หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เก็บตัวอย่างและรักษาคุณภาพตัวอย่างวิเคราะห์สิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ --QSPG-001B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เก็บตัวอย่างและรักษาคุณภาพตัวอย่างวิเคราะห์สิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2563

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 3211 เจ้าหน้าที่เทคนิคด้านวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต



 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการเก็บตัวอย่างและรักษาคุณภาพตัวอย่างทางห้องปฏิบัติการ อันได้แก่ การตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลและตัวอย่างสิ่งส่งตรวจ การตรวจสอบคุณภาพและปริมาณสิ่งส่งตรวจ การจัดเตรียมอุปกรณ์ในการจัดเก็บรักษาสิ่งส่งตรวจ และการจัดเก็บสิ่งส่งตรวจได้อย่างถูกต้องตามหลักการ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักเทคนิคการสัตวแพทย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10303.01 จัดการสิ่งส่งตรวจ

1. ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลและตัวอย่างสิ่งส่งตรวจตามข้อกำหนด


10303.01.01 146601
10303.01 จัดการสิ่งส่งตรวจ

2. ตรวจสอบคุณภาพและปริมาณสิ่งส่งตรวจตามข้อกำหนด

10303.01.02 146602
10303.02 เก็บรักษาสิ่งส่งตรวจในห้องปฏิบัติการ

1. เตรียมอุปกรณ์ในการจัดเก็บรักษาสิ่งส่งตรวจตามในห้องปฏิบัติการข้อกำหนด


10303.02.01 146603
10303.02 เก็บรักษาสิ่งส่งตรวจในห้องปฏิบัติการ

2. เลือกอุปกรณ์ใส่สิ่งส่งตรวจก่อนการจัดเก็บ


10303.02.02 146604
10303.02 เก็บรักษาสิ่งส่งตรวจในห้องปฏิบัติการ

3. เลือกวิธีการและดำเนินการจัดเก็บสิ่งส่งตรวจตามข้อกำหนด


10303.02.03 146605

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ทักษะและความรู้ทางการจัดเก็บ คัดกรองสิ่งส่งตรวจที่มีคุณภาพ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะดูแลจัดเก็บสิ่งส่งตรวจให้อยู่ในคุณภาพ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ทางเรื่องสิ่งส่งตรวจและคุณภาพ



2. ความรู้ทางด้านการเก็บรักษาสิ่งส่งตรวจ



3. ความรู้ทางด้านกระบวนการตรวจทางห้องปฏิบัติการ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับ



เกณฑ์การปฏิบัติงาน(Performance Criteria)และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



      (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



          1. ใบบันทึกจากการสังเกตการณ์ปฏิบัติงาน

          2. เอกสารรับรองผลงานและความรู้ความสามารถที่ผ่านมา (ถ้ามี)



 



 



      (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



            1. ผลการทดสอบความรู้



            2. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง  



            3. วุฒิบัตร ประกาศนียบัตร หรือใบรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี)



      (ค) คำแนะนำในการประเมิน



ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง



 



      (ง) วิธีการประเมิน



            1. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบทดสอบความรู้ และ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้



            2. แบบทดสอบปฏิบัติการ


15. ขอบเขต (Range Statement)

  • คำแนะนำ



การทำงานสนับสนุนงานตามแผนการรักษาภายใต้การควบคุม กำกับ และดูแลของนายสัตวแพทย์




  • คำอธิบายรายละเอียด




      1.  








  1. คุณภาพสิ่งส่งตรวจ หมายถึง ลักษณะสิ่งส่งตรวจตามแต่ละประเภทมความสมบูรณ์ โดยมีการขนส่งและจัดเก็บที่มีการรักษาสภาพเดิมให้สมบูรณ์ที่สุด

  2. การเก็บรักษาสิ่งส่งตรวจ หมายถึง การเก็บสิ่งส่งตรวจในสภาพที่สมบูรณ์ ในอุณหภูมิที่เหมาะสมตามสิ่งส่งตรวจ และไม่เกินระยะเวลาในการเก็บสิ่งส่งตรวจ ในก่อน ระหว่าง และหลังการทดสอบ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า หากไม่ชัดเจนหรือมีปริมาณเพียงพอให้เชื่อถือได้ ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่



1) แบบทดข้อสอบข้อเขียน



2) แบบทดสอบสาธิตการปฏิบัติการ



ยินดีต้อนรับ