หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ชี้บ่งและจัดทำทะเบียนปัจจัยเสี่ยงและอันตราย

สาขาวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ WPS-ZXFT-005B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ชี้บ่งและจัดทำทะเบียนปัจจัยเสี่ยงและอันตราย

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักความปลอดภัยในการทำงาน 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องมีความรู้เรื่องข้อกำหนดกฎหมายความปลอดภัยอาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม และสุขศาสตร์อุตสาหกรรม  และมีความรู้เรื่องแนวทางปฏิบัติที่ดีด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยตามกฎหมาย และมาตรฐานสากล  สามารถวางแผน และชี้บ่งอันตรายและปัจจัยเสี่ยง สามารถจัดทำทะเบียนอันตรายและความเสี่ยง รวมทั้งการจัดเก็บทะเบียนอันตรายและความเสี่ยงในสภาพแวดล้อมในการทำงาน ประกอบกด้วย เครื่องมือและอุปกรณ์ เครื่องจักร รวมถึงพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงานได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 25542.    พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 3.    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 4.    ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง พ.ศ.2543 5.    ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 6.    พระราชบัญญัติ ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๖๒7.    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง ขีดจำกัดความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย8.    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจวัด และการวิเคราะห์ผลการตรวจวัดระดับความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย9.    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานระดับเสียงที่ยอมให้ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานในแต่ละวัน10.    ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอย่างอื่นซึ่งรุนแรงหรือเรื้อรัง พ.ศ. ๒๕๕๓ 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A201.1 วางแผนการชี้บ่งอันตรายและปัจจัยเสี่ยง

1. กำหนดวัตถุประสงค์การชี้บ่งอันตรายด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้

A201.1.01 147444
A201.1 วางแผนการชี้บ่งอันตรายและปัจจัยเสี่ยง

2. ระบุพื้นที่ กระบวนการผลิต กิจกรรมและลักษณะสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ต้องชี้บ่งได้

A201.1.02 147445
A201.1 วางแผนการชี้บ่งอันตรายและปัจจัยเสี่ยง

3. จัดทำแบบรายการสำรวจอันตรายด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้

A201.1.03 147446
A201.1 วางแผนการชี้บ่งอันตรายและปัจจัยเสี่ยง

4. ระบุเทคนิค วิธีการที่ใช้ในการสำรวจด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้

A201.1.04 147447
A201.1 วางแผนการชี้บ่งอันตรายและปัจจัยเสี่ยง

5. กำหนดผู้รับผิดชอบและความถี่ในการไปชี้บ่งอันตรายได้

A201.1.05 147448
A201.2 ดำเนินการชี้บ่งอันตรายและปัจจัยเสี่ยง

1. ระบุรายละเอียดของวิธีการใช้เครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆได้

A201.2.01 147449
A201.2 ดำเนินการชี้บ่งอันตรายและปัจจัยเสี่ยง

2. ระบุรายละเอียดพื้นที่ กระบวนการผลิต/กิจกรรมและลักษณะสภาพแวดล้อมในการทำงานได้

A201.2.02 147450
A201.2 ดำเนินการชี้บ่งอันตรายและปัจจัยเสี่ยง

3. เปรียบเทียบสิ่งที่ปฏิบัติ กับกฎหมายหรือมาตรฐานได้

A201.2.03 147451
A201.2 ดำเนินการชี้บ่งอันตรายและปัจจัยเสี่ยง

4. ระบุข้อมูลและอันตรายในกระบวนการผลิตต่างๆ ในโรงงานหรือสถานประกอบการได้

A201.2.04 147452
A201.2 ดำเนินการชี้บ่งอันตรายและปัจจัยเสี่ยง

5. ระบุข้อบกพร่องที่เป็นอันตรายและความเสี่ยงจากการปฏิบัติงานได้

A201.2.05 147453
A201.2 ดำเนินการชี้บ่งอันตรายและปัจจัยเสี่ยง

6. สรุปผลการชี้บ่งอันตรายและปัจจัยเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้

A201.2.06 147454
A201.3 จัดทำทะเบียนอันตรายและความเสี่ยง

1. กำหนดแบบฟอร์มรูปแบบและหัวข้อทะเบียนปัจจัยเสี่ยงและอันตรายให้เป็นมาตรฐานได้

A201.3.01 147455
A201.3 จัดทำทะเบียนอันตรายและความเสี่ยง

2. ระบุรายละเอียดทะเบียนปัจจัยเสี่ยงและอันตราย ตามข้อมูลที่รวบรวมได้ลงในแบบฟอร์มทะเบียนปัจจัยเสี่ยงและอันตรายได้

A201.3.02 147456
A201.3 จัดทำทะเบียนอันตรายและความเสี่ยง

3. ระบุขั้นตอนการทบทวนผลการชี้บ่งอันตรายและความเสี่ยงให้ทันสมัยได้

A201.3.03 147457
A201.3 จัดทำทะเบียนอันตรายและความเสี่ยง

4. นำเสนอแบบฟอร์มทะเบียนปัจจัยเสี่ยงและอันตรายให้ผู้เกี่ยวข้องได้

A201.3.04 147458
A201.4 จัดเก็บทะเบียนอันตรายและความเสี่ยงในสภาพแวดล้อมในการทำงาน เครื่องมือและอุปกรณ์ เครื่องจักร รวมถึงพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงาน

1. กำหนดรูปแบบการจัดเก็บทะเบียนปัจจัยเสี่ยงและอันตรายได้

A201.4.01 147459
A201.4 จัดเก็บทะเบียนอันตรายและความเสี่ยงในสภาพแวดล้อมในการทำงาน เครื่องมือและอุปกรณ์ เครื่องจักร รวมถึงพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงาน

2. รวบรวมเอกสารทะเบียนปัจจัยเสี่ยงและอันตรายไว้ในแฟ้มตามที่กำหนดได้

A201.4.02 147460
A201.4 จัดเก็บทะเบียนอันตรายและความเสี่ยงในสภาพแวดล้อมในการทำงาน เครื่องมือและอุปกรณ์ เครื่องจักร รวมถึงพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงาน

3. รวบรวมไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ทะเบียนปัจจัยเสี่ยงและอันตรายไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ได้

A201.4.03 147461
A201.4 จัดเก็บทะเบียนอันตรายและความเสี่ยงในสภาพแวดล้อมในการทำงาน เครื่องมือและอุปกรณ์ เครื่องจักร รวมถึงพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงาน

4. กำหนดโปรแกรมไวรัสป้องกันความเสียหายไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ทะเบียนปัจจัยเสี่ยงและอันตรายได้

A201.4.04 147462
A201.4 จัดเก็บทะเบียนอันตรายและความเสี่ยงในสภาพแวดล้อมในการทำงาน เครื่องมือและอุปกรณ์ เครื่องจักร รวมถึงพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงาน

5. ทบทวนการจัดเก็บเอกสารและไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ทะเบียนปัจจัยเสี่ยงและอันตรายให้มีความทันสมัยได้

A201.4.05 147463

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ด้านกฎหมาย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสุขศาสตร์อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง พ.ศ.2543 และ ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย  

และความรู้ด้านกฎหมายเกี่ยวกับอาชีวอนามัย และสุขศาสตร์อุตสาหกรรม

1.    พระราชบัญญัติ ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๖๒

2.    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง ขีดจำกัดความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย

3.    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจวัด และการวิเคราะห์ผลการตรวจวัดระดับความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย

4.    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานระดับเสียงที่ยอมให้ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานในแต่ละวัน

5.    ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอย่างอื่นซึ่งรุนแรงหรือเรื้อรัง พ.ศ. ๒๕๕๓ 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะในการวิเคราะห์อันตรายในการทำงาน และวิเคราะห์ขั้นตอนการทำงาน (job safety analyses and task analyses)

2.    ทักษะในการแจกแจงอันตรายจากการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ ระบบควบคุม และกระบวนการผลิต

3.    ทักษะในการวิเคราะห์อันตรายในการทำงาน และวิเคราะห์ขั้นตอนการทำงาน (job safety analyses and task analyses)

4.    ทักษะในการนำการสืบค้นหาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ (incident investigations)

5.    ทักษะในการพิจารณานัยสำคัญทางสถิติ (Determining statistical significance)

6.    ทักษะในการเปรียบเทียบทางสถิติ (Comparing statistics to benchmarks)

7.    ทักษะการใช้เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร (Internet)

8.    ทักษะการคำนวณทางสถิติจากแหล่งข้อมูล (Calculating statistics from data sources)

9.    ทักษะในการใช้โปรแกรมการจัดการข้อมูล (Using data management software)

10.    ทักษะการใช้สถิติเพื่อกำหนดการเปรียบเทียบและมาตรฐานการดำเนินงาน (Using statistics to define benchmarks and performance standards)

11.    ทักษะในการวิเคราะห์ข้อกำหนด กฎหมาย (Evaluate regulatory requirements) 

12.    ทักษะในการตีความข้อกำหนด กฎหมาย (Interpreting law and regulations)

13.    ทักษะในการชี้บ่งอันตรายโดยการประเมินความเสี่ยงเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ (Qualitative, quantitative) การประเมินความเสี่ยงเชิงนิรนัยและอุปนัย (deductive, and inductive risk assessment methods)

14.    ทักษะในการทำความเข้าใจ (Interpreting) แผนงาน ข้อกำหนด (specifications) แบบ (drawings) และผังแสดงกระบวนการผลิต (process flow diagrams)

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ลักษณะของความเป็นอันตราย ภัยคุกคาม (threats) และจุดอ่อน (vulnerabilities)

2.    การวิเคราะห์งาน Job safety analysis and task analysis methods

3.    วิธีการการวิเคราะห์ อันตราย (Hazard analysis methods)

4.    เทคนิคและวิธีการวัด (measurement) การชักตัวอย่าง (sampling) และการวิเคราะห์ (analysis)

5.    ความรู้ด้านคณิตศาสตร์และสถิติ (Mathematics and statistics)

6.    ความรู้ด้านเทคนิคการวิเคราะห์ความเสี่ยง (risk assessment methods) เชิงคุณภาพ (Qualitative) และเชิงปริมาณ (quantitative) นิรนัย (deductive) และอุปนัย (inductive)

7.    ความรู้ด้านเครื่องมือสำหรับการเก็บข้อมูลและติดตามการเปลี่ยนแปลงของข้อมูล Electronic (data logging and monitoring equipment)

8.    ความรู้ในวิธีการการวิเคราะห์ความเสี่ยงเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ นิรนัย และอุปนัย (Qualitative, quantitative, deductive, and inductive risk assessment methods)

9.    แหล่งของข้อมูลด้านอันตราย ภัยคุกคามและจุดอ่อน (threats, and vulnerabilities) เช่น  ผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่ เฉพาะ หรือวิธีการที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรม หรือรายงานวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ (published literature)

10.    โปรแกรมที่ใช้สำหรับการจัดการข้อมูล (Data management software)

11.    ความรู้ด้านวิธีการย้ายข้อมูล Electronic และทางเลือกในการเก็บข้อมูล (data storage options

12.    การป้องกันข้อมูล (Information security) และข้อกำหนดด้านเก็บความลับ (confidentiality)

13.    พฤติกรรมองค์กรและพฤติกรรมศาสตร์ (Organizational and behavioral sciences)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

1.    ผู้เข้ารับการประเมินสามารถอธิบายความสำคัญและเนื้อหากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและในพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง พ.ศ.2543 และ ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและ

2.    สามารถอธิบายความสำคัญของกฎหมายความปลอดภัยและแนวทางการปฏิบัติที่ดีด้านความปลอดภัย ด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม และด้านสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศได้

3.    สามารถอธิบายขั้นตอนและรายละเอียดที่นายจ้างต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ประกาศกรม ที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ของประเทศไทยได้

4.    มีการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการด้านกฎหมายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่เสมอมีความรู้ความเข้าใจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย สุขศาสตร์อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ

คำอธิบายรายละเอียด

ผู้เข้ารับการประเมินมีความรู้ด้านกฎหมายเกี่ยวกับอาชีวอนามัย และสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ได้แก่

1.    พระราชบัญญัติ ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๖๒

2.    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง ขีดจำกัดความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย

3.    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจวัด และการวิเคราะห์ผลการตรวจวัดระดับความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย

4.    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานระดับเสียงที่ยอมให้ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานในแต่ละวัน

5.    ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอย่างอื่นซึ่งรุนแรงหรือเรื้อรัง พ.ศ. ๒๕๕๓

    ผู้เข้ารับการประเมินมีความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยง อันตรายขากการปฏิบัติติงาน กระบวนการทำงานที่ไม่ปลอดภัย ความอันตรายจากการปฏิบัติติงานที่เกี่ยวข้องกับเคมี ชีวภาพ และกายภาพ อันตรายจากเครื่องมือ อันตรายจากเครื่องจักร สามารถแสดงให้เห็นถึงการชี้บ่งและจัดทำทะเบียนปัจจัยเสี่ยงและอันตราย ในสถานที่ปฏิบัติงาน อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ ขั้นตอนและพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงาน (ทะเบียนกิจกรรมความเสี่ยงจากกิจกรรมและพื้นที่) โดยการใช้เครื่องมือ และวิธีการสำรวจ เพื่อประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและความมั่นคง (security risk)   ได้แก่

1. เทคนิค job safety analyses and task analyses

2. เทคนิค“Checklist”

3. เทคนิค“What if”

4. เทคนิค HAZOP (Hazard and Operability Analysis methods)

5. เทคนิค Hazard analysis methods 

6. เทคนิค FMEA (Failure Mode and Effects analysis methods)”

7. เทคนิค FTA (Fault Tree Analysis methods)” 

8. เทคนิคETA (Event Tree Analysis methods)”

โดยการชี้บ่งอันตรายสามารถทำได้หลายวิธีตามความเหมาะสม การนำวิธีการใดมาวิเคราะห์ชี้บ่งอันตราย ขึ้นอยู่กับการเลือกให้เหมาะสมกับประเภทอุตสาหกรรม กระบวนการผลิต และเทคโนโลยี

การเดินสำรวจ Walk through survey และจัดทำรายงานด้านอาชีวอนามัย ได้แก่

1.    รายงานด้านอาชีวอนามัย

2.    รายงานการตรวจสอบความปลอดภัยในการทำงาน

3.    รายงานการตรวจสอบความปลอดภัยด้านรังสีวิทยา

4.    รายงานอุบัติการณ์

5.    รายงานการติดเชื้อในโรงพยาบาล

6.    บันทึกประจำวันของหน่วยงาน

7.    รายงานเวรตรวจการ

8.    รายงานของหน่วยรักษาความปลอดภัย

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถชี้บ่งอันตรายจากปัจจัยสิงแวดล้อมการทำงานต่อไปนี้ได้

1.    อันตรายด้านกายภาพ เคมี ชีวภาพ การยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม

2.    ช่องทางการรับสัมผัส (ทางการหายใจ ซึมผ่านผิวหนัง การกิน)

3.    ผลกระทบต่อสุขภาพ (Acute and chronic effect) 

และสามารถจัดทำทะเบียนสิ่งที่เป็นอันตรายในสิ่งแวดล้อมการทำงาน สิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และ/หรือที่เกิดจากการทำงาน วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์พลอยได้ และกากของเสียที่ผู้ปฏิบัติงานมีโอกาสสัมผัสในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในสถานที่ปฏิบัติงาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1    เครื่องมือประเมินการวางแผนการชี้บ่งอันตรายและปัจจัยเสี่ยงตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.2    เครื่องมือประเมินการดำเนินการชี้บ่งอันตรายและปัจจัยเสี่ยงตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.3 เครื่องมือประเมินการจัดทำทะเบียนอันตรายและความเสี่ยงตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.4 เครื่องมือประเมินการจัดเก็บทะเบียนอันตรายและความเสี่ยงในสภาพแวดล้อมในการทำงาน เครื่องมือและอุปกรณ์ เครื่องจักร รวมถึงพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ