หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดูแลรักษาหน้ากรีดยางช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-BSPX-173A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดูแลรักษาหน้ากรีดยางช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


          อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านเก็บเกี่ยวผลผลิตยางพารา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาหน้ากรีดยางช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต ประกอบด้วย ความรู้เกี่ยวกับชนิดของโรคที่เกิดกับหน้ากรีดยางและอาการผิดปกติของหน้ากรีดที่เกิดจากสาเหตุอื่นและผลกระทบ และการดูแลป้องกันการเกิดโรคของหน้ากรีดยางและอาการผิดปกติของหน้ากรีดที่เกิดจากสาเหตุอื่นในระหว่างการกรีด ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการระบุลักษณะของหน้ากรีดยางที่เกิดโรคเส้นดำ โรคเปลือกเน่า อาการเปลือกแห้ง อาการเปลือกแตก และผลกระทบ สามารถกรีดยางและลดความชื้นในสวนยางตามหลักการเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเกี่ยวกับหน้ากรีด ใช้สารเคมีทาหน้ากรีดได้อย่างถูกต้องเพื่อป้องกันโรค และสามารถป้องกันอาการเปลือกแห้ง อาการเปลือกแตกอย่างถูกวิธี

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
          - คำแนะนำการเก็บเกี่ยวผลผลิตยาง ปี 2554 สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร          - คำแนะนำโรคและอาการผิดปกติของยางพารา ปี 2555 สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร          - เอกสารวิชาการเรื่องยางพารา กลุ่มยางพารา กองส่งเสริมพืชสวน กรมส่งเสริมการเกษตร          - ครูยาง ปี 2553 ฝ่ายพัฒนาสวนสงเคราะห์ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A351 มีความรู้เกี่ยวกับโรคและอาการผิดปกติที่เกิดจากสาเหตุอื่นกับหน้ากรีดยางและผลกระทบ 1. อธิบายลักษณะหน้ากรีดยางที่เกิดโรคเส้นดำ A351.01 69742
A351 มีความรู้เกี่ยวกับโรคและอาการผิดปกติที่เกิดจากสาเหตุอื่นกับหน้ากรีดยางและผลกระทบ 2. อธิบายลักษณะหน้ากรีดยางที่เกิดโรคเปลือกเน่า A351.02 69743
A351 มีความรู้เกี่ยวกับโรคและอาการผิดปกติที่เกิดจากสาเหตุอื่นกับหน้ากรีดยางและผลกระทบ 3. อธิบายอาการผิดปกติของหน้ากรีดยางที่เกิดจากสาเหตุอื่น A351.03 69744
A351 มีความรู้เกี่ยวกับโรคและอาการผิดปกติที่เกิดจากสาเหตุอื่นกับหน้ากรีดยางและผลกระทบ 4. ระบุผลกระทบที่เกิดจากโรคและอาการผิดปกติจากสาเหตุอื่นที่เกิดกับหน้ากรีดยาง A351.04 69745
A352 ดูแลป้องกันการเกิดโรคของหน้ากรีดยางและอาการผิดปกติของหน้ากรีดยางที่เกิดจากสาเหตุอื่นในช่วงการกรีดยาง 1. ระบุหลักการกรีดยางและลดความชื้นในสวนยางเพื่อป้องกันโรคเกี่ยวกับหน้ากรีดยาง A352.01 69746
A352 ดูแลป้องกันการเกิดโรคของหน้ากรีดยางและอาการผิดปกติของหน้ากรีดยางที่เกิดจากสาเหตุอื่นในช่วงการกรีดยาง 2. ระบุการใช้สารเคมีทาหน้ากรีดยางเพื่อป้องกันโรคเส้นดำ A352.02 69747
A352 ดูแลป้องกันการเกิดโรคของหน้ากรีดยางและอาการผิดปกติของหน้ากรีดยางที่เกิดจากสาเหตุอื่นในช่วงการกรีดยาง 3. ระบุวิธีการป้องกันอาการผิดปกติของหน้ากรีดยางที่เกิดจากสาเหตุอื่น A352.03 69748
A352 ดูแลป้องกันการเกิดโรคของหน้ากรีดยางและอาการผิดปกติของหน้ากรีดยางที่เกิดจากสาเหตุอื่นในช่วงการกรีดยาง 4. จัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ในการป้องกันโรคเกี่ยวกับหน้ากรีดและอาการผิดปกติของหน้ากรีดที่เกิดจากสาเหตุอื่น A352.04 69749
A352 ดูแลป้องกันการเกิดโรคของหน้ากรีดยางและอาการผิดปกติของหน้ากรีดยางที่เกิดจากสาเหตุอื่นในช่วงการกรีดยาง 5. ดูแลรักษาหน้ากรีดยางตามวิธีการที่ถูกต้อง A352.05 69750

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1) มีทักษะในการกำจัดวัชพืชและตัดแต่งกิ่งในสวนยางเพื่อลดความชื้นในสวนยางเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคเกี่ยวกับหน้ากรีด




2) มีทักษะในการใช้สารเคมีทาหน้ากรีดยางเพื่อป้องกันโรคเส้นดำ 




3) มีทักษะในการป้องกันอาการเปลือกแห้งและอาการเปลือกแตกของหน้ากรีดยางที่เกิดจากสาเหตุอื่น

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1) มีความรู้เกี่ยวกับลักษณะของหน้ากรีดยางที่เกิดโรคเส้นดำและโรคเปลือกเน่า อาการเปลือกแห้งและอาการเปลือกแตกที่เกิดจากสาเหตุอื่น และผลกระทบ




2) มีความรู้เกี่ยวกับหลักการกรีดยางและลดความชื้นในสวนยางเพื่อป้องกันโรคเกี่ยวกับหน้ากรีดยาง




3) มีความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีทาหน้ากรีดยางเพื่อป้องกันโรคเส้นดำ




4) มีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันอาการผิดปกติของหน้ากรีดยางที่เกิดจากสาเหตุอื่น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ 




          (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




                    1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้




                    2) แฟ้มสะสมงาน




          (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




                    1) หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา




                    2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ




                    3) ผลการสอบข้อเขียน




                    4) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ




          (ค) คำแนะนำในการประเมิน




                    1) ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินความรู้เกี่ยวกับโรคเส้นดำ โรคเปลือกเน่า ที่เกิดกับหน้ากรีดยาง  อาการเปลือกแห้ง อาการเปลือกแตก และผลกระทบ หลักการในการกรีดยางและลดความชื้นในสวนยางเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเกี่ยวกับหน้ากรีด การใช้สารเคมีทาหน้ากรีดได้อย่างถูกต้องเพื่อป้องกันโรคเส้นดำ การป้องกันอาการเปลือกแห้ง อาการเปลือกแตก โดยพิจารณาจากหลักฐานด้านความรู้




                    2) หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง 






  • ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง





  • วิธีการปฏิบัติงานในแปลง กฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง





  • ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง






          (ง) วิธีการประเมิน




                    1) การสอบข้อเขียน




                    2) การสอบสัมภาษณ์




                    3) การสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)
N/A

16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
          A20 ทัศนะคติที่ดีในการประกอบอาชีพ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


          1) ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน




          2) ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้




          3) ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ




          4) ประเมินจากหลักฐานอื่นๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ