หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์และแปลผลข้อมูลเสียง/ความสั่นสะเทือน

สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-UUBR-145A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์และแปลผลข้อมูลเสียง/ความสั่นสะเทือน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 1349      -หัวหน้าแผนกติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม



ISCO 2133      -เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อม



 -นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติการ/ชำนาญการ/ชำนาญการพิเศษ/เชี่ยวชาญ



 -นักวิทยาศาสตร์ด้านวิจัยสิ่งแวดล้อม



 -ผู้เชี่ยวชาญ/ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม



ISCO 2143      -นักวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม



                        -ผู้เชี่ยวชาญ/ที่ปรึกษาด้านฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
           ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลและแปลผลการวิเคราะห์ระดับเสียง/ความสั่นสะเทือน เปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลกับมาตรฐานคุณภาพเสียง/ความสั่นสะเทือน พิจารณาข้อมูลที่ผิดปกติ รายงานข้อมูลที่ผิดปกติให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ สามารถประเมินความสอดคล้องของข้อมูลจากการบันทึกข้อมูลในระหว่างการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือนและการวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์ และอ้างอิงผลการตรวจวัดคุณภาพเสียง/ความสั่นสะเทือนกับมาตรฐานไทยและต่างประเทศ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการติดตามและประเมินผลสิ่งแวดล้อมด้านเสียงและความสั่นสะเทือน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-N/A-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. พระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 25512. ข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านวิทยาศาสตร์และการควบคุมมลพิษ พ.ศ. 2557พระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 25513. ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 37 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนดมาตรฐานความสั่นสะเทือนเพื่อป้องกันผลกระทบต่ออาคาร4. ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 29 (พ.ศ.2550) เรื่อง ค่าระดับเสียงรบกวน5. ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมระดับเสียงและความสั่นสะเทือนจากการทำเหมืองหิน และ ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดให้เหมืองหินเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมระดับเสียงและความสั่นสะเทือน (พ.ศ.2553)6. ประกาศคณะกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 15 (พ.ศ.2540) เรื่อง กำหนดมาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไป7. ประกาศคณะกรรมการควบคุมมลพิษ เรื่อง วิธีการตรวจวัดระดับเสียงพื้นฐาน ระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน การตรวจวัดและคำนวณระดับเสียงขณะมีการรบกวน การคำนวณค่าระดับการบกวน และแบบบันทึกการตรวจวัดเสียงรบกวน (พ.ศ.2550)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
EM125.01 วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน

1. ทบทวนข้อมูล พิจารณาข้อมูลที่ผิดปกติ รายงานข้อมูลที่ผิดปกติให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ

EM125.01.01 146886
EM125.01 วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน

2. วิเคราะห์ข้อมูล ประเมินความสอดคล้องของข้อมูลจากการบันทึกข้อมูลในระหว่างการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือนและการวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์

EM125.01.02 146887
EM125.02 เปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลกับมาตรฐาน

1. อ้างอิงมาตรฐานของเสียง/ความสั่นสะเทือนทั้งในและต่างประเทศเพื่อเปรียบเทียบกับผลการวัดได้ถูกต้อง

EM125.02.01 146888
EM125.02 เปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลกับมาตรฐาน

2. วิเคราะห์ผลการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน เปรียบเทียบกับมาตรฐานได้ถูกต้อง

EM125.02.02 146889

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ต้องมีความรู้ด้านฟิสิกส์ และอุตุนิยมวิทยา


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการปฏิบัติงาน สามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัดเสียง/ความสั่นสะเทือนในภาคสนามและวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์



2. มีทักษะในการประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ สามารถประเมินผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากตรวจวัดเสียง/ความสั่นสะเทือนในภาคสนามและประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ พร้อมอภิปรายผล และสรุปได้อย่างถูกต้องเหมาะสม



3. มีทักษะด้านการสื่อสารด้านการเขียนรายงานเชิงวิทยาศาสตร์ด้วยภาษาไทย และภาษาอังกฤษ นำเสนอรายงานผลข้อมูลที่วิเคราะห์ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ถูกต้อง



4. มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้โปรแกรมทางคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มลพิษทางเสียง/ความสั่นสะเทือนที่สำคัญและเป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม



2. ลักษณะข้อมูล ตัวแปร พารามิเตอร์ที่ได้จากการตรวจวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน



3. คำนวณข้อมูลเสียง/ความสั่นสะเทือน ตามมาตรฐานทั้งในและต่างประเทศ



4. มีความรู้ความสามารถด้านการใช้คอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมดำเนินการ เช่น .doc .xlsx และ .pptx และโปรแกรมเฉพาะด้าน เป็นต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. หนังสือรับรองประสบการณ์ทำงาน

  2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

  3. เอกสารรับรองการผ่านการสอบสาธิตการปฏิบัติงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน

  2. หลักฐานจากใบรับรอง ใบผ่านการอบรม



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



      ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลและแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูลเสียง/ความสั่นสะเทือน โดยพิจารณาหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



(ง) วิธีการประเมิน




  1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

  2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

          การวิเคราะห์ข้อมูลและแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูลเสียง/ความสั่นสะเทือน ในระดับคุณวุฒิที่ 4 เป็นงานที่ผู้ปฏิบัติงานต้องใช้ความรู้ความสามารถในการคิด วิเคราะห์ และประมวลผลเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปการประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านเสียง/ความสั่นสะเทือน ถือเป็นทักษะที่จำเป็นเพื่อการทำงานที่สำคัญก่อนไปทำงานในระดับคุณวุฒิที่ 5 การประเมินผลการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม และวางแผนการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม



(ก) คำแนะนำ



      1.  ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับทบทวนข้อมูล พิจารณาข้อมูลที่ผิดปกติ รายงานข้อมูลที่ผิดปกติให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ วิเคราะห์ข้อมูล ประเมินความสอดคล้องของข้อมูลจากการบันทึกข้อมูลในระหว่างการตรวจวัดและผลการวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์



      2.  ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการอ้างอิงมาตรฐานคุณภาพอากาศทั้งในและต่างประเทศเพื่อเปรียบเทียบกับผลการวิเคราะห์ได้อย่างเหมาะสม และวิเคราะห์ผลคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านเสียง/ความสั่นสะเทือน ที่ได้จากการตรวจวัดเปรียบเทียบกับมาตรฐานได้ถูกต้อง



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. ข้อมูลด้านเสียง/ความสั่นสะเทือน หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน ในภาคสนาม การวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์  และข้อมูลด้านอุตุนิยมวิทยา

  2. มาตรฐานเสียง หมายถึง ค่ามาตรฐานเสียงในบรรยากาศทั่วไป และค่ามาตรฐานเสียงรบกวน ที่ได้ประกาศในกฎหมาย ข้อบังคับ ข้อแนะนำโดยหน่วยงานรัฐในประเทศและต่างประเทศ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย วิเคราะห์ข้อมูลเสียง/ความสั่นสะเทือน




  1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

  2. ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

  3. ข้อสอบสาธิตการปฏิบัติงาน



ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากคู่มือประเมิน



2. เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย เปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลเสียง/ความสั่นสะเทือนกับมาตรฐาน




  1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

  2. ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

  3. ข้อสอบสาธิตการปฏิบัติงาน



ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ