หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์

สาขาวิชาชีพผลิตภัณฑ์ยางพารา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RUB-DWMG-043A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานพัฒนากระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ยาง ระดับ 5



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านการประเมินหน่วยสมรรถนะ (UOC) นี้จะต้องสามารถ ออกแบบ พัฒนาผลิตภัณฑ์ วิเคราะห์ปัญหา เป้าหมายคุณภาพ สรุป บันทึกรายงานได้ และต้องสามารถสอบผ่านเกณฑ์ที่กําหนด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาผลิตภัณฑ์ยางพารา สาขาอุตสาหกรรมยางล้อ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1.5.1.3.1 ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ตามความต้องการของลูกค้า

1.1 ผลิตภัณฑ์ได้รับการออกแบบและพัฒนาตามความต้องการของลูกค้า

1.5.1.3.1.01 147335
1.5.1.3.1 ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ตามความต้องการของลูกค้า

1.2 กําหนด รูปแบบ แนวคิด การใช้งาน และความผันแปรในการผลิต

1.5.1.3.1.02 147336
1.5.1.3.1 ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ตามความต้องการของลูกค้า

1.3 กําหนดกระบวนการผลิต การประกอบิกัดความเผื่อ ข้อกําหนดด้านสมรรถนะจํานวนส่วนประกอบ การบรรจุผลิตภัณฑ์ และการเคลื่อนย้ายวัสดุได้

1.5.1.3.1.03 147337
1.5.1.3.2 วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของปัญหาและหาแนวทางการแก้ไข

2.1 ระบุปัญหาจาก วิธีการปฏิบัติงานเครื่องจักร วัตถุดิบ และอุปกรณ์ที่ส่งผลกระทบต่อการออกแบบและการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ได้

1.5.1.3.2.01 147338
1.5.1.3.2 วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของปัญหาและหาแนวทางการแก้ไข

2.2 แนวทางการแก้ไขถูกกําหนดขึ้นเหมาะสมกับปัญหา

1.5.1.3.2.02 147339
1.5.1.3.3 กําหนดเป้าหมายการออกแบบและอายุการใช้งานผลิตภัณฑ์

3.1 ระบุฟังก์ชั่น การใช้งาน รูปร่าง ขนาดน้ำหนัก และชนิดวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์ได้

1.5.1.3.3.01 147340
1.5.1.3.3 กําหนดเป้าหมายการออกแบบและอายุการใช้งานผลิตภัณฑ์

3.2 กําหนด อายุการใช้งานผลิตภัณฑ์ได้

1.5.1.3.3.02 147341
1.5.1.3.4 กําหนดเป้าหมายด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์

4.1 ระบุ เป้าหมายอัตราของเสียได้ถูกต้องตามข้อกําหนด

1.5.1.3.4.01 147342
1.5.1.3.4 กําหนดเป้าหมายด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์

4.2 ระบุ เป้าหมายอัตราของคืนได้ถูกต้องตามข้อกําหนด

1.5.1.3.4.02 147343
1.5.1.3.4 กําหนดเป้าหมายด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์

4.3 ระบุ เป้าหมาย Ppk, CpK ได้ถูกต้องตามข้อกําหนด

1.5.1.3.4.03 147344
1.5.1.3.5 กําหนดเครื่องมือวัดและทดสอบผลิตภัณฑ์

5.1 เครื่องมือวัดและทดสอบผลิตภัณฑ์ได้ถูกกําหนดใช้ในการวัดและทดสอบเหมาะสมกับขนาด ของผลิตภัณฑ์และฟังก์ชั่น การทํางานของผลิตภัณฑ์

1.5.1.3.5.01 147345
1.5.1.3.6 ควบคุมและทบทวนการออกแบบและการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์

6.1 การดําเนินการออกแบบและการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์เป็นไปตามแผนงานที่กําหนดไว้

1.5.1.3.6.01 147346
1.5.1.3.6 ควบคุมและทบทวนการออกแบบและการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์

6.2 ผลออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้รับการทบทวนและอนุมัติ

1.5.1.3.6.02 147347
1.5.1.3.7 สรุปรายงาน จัดเก็บรายงาน/บันทึกผลได้

7.1 การออกแบบและพัฒนาได้รับการสรุปผลอย่างถูกต้องตามข้อกําหนด

1.5.1.3.7.01 147348
1.5.1.3.7 สรุปรายงาน จัดเก็บรายงาน/บันทึกผลได้

7.2 ระบุระยะเวลาการเก็บรักษาบันทึกการตรวจสอบตามข้อกําหนดของลูกค้า/มาตรฐาน IATF 16949

1.5.1.3.7.02 147349
1.5.1.3.7 สรุปรายงาน จัดเก็บรายงาน/บันทึกผลได้

7.3 ปฏิบัติการการจัดเก็บและทําลายบันทึกการตรวจสอบตามข้อกําหนดของลูกค้า/มาตรฐาน IATF 16949

1.5.1.3.7.03 147350

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการใช้วัสดุช่าง (Methodology)

2. ทักษะการใช้เครื่องมือ/วิธีการวัดและทดสอบผลิตภัณฑ์

3. ทักษะการหมอบหมายการสั่งงาน และติดตามงาน

4. ทักษะการวิเคราะห์และประเมินผล

5. ทักษะการประสานงานกับลูกค้า

6. ทักษะการรายงานผลการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม เช่น บันทึกผล และพิมพ์งานได้บ้าง (ถ้ามี) เป็นต้น

7. ทักษะถ่ายทอดความรู้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารภาษาอังกฤษและศัพท์เทคนิค

2. ความรู้เกี่ยวกับ APQP / PAP / PpK / CpK / DFMEA / PFMEA / LIFE CYCLE

3. ความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขและป้องกัน 8D

4. ความรู้เกี่ยวกับเอกสารในระบบคุณภาพ

5. ความรู้เกี่ยวกับ CAD/CAM หรือโปรแกรมอื่นๆ ที่ใช้ในการเขียนแบบออกแบบ

6. ความรู้เกี่ยวกับการคาดการงบประมาณ (Cost Estimation)

7 ความรู้เกี่ยวกับ JIS หรือมาตรฐานข้อกําหนดที่เกี่ยวข้องกับวัตถุดิบ

8. ความรู้เกี่ยวกับ VA/VE

9. การควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์

10. ความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (R&D)

11. ความรู้เกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลผลการวิเคราะห์สมรรถนะผลิตภัณฑ์

12. ความรู้เกี่ยวกับการรวบรวมบันทึกผลการทดสอบผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะใกล้เคียง

13. ความรู้เกี่ยวกับการอ่านแบบสัญลักษณ์งานเขียนแบบ คุณภาพผิว พิกัดความเผื่อ

14. ความรู้เกี่ยวกับความถี่ในการสุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์

15. ความรู้เกี่ยวกับข้อกําหนดของลูกค้า

16. ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยางล้อ

17. ความรู้เกี่ยวกับระบบมาตรฐาน IATF 16949 หรือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของยางล้อ (มอก) หรือ E-mark หรือมาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

18. ความรู้เกี่ยวกับคู่มือมาตรฐานการอ่านแบบผลิตภัณฑ์ลูกค้า

19. ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีวัสดุการผลิต

20. ความรู้เกี่ยวกับบอกจํานวนคน คุณลักษณะ ความถี่และช่วงเวลา ที่ทําการวัดได้

21. ความรู้เกี่ยวกับตําแหน่ง มาตราส่วน ขนาดและคุณลักษณะพิเศษของผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

22. ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยเบื้องต้นในการทํางานในโรงงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     1. ใบรับรองการทํางานที่เกี่ยวข้อง

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     1. เอกสารรับรองการอบรม 5 ส

     2. ใบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานที่เกี่ยวข้อง

     3. ใบรับรองการอบรมในวิชาที่เกี่ยวข้อง

     4. เอกสารรับรองการอบรมความปลอดภัยและอาชีวะอนามัยเบื้องต้น

(ค) คําแนะนําในการประเมิน

     ผู้ประเมินตรวจประเมินจะต้องประเมินในทุกหัวข้อ สมรรถนะย่อย โดยสามารถประเมินรวมกันเพียงครั้งเดียวแต่ต้องสามารถชี้ชัด วัดผลได้ว่าได้มีการประเมินในหัวข้อสมรรถนะย่อยนั้นๆ และผ่านเกณฑ์ที่กําหนด

(ง) วิธีการประเมิน

     1. ประเมินจากผลการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคแบบมีแฟ้มสะสมผลงาน

     2. ประเมินจากผลการสอบทฤษฎี


15. ขอบเขต (Range Statement)

     กระบวนการผลิตยางฉาบผ้าใบจนเสร็จสิ้นได้ผลผลิตที่ถูกจัดเก็บในคลังหรือสถานที่ที่พร้อมนําออกมาใช้งาน

(ก) คําแนะนํา

     1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสําคัญเกี่ยวกับข้อกําหนด และมาตรฐานการผลิต

     2. ผู้เข้ารับการประเมินควรมีพื้นฐานทางช่างทั่วไป

(ข) ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงถึงคุณสมบัติที่ต้องการในอาชีพ ได้แก่ คุณลักษณะที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และมีจิตสํานึกด้านความปลอดภัยในการทํางาน

(ค) คําอธิบายรายละเอียด

     ให้ความสําคัญกับข้อกําหนด และมาตรฐานการผลิต


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. สอบทฤษฎี

     - แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

2. สัมภาษณ์เชิงเทคนิคแบบมีแฟ้มสะสมผลงาน

     - แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์

     - ส่งแฟ้มสะสมผลงานให้ตรวจสอบก่อนสัมภาษณ์ หากส่งครบจึงจะได้รับการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ