หน่วยสมรรถนะ
วางแผนการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านน้ำ ดินและดินตะกอน
สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | EVM-LKTJ-132A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | วางแผนการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านน้ำ ดินและดินตะกอน |
3. ทบทวนครั้งที่ | - / - |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
ISCO 1349 -หัวหน้าแผนกติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ISCO 2133 -เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อม -นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติการ/ชำนาญการ/ชำนาญการพิเศษ/เชี่ยวชาญ -นักวิทยาศาสตร์ด้านวิจัยสิ่งแวดล้อม -ผู้เชี่ยวชาญ/ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ISCO 2143 -นักวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม -ผู้เชี่ยวชาญ/ที่ปรึกษาด้านฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถวางแผนการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม อันประกอบไปด้วยการกำหนดพื้นที่ศึกษา จุดเก็บตัวอย่าง วิธีเก็บตัวอย่างน้ำ ดินและดินตะกอน ตัวชี้วัดด้านคุณภาพน้ำ ดินและดินตะกอน การออกแบบเอกสารบันทึก การรายงานข้อมูลการเก็บตัวอย่างและตรวจวัดตัวอย่างน้ำ ดินและดินตะกอน แนวทางการแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการเก็บตัวอย่าง และประกันคุณภาพ (QA/QC) ของกระบวนการได้อย่างเหมาะสม |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
กลุ่มอาชีพผู้ตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านน้ำและดิน |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
-N/A- |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 เรื่องกำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน มาตรฐานคุณภาพน้ำ, กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาตรฐานคุณภาพดินที่ใช้ประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัยและเกษตรกรรม, กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง กําหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำทะเล พ.ศ. 2560 |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
EM108.01 กำหนดพื้นที่ศึกษา และจุดเก็บตัวอย่าง | 1. กำหนดพื้นที่ศึกษา |
EM108.01.01 | 146769 |
EM108.01 กำหนดพื้นที่ศึกษา และจุดเก็บตัวอย่าง | 2. กำหนดจุดเก็บตัวอย่าง |
EM108.01.02 | 146770 |
EM108.01 กำหนดพื้นที่ศึกษา และจุดเก็บตัวอย่าง | 3. ระบุความอันตรายที่อาจเกิดขึ้นขณะเก็บตัวอย่างพร้อมกำหนดมาตรการป้องกันอันตราย |
EM108.01.03 | 146771 |
EM108.02 กำหนดวิธีเก็บตัวอย่างและตัวชี้วัดด้านคุณภาพน้ำ ดิน และดินตะกอน | 1. กำหนดวิธีเก็บตัวอย่างให้สอดคล้องกับรายการวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำ
ดินและดินตะกอน |
EM108.02.01 | 146772 |
EM108.02 กำหนดวิธีเก็บตัวอย่างและตัวชี้วัดด้านคุณภาพน้ำ ดิน และดินตะกอน | 2. กำหนดตัวชี้วัดคุณภาพน้ำ ดินและดินตะกอน |
EM108.02.02 | 146773 |
EM108.02 กำหนดวิธีเก็บตัวอย่างและตัวชี้วัดด้านคุณภาพน้ำ ดิน และดินตะกอน | 3. กำหนดวิธีจัดการของเสียที่เกิดจากการเก็บตัวอย่าง |
EM108.02.03 | 146774 |
EM108.02 กำหนดวิธีเก็บตัวอย่างและตัวชี้วัดด้านคุณภาพน้ำ ดิน และดินตะกอน | 4.
เขียนมาตรฐานการปฏิบัติงาน (SOP) หรือคู่มือปฏิบัติงานสำหรับการเก็บตัวอย่าง |
EM108.02.04 | 146775 |
EM108.02 กำหนดวิธีเก็บตัวอย่างและตัวชี้วัดด้านคุณภาพน้ำ ดิน และดินตะกอน | 5. กำหนดระบบการขนส่ง (logistics) ตัวอย่างไปยังห้องปฏิบัติการทดสอบ |
EM108.02.05 | 146776 |
EM108.03 ออกแบบเอกสารการบันทึกข้อมูลการเก็บตัวอย่างและตรวจวัดตัวอย่าง | 1. ออกแบบแบบบันทึกข้อมูลการเก็บตัวอย่าง |
EM108.03.01 | 146777 |
EM108.03 ออกแบบเอกสารการบันทึกข้อมูลการเก็บตัวอย่างและตรวจวัดตัวอย่าง | 2.
ออกแบบฉลากติดตัวอย่าง ที่สามารถทวนสอบถึงที่มาของตัวอย่าง |
EM108.03.02 | 146778 |
EM108.03 ออกแบบเอกสารการบันทึกข้อมูลการเก็บตัวอย่างและตรวจวัดตัวอย่าง | 3.
ออกแบบแบบบันทึกข้อมูลการตรวจวัดตัวอย่าง |
EM108.03.03 | 146779 |
EM108.04 กำหนดแนวทางการแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างเก็บตัวอย่าง | 1.
บ่งชี้ปัญหาที่อาจพบในระหว่างการเก็บตัวอย่าง |
EM108.04.01 | 146780 |
EM108.04 กำหนดแนวทางการแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างเก็บตัวอย่าง | 2.
ระบุวิธีการแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการเก็บตัวอย่าง |
EM108.04.02 | 146781 |
EM108.05 ประกันคุณภาพ (QA/QC) ของกระบวนการ | 1.
กำหนดวิธีการประกันคุณภาพเพื่อเฝ้าระวังกระบวนการเก็บตัวอย่างและรวบรวมข้อมูลผลการวิเคราะห์ตัวอย่าง |
EM108.05.01 | 146782 |
EM108.05 ประกันคุณภาพ (QA/QC) ของกระบวนการ | 2. จัดทำรายการตรวจติดตาม (checklist) สำหรับกระบวนการเก็บตัวอย่างและรวบรวมข้อมูล |
EM108.05.02 | 146783 |
EM108.05 ประกันคุณภาพ (QA/QC) ของกระบวนการ | 3. ตรวจติดตามกระบวนการเก็บตัวอย่างและรวบรวมข้อมูลตาม
checklist |
EM108.05.03 | 146784 |
EM108.05 ประกันคุณภาพ (QA/QC) ของกระบวนการ | 4.
สรุปผลการประกันคุณภาพและจัดทำรายงาน |
EM108.05.04 | 146785 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
ต้องมีความรู้ด้านมลพิษอากาศ และอุตุนิยมวิทยา |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. ทักษะทางเทคนิคในการปฏิบัติงาน สามารถระบุหลักการกำหนดพื้นที่ศึกษา จุดเก็บตัวอย่าง วิธีเก็บตัวอย่างน้ำ ดินและดินตะกอน ตัวชี้วัดด้านคุณภาพน้ำ ดินและดินตะกอน การออกแบบเอกสารบันทึก การรายงานข้อมูลการเก็บตัวอย่างและตรวจวัดตัวอย่างน้ำ ดินและดินตะกอน แนวทางการแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการเก็บตัวอย่าง 2. ทักษะในการวางแผนการบริหารจัดการในการทำงาน การปฏิบัติงานที่ซับซ้อน สามารถกำหนดกรอบการประกันคุณภาพ (QA/QC) ของกระบวนการประเมินการติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านน้ำ ดินและดินตะกอน 3. ทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศในระดับสากล (ข) ความต้องการด้านความรู้
|
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
(ค) คำแนะนำในการประเมิน ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดพื้นที่ศึกษา จุดเก็บตัวอย่าง วิธีเก็บตัวอย่างน้ำ ดินและดินตะกอน ตัวชี้วัดด้านคุณภาพน้ำ ดินและดินตะกอน การออกแบบเอกสารบันทึก การรายงานข้อมูลการเก็บตัวอย่างและตรวจวัดตัวอย่างน้ำ ดินและดินตะกอน แนวทางการแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการเก็บตัวอย่าง และประกันคุณภาพ (QA/QC) ของกระบวนการ โดยพิจารณาหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ (ง) วิธีการประเมิน
|
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
การวางแผนการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านน้ำ ดินและดินตะกอน ในระดับคุณวุฒิที่ 5 เป็นการปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความรู้ในองค์รวมด้านวิทยาศาสตร์ทางน้ำ ดินและดินตะกอน มลพิษและการตรวจวัดมลพิษน้ำ ดินและดินตะกอน เพื่อวางแผนบริหารจัดการการปฏิบัติงานที่ซับซ้อน และถ่ายทอดความรู้ให้บุคลากรในระดับคุณวุฒิที่ 3 และ 4 ได้
1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับความรู้ ความเข้าใจหลักพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ทางน้ำ ดินและดินตะกอน มลพิษและการตรวจวัดมลพิษน้ำ ดินและดินตะกอน หลักการทำงานของเครื่องมือเก็บตัวอย่าง เครื่องมือตรวจวัด และหลักพื้นฐานด้านความปลอดภัยของการเก็บตัวอย่างและการตรวจวัดในภาคสนาม 2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย ข้อบังคับ ข้อแนะนำที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานคุณภาพน้ำ ดินและดินตะกอน หรือค่าอ้างอิงของระดับมลสาร 3. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับเกณฑ์ประเมินผลคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านน้ำ ดินและดินตะกอนที่นำไปสู่การเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น 4. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับประกันคุณภาพ (QA/QC) ของกระบวนการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านน้ำ ดินและดินตะกอน
|
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
-N/A- |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
-N/A- |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
1. เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย กำหนดพื้นที่ศึกษา และจุดเก็บตัวอย่าง 1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค 2. ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก) ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากคู่มือประเมิน 2. เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย กำหนดวิธีเก็บตัวอย่างและตัวชี้วัดด้านคุณภาพน้ำ ดิน และดินตะกอน
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากคู่มือประเมิน 3. เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ออกแบบเอกสารการบันทึกข้อมูลการเก็บตัวอย่างและตรวจวัดตัวอย่าง
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากคู่มือประเมิน 4. เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย กำหนดแนวทางการแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการเก็บตัวอย่าง
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากคู่มือประเมิน 5. เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ประกันคุณภาพ (QA/QC) ของกระบวนการ
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากคู่มือประเมิน |