หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดำเนินการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน

สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-PVKW-142A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดำเนินการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 1349     -หัวหน้าแผนกติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม



ISCO 2133     -เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อม



-นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติการ/ชำนาญการ/ชำนาญการพิเศษ/เชี่ยวชาญ



-นักวิทยาศาสตร์ด้านวิจัยสิ่งแวดล้อม



-ผู้เชี่ยวชาญ/ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม



ISCO 2143     -นักวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม



                       -ผู้เชี่ยวชาญ/ที่ปรึกษาด้านฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถระบุแหล่งกำเนิด ระบุขีดจำกัดการรับสัมผัสเสียง/ความสั่นสะเทือน ตรวจสอบข้อมูลสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน สามารถบ่งชี้อันตราย ข้อผิดพลาด ข้อควรระวังที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน รวมถึงสามารถระบุลำดับขั้นตอน เวลา และสถานที่ติดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์เสริมสำหรับการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือนในภาคสนามได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการติดตามและประเมินผลสิ่งแวดล้อมด้านเสียงและความสั่นสะเทือน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-N/A-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. พระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 25512. ข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านวิทยาศาสตร์และการควบคุมมลพิษ พ.ศ. 2557พระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 25513. ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 37 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนดมาตรฐานความสั่นสะเทือนเพื่อป้องกันผลกระทบต่ออาคาร4. ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 29 (พ.ศ.2550) เรื่อง ค่าระดับเสียงรบกวน5. ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมระดับเสียงและความสั่นสะเทือนจากการทำเหมืองหิน และ ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดให้เหมืองหินเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมระดับเสียงและความสั่นสะเทือน (พ.ศ.2553)6. ประกาศคณะกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 15 (พ.ศ.2540) เรื่อง กำหนดมาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไป7. ประกาศคณะกรรมการควบคุมมลพิษ เรื่อง วิธีการตรวจวัดระดับเสียงพื้นฐาน ระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน การตรวจวัดและคำนวณระดับเสียงขณะมีการรบกวน การคำนวณค่าระดับการบกวน และแบบบันทึกการตรวจวัดเสียงรบกวน (พ.ศ.2550)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
EM122.01 กำหนดขอบเขตของการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือนตามวิธีที่กำหนด

1. ระบุแหล่งกำเนิดเสียง/ความสั่นสะเทือนตามวิธีที่กำหนด

EM122.01.01 146861
EM122.01 กำหนดขอบเขตของการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือนตามวิธีที่กำหนด

2. ระบุขีดจำกัดการรับสัมผัสเสียง/ความสั่นสะเทือน

EM122.01.02 146862
EM122.01 กำหนดขอบเขตของการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือนตามวิธีที่กำหนด

3. ตรวจสอบข้อมูลสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน

EM122.01.03 146863
EM122.01 กำหนดขอบเขตของการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือนตามวิธีที่กำหนด

4. บ่งชี้อันตราย ข้อผิดพลาด ข้อควรระวังที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน 

EM122.01.04 146864
EM122.02 ติดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์เสริมสำหรับการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือนตามวิธีที่กำหนด

1. ระบุลำดับขั้นตอนการติดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์เสริมสำหรับการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือนในภาคสนามตามวิธีที่กำหนด

EM122.02.01 146865
EM122.02 ติดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์เสริมสำหรับการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือนตามวิธีที่กำหนด

2.เลือกเวลาและสถานที่ติดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์เสริมสำหรับการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน ในภาคสนาม

EM122.02.02 146866
EM122.02 ติดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์เสริมสำหรับการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือนตามวิธีที่กำหนด

3.ตรวจสอบและปรับเทียบการทำงานของเครื่องมือและอุปกรณ์เสริมสำหรับการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน ในภาคสนาม

EM122.02.03 146867
EM122.02 ติดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์เสริมสำหรับการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือนตามวิธีที่กำหนด

4.ติดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์เสริมสำหรับการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน ณ ตำแหน่งที่เหมาะสม 

EM122.02.04 146868
EM122.02 ติดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์เสริมสำหรับการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือนตามวิธีที่กำหนด

5. ใช้แผนที่และค้นหาพิกัดด้วย global positioning systems (GPS) เพื่อบันทึกพิกัดของจุดเก็บตัวอย่าง

EM122.02.05 146869
EM122.03 ตรวจวัดเสียง/ความสั่นสะเทือนตามวิธีที่กำหนด

1. ตรวจวัดค่าระดับเสียง/ความสั่นสะเทือนตามคู่มือปฏิบัติงาน

EM122.03.01 146870
EM122.03 ตรวจวัดเสียง/ความสั่นสะเทือนตามวิธีที่กำหนด

2. ตรวจสอบความถูกต้องของค่าระดับเสียง/ความสั่นสะเทือนที่วัดได้

EM122.03.02 146871
EM122.03 ตรวจวัดเสียง/ความสั่นสะเทือนตามวิธีที่กำหนด

3. แก้ปัญหาระหว่างการตรวจวัดเสียง/ความสั่นสะเทือนตามวิธีที่กำหนด

EM122.03.03 146872

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-N/A-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการสื่อสาร ใช้ภาษาเชิงวิทยาศาสตร์ สามารถแจ้งลำดับการทำงานและติดต่อกับทีมงานเพื่อให้การเก็บตัวอย่างได้ถูกต้องและสมบูรณ์

  2. ทักษะการนำเสนอความคิดเห็น สามารถเลือกกำหนดตำแหน่งจุดตรวจวัด วิธีการตรวจวัดที่ถูกต้องตามเกณฑ์กำหนด อธิบายเหตุความจำเป็นในการปฏิบัติงานต่อผู้รับบริการ ติดต่อประสานงาน ระหว่างฝ่ายหรือแผนกที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลเกี่ยวข้องกันได้

  3. ทักษะการปฏิบัติงาน ติดตั้งและสอบเทียบเครื่องมือตรวจวัดเสียง/ความสั่นสะเทือนได้ ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลได้

  4. ทักษะในการอ่านคู่มือหรือมาตรฐานที่ต้องดำเนินการและปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

  5. ทักษะในการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ และประเมินผลด้านวิทยาศาสตร์

  6. ทักษะในการใช้ตรรกะและเหตุผลในการระบุจุดแข็งจุดอ่อนและสรุปแนวทางการแก้ไขปัญหา

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. หลักการพื้นฐานด้านเสียง/ความสั่นสะเทือน

  2. หลักการและวิธีการตรวจวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน ในภาคสนามตามวิธีมาตรฐาน

  3. หลักการและวิธีการใช้อุปกรณ์เสริมสำหรับการตรวจวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน ในภาคสนาม พร้อมทั้งบ่งชี้อันตราย ข้อผิดพลาด ข้อควรระวังในการใช้เครื่องมือ

  4. การใช้แผนที่และค้นหาพิกัดด้วย global positioning systems (GPS)

  5. มาตรการด้านความปลอดภัยในการตรวจวัดตรวจวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน

  6. มีความรู้ความสามารถด้านการใช้คอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมดำเนินการ เช่น .doc .xlsx และ .pptx และโปรแกรมเฉพาะด้าน เป็นต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. หนังสือรับรองประสบการณ์ทำงาน

  2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

  3. เอกสารรับรองการผ่านการสอบสาธิตการปฏิบัติงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน

  2. หลักฐานจากใบรับรอง ใบผ่านการอบรม



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานด้านเสียง/ความสั่นสะเทือน หลักการ วิธีการตรวจวัดตรวจวัดเสียง/ความสั่นสะเทือนในภาคสนามตามวิธีมาตรฐาน และการใช้อุปกรณ์เสริม โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



(ง) วิธีการประเมิน




  1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

  2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

        การดำเนินการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือนในระดับคุณวุฒิที่ 3  เป็นการตรวจวัดเสียง/ความสั่นสะเทือนในภาคสนาม ดังนั้น ต้องสามารถใช้เครื่องวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน และอุปกรณ์เสริมได้ ตามแผนการเก็บตัวอย่างหรือคู่มือการปฏิบัติงาน สามารถใช้ระบุขีดจำกัดการรับสัมผัสเสียง/ความสั่นสะเทือน และใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลได้



(ก) คำแนะนำ



       1.  ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับลำดับขั้นตอนในการตรวจวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน การเก็บข้อมูลสภาพแวดล้อมที่สำคัญต่อผลการตรวจวัด ความเสี่ยงและอันตรายขณะทำการตรวจวัด ข้อผิดพลาด ข้อควรระวังที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการตรวจวัด   และมาตรการด้านความปลอดภัยของสถานที่ที่ตรวจวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน



       2.  ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการตรวจวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน เพื่อให้ได้ผลการตรวจวัดที่มีความถูกต้องแม่นยำ ด้วยการปรับเทียบเครื่องมือตามวิธีมาตรฐาน และสามารถระบุตำแหน่งตรวจวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน ได้ถูกต้อง



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. แหล่งกำเนิดเสียง หมายถึง บริเวณที่เกิดการสั่นของโมเลกุลแล้วถ่ายเทพลังงานในรูปแบบคลื่นเสียงได้

  2. แหล่งกำเนิดความสั่นสะเทือนหมายถึง บริเวณที่เกิดการสั่นของโมเลกุลแล้วถ่ายเทพลังงานในรูปแบบคลื่นความสั่นสะเทือนได้

  3. ขีดจำกัดการรับสัมผัสเสียง คือระดับพลังงานเสียงสูงสุดที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ

  4. ขีดจำกัดการรับสัมผัสความสั่นสะเทือนคือระดับความสั่นสะเทือนสูงสุดที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ตรวจวัดเสียง ตามวิธีการที่กำหนด




  1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

  2. ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

  3. ข้อสอบสาธิตการปฏิบัติงาน



    ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากคู่มือประเมิน



2. เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ตรวจวัดความสั่นสะเทือน ตามวิธีการที่กำหนด




  1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

  2. ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

  3. ข้อสอบสาธิตการปฏิบัติงาน



     ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ