หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

คาดการณ์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน

สาขาวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ WPS-AAUS-001B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ คาดการณ์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักความปลอดภัยในการทำงาน 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องมีความรู้เรื่องข้อกำหนดกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม และมีความรู้เรื่องแนวทางปฏิบัติที่ดีด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สามารถวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ รายงาน และเอกสารที่เกี่ยวข้องได้ สามารถชี้บ่งความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน และรวมถึงจัดทำรายงานผลการคาดการณ์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานได้ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 25542.    พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 3.    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 4.    ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย5.    พระราชบัญญัติ วัตถุอันตราย (ฉบับที่ 2)  พ.ศ.25446.    พระราชบัญญัติ วัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3)  พ.ศ.25517.    พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A101.1 วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ รายงาน และเอกสารที่เกี่ยวข้อง

1. ระบุข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพได้

A101.1.01 147378
A101.1 วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ รายงาน และเอกสารที่เกี่ยวข้อง

2. ระบุแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพได้

A101.1.02 147379
A101.1 วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ รายงาน และเอกสารที่เกี่ยวข้อง

3. รวบรวม ข้อมูลสถิติ รายงานอุบัติเหตุ ทะเบียนปัจจัยเสี่ยงและอันตราย ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพได้

A101.1.03 147380
A101.1 วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ รายงาน และเอกสารที่เกี่ยวข้อง

4. จัดหมวดหมู่ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้

A101.1.04 147381
A101.1 วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ รายงาน และเอกสารที่เกี่ยวข้อง

5. ประมวลผลข้อมูล ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพได้

A101.1.05 147382
A101.1 วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ รายงาน และเอกสารที่เกี่ยวข้อง

6. อธิบายลักษณะข้อมูลและแนวโน้มได้

A101.1.06 147383
A101.1 วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ รายงาน และเอกสารที่เกี่ยวข้อง

7. นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลได้

A101.1.07 147384
A101.2 ชี้บ่งความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน

1. อธิบายสถานการณ์ บริบทของสถานประกอบการณ์ได้

A101.2.01 147385
A101.2 ชี้บ่งความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน

2. ระบุวิธีการปฏิบัติงานในสถานประกอบการณ์ได้

A101.2.02 147386
A101.2 ชี้บ่งความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน

3. ระบุมาตรฐานและแนวทางการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ได้

A101.2.03 147387
A101.2 ชี้บ่งความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน

4. เปรียบเทียบวิธีการปฏิบัติภายในสถานประกอบการกับมาตรฐานและแนวทางการปฏิบัติที่ดีได้ (Best Practice) 

A101.2.04 147392
A101.2 ชี้บ่งความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน

5. ระบุข้อบกพร่องที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานได้

A101.2.05 147393
A101.2 ชี้บ่งความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน

6. สรุปผลการชี้บ่งความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน

A101.2.06 147394
A101.3 จัดทำรายงานผลการคาดการณ์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน

1. รวบรวมสรุปผลชี้บ่งความเสี่ยง และผลการประเมินความต้องการเชิงกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยได้

A101.3.01 147388
A101.3 จัดทำรายงานผลการคาดการณ์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน

2. ตรวจสอบความถูกต้องข้อผลการประเมินได้

A101.3.02 147389
A101.3 จัดทำรายงานผลการคาดการณ์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน

3. ระบุผู้รับผิดชอบในการดำเนินการติดตามผลการคาดการณ์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานได้

A101.3.03 147390
A101.3 จัดทำรายงานผลการคาดการณ์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน

4. นำเสนอผลการคาดการณ์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติได้

A101.3.04 147391

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ด้านกฎหมาย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสุขศาสตร์อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการใช้เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร (Internet)

2.    ทักษะการคำนวณทางสถิติจากแหล่งข้อมูล (Calculating statistics from data sources)

3.    ทักษะในการพิจารณานัยสำคัญทางสถิติ (Determining statistical significance)

4.    ทักษะในการเปรียบเทียบทางสถิติ (Comparing statistics to benchmarks)

5.    ทักษะในการใช้โปรแกรมการจัดการข้อมูล (Using data management software)

6.    ทักษะการใช้สถิติเพื่อกำหนดการเปรียบเทียบและมาตรฐานการดำเนินงาน (Using statistics to define benchmarks and performance standards)

7.    ทักษะในการวิเคราะห์ข้อกำหนด กฎหมาย (Evaluate regulatory requirements) 

8.    ทักษะในการตีความข้อกำหนด กฎหมาย (Interpreting law and regulations)

9.    ทักษะในการชี้บ่งอันตรายโดยการประเมินความเสี่ยงเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ (Qualitative, quantitative) การประเมินความเสี่ยงเชิงนิรนัยและอุปนัย (deductive, and inductive risk assessment methods

10.    ทักษะในการทำความเข้าใจ (Interpreting) แผนงาน ข้อกำหนด (specifications) แบบ (drawings) และผังแสดงกระบวนการผลิต (process flow diagrams)

11.    ทักษะการประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากอันตรายที่ไม่รู้จัก (Evaluating potential risks of previously unrecognized hazards)

12.    ทักษะการประยุกต์ใช้หลักการและแนวคิดของระบาดวิทยา (Applying principles and concepts of epidemiology)

13.    ทักษะการประเมินการรับสัมผัส (Designing exposure assessment strategies)

14.    ทักษะการประเมินข้อมูล(Assessing information source credibility)

15.    ทักษะการสื่อสารข้อมูล (Communicating)

16.    ทักษะการประยุกต์ใช้ทางระบาดวิทยา(การเกิดโรคและสถิติ) (Applying principles and concepts of epidemiology (study design, measures of disease, and statistics)

17.    ทักษะการแยกข้อมูลที่สำคัญจากวรรณกรรม มาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

18.    ทักษะการรวบรวมสิ่งที่เป็นอันตราย 

19.    ทักษะการประเมินคุณภาพข้อมูล (ทั้งข้อมูลเดิมและข้อมูลใหม่)

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้ด้านคณิตศาสตร์และสถิติ (Mathematics and statistics)

2.    โปรแกรมที่ใช้สำหรับการจัดการข้อมูล (Data management software)

3.    ความรู้ด้านวิธีการย้ายข้อมูล Electronic และทางเลือกในการเก็บข้อมูล (data storage options การป้องกันข้อมูล (Information security) และข้อกำหนดด้านเก็บความลับ (confidentiality)

4.    ความรู้ด้านเครื่องมือสำหรับการเก็บข้อมูลและติดตามการเปลี่ยนแปลงของข้อมูล Electronic (data logging and monitoring equipment)

5.    พฤติกรรมองค์กรและพฤติกรรมศาสตร์ (Organizational and behavioral sciences

6.    ลักษณะของความเป็นอันตราย ภัยคุกคาม (threats) และจุดอ่อน (vulnerabilities) ความรู้ด้านข้อกำหนดด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม กฎหมายอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

7.    ความรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐาน

8.    ความรู้เกี่ยวกับอันตรายทางชีวภาพ / เคมี / กายภาพ / การยศาสตร์

9.    ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

10.    ความรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม

11.    ความรู้เกี่ยวกับระบาดวิทยา

12.    ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตและหน่วยการปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม

13.    ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐาน / แนวปฏิบัติ

14.    ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการใหม่ / การประเมินสารเคมีใหม่


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

 (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

 (ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

1.    ผู้เข้ารับการประเมินสามารถอธิบายความสำคัญและเนื้อหากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและในพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและ

2.    สามารถอธิบายความสำคัญของกฎหมายความปลอดภัยและแนวทางการปฏิบัติที่ดีด้านความปลอดภัย ด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม และด้านสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศได้

3.    สามารถอธิบายขั้นตอนและรายละเอียดที่นายจ้างต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ประกาศกรม ที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ของประเทศไทยได้

4.    มีการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการด้านกฎหมายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่เสมอ

5.    มีความรู้ความเข้าใจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย สุขศาสตร์อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ



คำอธิบายรายละเอียด

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถใช้ความรู้และทักษะดังต่อไปนี้ ในการปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้

การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานด้านความปลอดภัย

1.    ค่าดัชนีการประสบอันตราย (Disabling Injury Index: DI)

2.    IFR, ISR, ความสาหัสเฉลี่ย , STS

3.    อุบัติเหตุ (Accidents)

4.    เหตุการณ์เกือบกลายเป็นอุบัติเหตุ (Near Miss)

5.    อุบัติการณ์ (Incident)

การคาดการณ์ความเสี่ยงเชิงรับ

1.    บันทึกการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน

2.    รายงานการตรวจสอบเพื่อป้องกันอัคคีภัย

3.    รายงานยาเสพติด

4.    รายงานยาเสพติด

5.    บันทึกการควบคุมคุณภาพของห้องปฏิบัติการ

6.    รายงานการควบคุมคุณภาพของอาหาร

7.    รายงานด้านอาชีวอนามัย

8.    รายงานการตรวจสอบความปลอดภัยในการทำงาน

9.    รายงานการตรวจสอบความปลอดภัยด้านรังสีวิทยา

10.    รายงานอุบัติการณ์

11.    รายงานการติดเชื้อในโรงพยาบาล

12.    บันทึกประจำวันของหน่วยงาน

13.    รายงานเวรตรวจการ

ความรู้ความเข้าใจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมการทำงาน ซึ่งประกอบด้วย 

1.    กระบวนการผลิต 

2.    แผนผังโรงงานและกระบวนการ 

3.    ขั้นตอนการปฏิบัติงาน 

4.    รายการเครื่องจักร/อุปกรณ์ 

5.    รายการวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ 

6.    รายงานผลการตรวจวัดสิ่งแวดล้อมที่ผ่านมา EIA EHIA

ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน 5 ประเภท ได้แก่ 

1.    กายภาพ 

2.    เคมี 

3.    ชีวภาพ 

4.    การยศาสตร์

5.    จิตวิทยาสังคม

ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี ระดับความเข้มข้นที่ใช้งาน ความเป็นอันตรายของสารเคมีและปัจจัยอื่นๆ  และความรู้ความเข้าใจต่อกฎหมายประเทศไทย และมาตรฐานหรือแนวทางการปฏิบัติที่กำหนดโดยหน่วยงานในต่างประเทศ อาทิ OSHA, NIOSH, MSHA

ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการใช้ 4W1H (Who (ใคร) What (อะไร) Where (ที่ไหน) When (เมื่อไหร่) How (อย่างไร) ในการวิเคราะห์และปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัย

ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการใช้ Desktop Analysis จากการรวบรวมข้อมูลสภาพแวดล้อมการทำงาน กระบวนการผลิต แผนผังโรงงานและกระบวนการ(P&ID) รายการเครื่องจักร/อุปกรณ์ รายการวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ รายงานผลการตรวจวัดสิ่งแวดล้อมที่ผ่านมา EIA EHIA ขั้นตอนการปฏิบัติงาน พฤติกรรมการทำงาน สภาพแวดล้อมการทำงาน

ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการสืบค้นและสรุปประเด็นสำคัญของกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมการทำงาน

- กฎหมายประเทศไทย จากฐานข้อมูลกฎหมายกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงสาธารณสุข

- มาตรฐานหรือแนวปฏิบัติที่กำหนดโดยหน่วยงานในต่างประเทศ จากฐานข้อมูล OSHA NIOSH ACGIH AIHA MSHA HSE JISHA KOSHA ILO

ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจำแนกประเภทปัจจัยเสี่ยง โดยแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ 

1.    กายภาพ 

2.    เคมี 

3.    ชีวภาพ 

4.    การยศาสตร์ 

5.    และจิตวิทยาสังคม

ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบุปัจจัยที่มีความสัมผัสกับการรับสัมผัสปัจจัยเสี่ยง

- ปัจจัยส่วนบุคคล อาทิ เพศ อายุ อายุการทำงาน โรคประจำตัว และพฤติกรรมการใช้ชีวิต

- ปัจจัยสภาพแวดล้อมการทำงาน อาทิ ความเข้มข้น/ความเป็นอันตรายของปัจจัยเสี่ยง ระยะเวลาการทำงาน อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและระบบควบคุมที่มีอยู่


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1    เครื่องมือประเมินการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ รายงาน และเอกสารที่เกี่ยวข้องตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.2 เครื่องมือประเมินการชี้บ่งความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.3 เครื่องมือประเมินการจัดทำรายงานผลการคาดการณ์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ