย และการกระทำที่ไม่ปลอดภัย โดยการใช้เครื่องมือ และวิธีการสำรวจ เพื่อประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและความมั่นคง (security risk)   ได้แก่

1. เทคนิค job safety analyses and task analyses

2. เทคนิค“Checklist”

3. เทคนิค“What if”

4. เทคนิค HAZOP (Hazard and Operability Analysis methods)

5. เทคนิค Hazard analysis methods 

6. เทคนิค FMEA (Failure Mode and Effects analysis methods)”

7. เทคนิค FTA (Fault Tree Analysis methods)” 

8. เทคนิคETA (Event Tree Analysis methods)”

โดยการชี้บ่งอันตรายสามารถทำได้หลายวิธีตามความเหมาะสม การเลือกและนำวิธีการใดมาวิเคราะห์ชี้บ่งอันตราย ขึ้นอยู่กับการเลือกให้เหมาะสมกับประเภทอุตสาหกรรม กระบวนการผลิต และเทคโนโลยี


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1    เครื่องมือประเมินการวางแผนการชี้บ่งสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย และการกระทำที่ไม่ปลอดภัยตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2 ผลการสอบสัมภาษณ์

18.2    เครื่องมือประเมินการดำเนินการชี้บ่งสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย และการกระทำที่ไม่ปลอดภัยตามแผนที่กำหนดตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2 ผลการสอบสัมภาษณ์



18.3 เครื่องมือประเมินการจัดทำรายงานผลการการชี้บ่งสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย และการกระทำที่ไม่ปลอดภัยตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2 ผลการสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ