หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม

สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-EMIP-140A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 1349      -หัวหน้าแผนกติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม



ISCO 2133      -เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อม



-นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติการ/ชำนาญการ/ชำนาญการพิเศษ/เชี่ยวชาญ



-นักวิทยาศาสตร์ด้านวิจัยสิ่งแวดล้อม



-ผู้เชี่ยวชาญ/ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม



ISCO 2143     -นักวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม



                       -ผู้เชี่ยวชาญ/ที่ปรึกษาด้านฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถวางแผนการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม อันประกอบไปด้วยการกำหนดพื้นที่ศึกษา จุดเก็บตัวอย่าง วิธีเก็บตัวอย่างอากาศ ตัวชี้วัดด้านคุณภาพอากาศ การออกแบบเอกสารบันทึก การรายงานข้อมูลการเก็บตัวอย่างและตรวจวัดตัวอย่างอากาศ แนวทางการแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการเก็บตัวอย่าง และประกันคุณภาพ (QA/QC) ของกระบวนการได้อย่างเหมาะสม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการติดตามและประเมินผลสิ่งแวดล้อมด้านอากาศ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-N/A-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2551 ข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านวิทยาศาสตร์และการควบคุมมลพิษ พ.ศ. 2557 ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 28 (พ.ศ. 2550) กำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไป ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ. 2549

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
EM118.01 กำหนดพื้นที่ศึกษา จุดเก็บตัวอย่างได้อย่างเหมาะสม

1. กำหนดพื้นที่ จุดเก็บเก็บตัวอย่างอากาศตามวัตถุประสงค์ของการตรวจวัด

EM118.01.01 146832
EM118.01 กำหนดพื้นที่ศึกษา จุดเก็บตัวอย่างได้อย่างเหมาะสม

2. ระบุข้อจำกัดในเชิงพื้นที่ที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการตรวจวัดและการเก็บตัวอย่างอากาศ

EM118.01.02 146833
EM118.01 กำหนดพื้นที่ศึกษา จุดเก็บตัวอย่างได้อย่างเหมาะสม

3. ระบุความอันตรายที่อาจเกิดขึ้นขณะเก็บตัวอย่างและกำหนดมาตรการป้องกันอันตราย

EM118.01.03 146834
EM118.01 กำหนดพื้นที่ศึกษา จุดเก็บตัวอย่างได้อย่างเหมาะสม

4. กำหนดมาตรการด้านความปลอดภัยในการเข้าพื้นที่ศึกษา

EM118.01.04 146835
EM118.01 กำหนดพื้นที่ศึกษา จุดเก็บตัวอย่างได้อย่างเหมาะสม

5. จัดทำคู่มือปฏิบัติงาน สำหรับกำหนดพื้นที่ศึกษา จุดเก็บตัวอย่าง

EM118.01.05 146836
EM118.02 กำหนดวิธีเก็บตัวอย่างอากาศ ตัวชี้วัดด้านคุณภาพอากาศ

1. กำหนดวิธีการตรวจวัดและเก็บตัวอย่างอากาศตามข้อกำหนด

EM118.02.01 146837
EM118.02 กำหนดวิธีเก็บตัวอย่างอากาศ ตัวชี้วัดด้านคุณภาพอากาศ

2. กำหนดตัวชี้วัดด้านคุณภาพอากาศที่มีความสำคัญต่อพื้นที่หรือบริเวณใกล้เคียง

EM118.02.02 146838
EM118.02 กำหนดวิธีเก็บตัวอย่างอากาศ ตัวชี้วัดด้านคุณภาพอากาศ

3. กำหนดการดูแลสภาพแวดล้อมให้มีความปลอดภัยทั้งระหว่างและหลังจากสิ้นสุดการเก็บและตรวจวัดตัวอย่างอากาศ

EM118.02.03 146839
EM118.02 กำหนดวิธีเก็บตัวอย่างอากาศ ตัวชี้วัดด้านคุณภาพอากาศ

4. กำหนดระบบการขนส่ง (logistics) ตัวอย่าง

EM118.02.04 146840
EM118.02 กำหนดวิธีเก็บตัวอย่างอากาศ ตัวชี้วัดด้านคุณภาพอากาศ

5. จัดทำคู่มือปฏิบัติงาน สำหรับกำหนดวิธีเก็บตัวอย่างและตรวจวัดตัวอย่างอากาศ  ตัวชี้วัดด้านคุณภาพอากาศ วิธีการดูแลสภาพแวดล้อมให้มีความปลอดภัยทั้งระหว่างและหลังสิ้นสุดการเก็บและตรวจวัดตัวอย่างอากาศ

EM118.02.05 146841
EM118.03 ออกแบบเอกสารการบันทึก รายงานข้อมูลการเก็บตัวอย่างและตรวจวัดตัวอย่างอากาศ

1. ออกแบบเอกสารบันทึกข้อมูลการเก็บตัวอย่าง สภาวะการเก็บตัวอย่าง ข้อสังเกตที่อาจมีผลต่อตัวอย่าง

EM118.03.01 146842
EM118.03 ออกแบบเอกสารการบันทึก รายงานข้อมูลการเก็บตัวอย่างและตรวจวัดตัวอย่างอากาศ

2. ออกแบบฉลากติดตัวอย่าง ที่สามารถทวนสอบถึงที่มาของตัวอย่าง

EM118.03.02 146843
EM118.03 ออกแบบเอกสารการบันทึก รายงานข้อมูลการเก็บตัวอย่างและตรวจวัดตัวอย่างอากาศ

3. ออกแบบรายงานข้อมูลการเก็บตัวอย่างและตรวจวัดตัวอย่างอากาศ

EM118.03.03 146844
EM118.04 กำหนดแนวทางการแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการเก็บตัวอย่าง

1. บ่งชี้ปัญหาที่อาจพบในระหว่างการเก็บตัวอย่าง

EM118.04.01 146845
EM118.04 กำหนดแนวทางการแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการเก็บตัวอย่าง

2. ระบุวิธีการแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการเก็บตัวอย่าง

EM118.04.02 146846
EM118.05 ประกันคุณภาพ (QA/QC) ของกระบวนการ

1. กำหนดวิธีการประกันคุณภาพเพื่อเฝ้าระวังกระบวนการเก็บตัวอย่างและรวบรวมข้อมูลผลการวิเคราะห์ตัวอย่าง 

EM118.05.01 146847
EM118.05 ประกันคุณภาพ (QA/QC) ของกระบวนการ

2. จัดทำรายการตรวจติดตาม (checklist) สำหรับกระบวนการเก็บตัวอย่างและรวบรวมข้อมูล

EM118.05.02 146848
EM118.05 ประกันคุณภาพ (QA/QC) ของกระบวนการ

3. ตรวจติดตามกระบวนการเก็บตัวอย่างและรวบรวมข้อมูลตาม checklist

EM118.05.03 146849
EM118.05 ประกันคุณภาพ (QA/QC) ของกระบวนการ

4. สรุปผลการประกันคุณภาพและจัดทำรายงาน

EM118.05.04 146850

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-N/A-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะทางเทคนิคในการปฏิบัติงาน สามารถระบุหลักการกำหนดพื้นที่ศึกษา จุดเก็บตัวอย่าง วิธีเก็บตัวอย่างอากาศ ตัวชี้วัดด้านคุณภาพอากาศ การออกแบบเอกสารบันทึก การรายงานข้อมูลการเก็บตัวอย่างและตรวจวัดตัวอย่างอากาศ แนวทางการแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการเก็บตัวอย่าง



2.  ทักษะในการวางแผนการบริหารจัดการในการทำงาน การปฏิบัติงานที่ซับซ้อน สามารถกำหนดกรอบการประกันคุณภาพ (QA/QC) ของกระบวนการประเมินการติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านอากาศ



3. ทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศในระดับสากล

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. หลักพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ทางอากาศ มลพิษทางอากาศ และการตรวจวัดมลพิษอากาศ



2. หลักการทำงานของเครื่องมือเก็บตัวอย่าง เครื่องมือตรวจวัด เครื่องมือเก็บข้อมูลสภาพแวดล้อม



3. หลักพื้นฐานด้านความปลอดภัยของการเก็บตัวอย่างและการตรวจวัดในภาคสนาม



4. กฎหมาย ข้อบังคับ ข้อแนะนำที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศและมาตรฐานคุณภาพอากาศจากแหล่งกำเนิด



5. เกณฑ์ประเมินผลคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านอากาศ



6. ประกันคุณภาพ (QA/QC) ของกระบวนการ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. หนังสือรับรองประสบการณ์ทำงาน (ถ้ามี)

  2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน

  2. หลักฐานจากใบรับรอง ใบผ่านการอบรม



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



     ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดพื้นที่ศึกษา จุดเก็บตัวอย่าง วิธีเก็บตัวอย่างอากาศ ตัวชี้วัดด้านคุณภาพอากาศ การออกแบบเอกสารบันทึก การรายงานข้อมูลการเก็บตัวอย่างและตรวจวัดตัวอย่างอากาศ แนวทางการแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการเก็บตัวอย่าง และประกันคุณภาพ (QA/QC) ของกระบวนการ โดยพิจารณาหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



(ง) วิธีการประเมิน




  1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

  2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

    การวางแผนการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับคุณวุฒิที่ 5 เป็นการปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความรู้ในองค์รวมด้านวิทยาศาสตร์ทางอากาศ มลพิษทางอากาศ และการตรวจวัดมลพิษอากาศ เพื่อวางแผน บริหารจัดการการปฏิบัติงานที่ซับซ้อน และถ่ายทอดความรู้ให้บุคลากรในระดับคุณวุฒิที่ 3 และ 4  ได้



(ก) คำแนะนำ



1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับความรู้ ความเข้าใจหลักพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ทางอากาศ มลพิษทางอากาศ และการตรวจวัดมลพิษอากาศ หลักการทำงานของเครื่องมือเก็บตัวอย่าง เครื่องมือตรวจวัด เครื่องมือเก็บข้อมูลสภาพแวดล้อม และหลักพื้นฐานด้านความปลอดภัยของการเก็บตัวอย่างและการตรวจวัดในภาคสนาม



2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย ข้อบังคับ ข้อแนะนำที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศและมาตรฐานคุณภาพอากาศจากแหล่งกำเนิด



3. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับเกณฑ์ประเมินผลคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านอากาศที่นำไปสู่การเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น



4. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับประกันคุณภาพ (QA/QC) ของกระบวนการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านอากาศ



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. คู่มือปฏิบัติงาน หมายถึง เอกสารคู่มือที่มีคำอธิบายรายละเอียด ขั้นตอนการปฏิบัติงานกำหนดพื้นที่ศึกษา จุดเก็บตัวอย่าง วิธีเก็บตัวอย่างอากาศ ตัวชี้วัดด้านคุณภาพอากาศ

  2. ตัวชี้วัดด้านอากาศ หมายถึง ชนิดและปริมาณมลสารทางอากาศใช้เป็นเครื่องมือในการวัดสถานการณ์ที่แสดงนัยสำคัญ การเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ ปัญหาความรุนแรง ในเรื่องหนึ่ง ๆ ในแต่ละช่วงเวลา และในแต่ละพื้นที่ ตัวชี้วัดสามารถสะท้อนแนวโน้มในอนาคต ตลอดจนอาจจะนำมาใช้ในการประเมินผลการดำเนินงานของโครงการหรือกิจกรรมในพื้นที่หนึ่งๆ

  3. การประกันคุณภาพ (QA/QC) ของกระบวนการ หมายถึง ระบบการบริหารจัดการการดำเนินงานด้านการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านอากาศเพื่อให้ได้ผลที่ถูกต้อง และเป็นไปตามมาตรฐาน หรือข้อแนะนำที่ดี


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย กำหนดพื้นที่ศึกษา จุดเก็บตัวอย่างได้อย่างเหมาะสม




  1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

  2. ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)



ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากคู่มือประเมิน



2. เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย กำหนดวิธีเก็บตัวอย่างอากาศ ตัวชี้วัดด้านคุณภาพอากาศ




  1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

  2. ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)



ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากคู่มือประเมิน



3. เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ออกแบบเอกสารการบันทึก การรายงานข้อมูลการเก็บตัวอย่างและตรวจวัดตัวอย่างอากาศ




  1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

  2. ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)



ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากคู่มือประเมิน



4. เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย กำหนดแนวทางการแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการเก็บตัวอย่าง




  1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

  2. ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)



ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากคู่มือประเมิน



5. เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ประกันคุณภาพ (QA/QC) ของกระบวนการ




  1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

  2. ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)



ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากคู่มือประเมิน



 



ยินดีต้อนรับ