หน่วยสมรรถนะ
เตรียมวัสดุอุปกรณ์การแพทย์และดูแลสุขภาพสัตว์ป่วยเพื่อเข้ารับการรักษาตามแผนการรักษาของนายสัตวแพทย์
สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | --YBUH-001B |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | เตรียมวัสดุอุปกรณ์การแพทย์และดูแลสุขภาพสัตว์ป่วยเพื่อเข้ารับการรักษาตามแผนการรักษาของนายสัตวแพทย์ |
3. ทบทวนครั้งที่ | 1 / 2563 |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
N/A
|
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการปฏิบัติงานด้านการพยาบาลสัตว์เลี้ยง อันได้แก่ การระบุความผิดปกติของสัตว์ป่วย การจัดเตรียมอุปกรณ์ยา เวชภัณฑ์ และวัสดุทางการแพทย์ ตามแผนการรักษาของนายสัตวแพทย์ การตรวจวัดสัญญาณชีพ การดำเนินการตามแผนการรักษาของนายสัตวแพทย์ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
พยาบาลสัตว์ |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
1. มาตรฐานสถานประกอบการสัตวในประเทศไทย พ.ศ. 25532. หลักและแนวปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล พ.ศ. 25553. พระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. 25454. คู่มือประกอบเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. 2553 |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
10201.01 เตรียมอุปกรณ์ ทางการแพทย์และสถานที่ | 1. เตรียมยา เวชภัณฑ์ และวัสดุทางการแพทย์ |
10201.01.01 | 146484 |
10201.01 เตรียมอุปกรณ์ ทางการแพทย์และสถานที่ | 2. เตรียมสถานทีเพื่อรองรับการเข้ารับการรักษาสัตว์ป่วยตามแผนการรักษา |
10201.01.02 | 146485 |
10201.01 เตรียมอุปกรณ์ ทางการแพทย์และสถานที่ | 3. เตรียมบุคลากรและเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองในห้องผ่าตัด ให้เป็นไปตามหลักการปลอดเชื้อ |
10201.01.03 | 146486 |
10201.02 เคลื่อนย้ายสัตว์ป่วย | 1. เตรียมอุปกรณ์ เตียง ในการเคลื่อนย้ายสัตว์ได้อย่างถูกต้อง |
10201.02.01 | 146487 |
10201.02 เคลื่อนย้ายสัตว์ป่วย | 2. เคลื่อนย้ายสัตว์ป่วยโดยใช้เส้นทางในการเคลื่อนย้ายได้อย่างถูกต้อง และปลอดภัย |
10201.02.02 | 146488 |
10201.03 เตรียมสัตว์ป่วยเพื่อเข้ารับการรักษา | 1. เตรียมตัวสัตว์ป่วยก่อนการผ่าตัด ตามหลักการปลอดเชื้อ |
10201.03.01 | 146489 |
10201.03 เตรียมสัตว์ป่วยเพื่อเข้ารับการรักษา | 2. ตรวจวัดสัญญาณชีพสัตว์ป่วย |
10201.03.02 | 146490 |
10201.03 เตรียมสัตว์ป่วยเพื่อเข้ารับการรักษา | 3. คัดกรองประเมินสัตว์ป่วยเบื้องต้น |
10201.03.03 | 146491 |
10201.03 เตรียมสัตว์ป่วยเพื่อเข้ารับการรักษา | 4. บันทึก และรายงานผลการตรวจคัดกรองให้นายสัตวแพทย์ทราบ |
10201.03.04 | 146492 |
10201.04 ดูแลสัตว์ป่วยระหว่างการผ่าตัด | 1. ติดตามสัญญาณชีพระหว่างการผ่าตัดตามที่ได้รับมอบหมายจากนายสัตวแพทย์ |
10201.04.01 | 146493 |
10201.04 ดูแลสัตว์ป่วยระหว่างการผ่าตัด | 2. ปฏิบัติงานสนับสนุนนายสัตวแพทย์ระหว่างการผ่าตัด (หยิบ ส่งเครื่องมือ ตัดไหม จับเคลื่อนย้ายท่าทางสัตว์ ) |
10201.04.02 | 146494 |
10201.05 ดูแลสัตว์ป่วยหลังการผ่าตัด | 1. ติดตามสัญญาณชีพหลังการผ่าตัดตามที่ได้รับมอบหมายจากนายสัตวแพทย์ |
10201.05.01 | 146495 |
10201.05 ดูแลสัตว์ป่วยหลังการผ่าตัด | 2. ดูแล (ป้อนยา อาหาร) ให้แก่สัตว์ป่วย และติดตามอาการสัตว์ป่วยหลังได้รับการรักษาตามแผนการรักษา |
10201.05.02 | 146496 |
10201.05 ดูแลสัตว์ป่วยหลังการผ่าตัด | 3. บันทึก และรายงานผลการติดตามอาการสัตว์ป่วย |
10201.05.03 | 146497 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
. ความรู้และทักษะทางด้านการพยาบาลสัตว์ |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ
(ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. ความรู้เกี่ยวกับหลักการตรวจร่างกายและคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นทั่วไป 2. ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือวัดสัญญาณชีพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม 3. ความรู้ทางด้านระบบสรีวิทยาของร่างกายสัตว์เลี้ยง 4. ความรู้ทางด้านอธิบายการเกิดโรคภาวะต่างของสัตว์ 5. ความรู้ทางด้านหลักและแนวปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. ใบบันทึกจากการสังเกตการณ์ปฏิบัติงาน
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. ผลการทดสอบความรู้ 2. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง 3. วุฒิบัตร ประกาศนียบัตร หรือใบรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี) (ค) คำแนะนำในการประเมิน ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง (ง) วิธีการประเมิน 1. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบทดสอบความรู้และ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง
|
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
15. ขอบเขต (Range Statement) (ก) คำแนะนำ การทำงานสนับสนุนงานตามแผนการรักษา ภายใต้การควบคุม กำกับ และดูแล ของนายสัตวแพทย์ (ข) คำอธิบายรายละเอียด 1. การวัดสัญญาณชีพ หมายถึงการประเมินสุขภาพของสัตว์ป่วยเบื้องต้น ได้แก่การตรวจวัดน้ำหนักตัวการตรวจวัดอุณหภูมิ การตรวจดูสีเหงือกการตรวจวัดการไหลเวียนของเส้นเลือดฝอยการตรวจวัดภาวะขาดน้ำและภาวะบวมน้ำการตรวจวัดอัตราการหายใจการตรวจวัดชีพจร 2. บันทึกและรายงานข้อมูลการติดตามสัตว์ป่วยค้างคืน หมายถึง การจดบันทึกปริมาณ อาหาร น้ำเกลือ การตรวจวัดสัญญาณชีพ อาการ และพฤติกรรมลงทะเบียนของสัตว์ป่วย 3. การเตรียมอุปกรณ์ เวชภัณฑ์ วัสดุทางการแพทย์ หมายถึง การเตรียม อุปกรณ์ วัสดุทางการแพทย์ ตามการผ่าตัดและประเภทของสัตว์ภายใต้การควบคุม กำกับ และดูแล ของนายสัตวแพทย์ 4. เตรียมตัวสัตว์ป่วยก่อนการผ่าตัด คือ การเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกายสัตว์ป่วย ทำความสะอาดร่างกายสัตว์ ดำเนินการเตรียมพื้นที่ร่างกายสัตว์ในการผ่าตัด(ตัดแต่งขน) ตรวจประเมินร่างกายเบื้องต้น ลักษณะทางร่างกาย สัญญาณชีพ ก่อนการผ่าตัด 5. เตรียมห้องผ่าตัด อุปกรณ์ เครื่องมือแพทย์ และบุคลากรในห้องผ่าตัดหมายถึง ดำเนินการจัดเตรียมห้องผ่าตัด อุปกรณ์ เครื่องมือแพทย์ ตามประเภทการผ่าตัด และผ่านกระบวนฆ่าเชื้อ และการเตรียมเครื่องแต่งกาย ถุงมือ หมวก เสื้อคลุม รองเท้า ที่ผ่านการฆ่าเชื้อให้แก่บุคลากร ที่ต้องดำเนินการผ่าตัดให้แก่สัตว์ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัด 6. เตรียมสถานที่เพื่อเข้ารับการรักษา หมายถึง การเตรียมสถานที่ เช่น เตียงตรวจ กรงพักค้างคืนสัตว์ สถานที่ทำแผลตามแผนการรักษาของสัตว์ป่วยตามคำสั่งของนายสัตวแพทย์ 7. เตรียมสัตว์ป่วยเพื่อเข้ารับการรักษา หมายถึงการ เตรียมตัวสัตว์ป่วย เช่น การโกนขน การใส่อุปกรณ์เพื่อจับบังคับ ตามแผนการรักษาของนายสัตวแพทย์ 8. เคลื่อนย้ายสัตว์ป่วย หมายถึง การพยุง ประคอง เข็น ยก จับบังคับ สัตว์ป่วยที่มีความปลอดภัยไปในพื้นที่ที่เข้ารับการรักษาตามแผนการรักษาของสัตว์ป่วย 9. หลักการปลอดเชื้อ หมายถึง การทำความสะอาดเพื่อกำจัดหรือทำลายเชื้อจุลชีพทุกชนิดรวมทั้งสปอร์ของเชื้อแบคทีเรีย 10. การติดตามสัญญาณชีพ หมายถึง การสังเกต และเฝ้าดูค่าสัญญาณชีพได้แก่ ค่าความดันโลหิต (Blood pressure) อุณหภูมิ (Temperature) ชีพจร (Pulse) และการหายใจ (Respiration) ของสัตว์ป่วย 11. ติดตามอาการสัตว์ป่วยหลังการผ่าตัด หมายถึง การเฝ้า สังเกต อาการแสดงของสัตว์ป่วยหลังการผ่าตัด เช่น ลักษณะของแผล อาการแสดงระหว่างการพักฟื้นของสัตว์ป่วย |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า หากไม่ชัดเจนหรือมีปริมาณเพียงพอให้เชื่อถือได้ ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่ 1) แบบทดข้อสอบข้อเขียน 2) แบบทดสอบการสาธิตการปฏิบัติงาน |