หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานซ่อมบำรุงเครื่องจักร

สาขาวิชาชีพผลิตภัณฑ์ยางพารา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RUB-QDQN-038A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานซ่อมบำรุงเครื่องจักร

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพช่างซ่อมบํารุงเครื่องจักรผลิตยาง ระดับ 4



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านการประเมินหน่วยสมรรถนะ (UOC) นี้จะต้องสามารถวางแผนปฏิบัติ เตรียมการ ปฏิบัติการซ่อมบํารุงเครื่องจักร ซ่อมสร้าง Jig Fixture / Mold / Die / Tools สรุปรายงานผลการซ่อมบํารุงได้ และต้องสามารถสอบผ่านเกณฑ์ที่กําหนด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาผลิตภัณฑ์ยางพารา สาขาอุตสาหกรรมยางล้อ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1.3.1.3.1 อ่านแผน อ่านแบบ คู่มือประจําเครื่องจักรและวางแผนการปฏิบัติงานประจําวัน

1.1 เตรียมแผนการผลิต แบบ คู่มือประจําเครื่องจักร ได้ถูกต้องตามที่กําหนด

1.3.1.3.1.01 147291
1.3.1.3.1 อ่านแผน อ่านแบบ คู่มือประจําเครื่องจักรและวางแผนการปฏิบัติงานประจําวัน

1.2 อ่าน แปลความหมาย แผน แบบ คู่มือประจําเครื่อง ได้ถูกต้องตามที่กําหนด

1.3.1.3.1.02 147292
1.3.1.3.2 เตรียมการซ่อมบํารุงเครื่องจักร (เครื่องมือ/อุปกรณ์)

2.1 เตรียมชิ้นส่วน วัสดุ สิ้นเปลือง ที่เกี่ยวข้องได้เหมาะสมกับลักษณะงาน

1.3.1.3.2.01 147293
1.3.1.3.2 เตรียมการซ่อมบํารุงเครื่องจักร (เครื่องมือ/อุปกรณ์)

2.2 ตรวจสอบ เลือกใช้ เครื่องมือ อุปกรณ์ได้ถูกต้องตามที่กําหนด

1.3.1.3.2.02 147294
1.3.1.3.3 ปฏิบัติการซ่อมบํารุงเครื่องจักร (ใช่บํารุงรักษาอุปกรณ์จับยึด/เครื่องมือ อุปกรณ์ตัดเฉือน งานไฟฟ้า)

3.1 ชุดและอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยเหมาะสมกับการปฏิบัติงาน และพื้นที่ในการปฏิบัติงานมีการจัดระเบียบก่อนการปฏิบัติงาน

1.3.1.3.3.01 147295
1.3.1.3.3 ปฏิบัติการซ่อมบํารุงเครื่องจักร (ใช่บํารุงรักษาอุปกรณ์จับยึด/เครื่องมือ อุปกรณ์ตัดเฉือน งานไฟฟ้า)

3.2 เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมบํารุงเครื่องจักรได้รับการตรวจสอบให้ปลอดภัยต่อการใช้งานก่อนที่จะเริ่มต้นปฏิบัติงาน

1.3.1.3.3.02 147296
1.3.1.3.3 ปฏิบัติการซ่อมบํารุงเครื่องจักร (ใช่บํารุงรักษาอุปกรณ์จับยึด/เครื่องมือ อุปกรณ์ตัดเฉือน งานไฟฟ้า)

3.3 เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ได้รับการใช้อย่างปลอดภัย และมีการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างปฏิบัติงานโดยทันที และปลอดภัย

1.3.1.3.3.03 147297
1.3.1.3.3 ปฏิบัติการซ่อมบํารุงเครื่องจักร (ใช่บํารุงรักษาอุปกรณ์จับยึด/เครื่องมือ อุปกรณ์ตัดเฉือน งานไฟฟ้า)

3.4 ขอคําปรึกษาจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง และรับผิดชอบหากเกิดปัญหาในงานซ่อมบํารุงเครื่องจักร

1.3.1.3.3.04 147298
1.3.1.3.3 ปฏิบัติการซ่อมบํารุงเครื่องจักร (ใช่บํารุงรักษาอุปกรณ์จับยึด/เครื่องมือ อุปกรณ์ตัดเฉือน งานไฟฟ้า)

3.5 หลังการปฏิบัติการซ่อมบํารุงเครื่องจักรมีการตรวจสอบความเรียบร้อยของเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ และพื้นที่ปฏิบัติงาน

1.3.1.3.3.05 147299
1.3.1.3.3 ปฏิบัติการซ่อมบํารุงเครื่องจักร (ใช่บํารุงรักษาอุปกรณ์จับยึด/เครื่องมือ อุปกรณ์ตัดเฉือน งานไฟฟ้า)

3.6 อุปกรณ์ วัสดุ เครื่องมือ และสิ่งต่างๆ ที่ใช้แล้วและไม่ได้ใช้มีการ จัดเก็บในพื้นที่จัดเก็บที่ถูกต้องเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน

1.3.1.3.3.06 147300
1.3.1.3.4 ปฏิบัติการซ่อม สร้าง Jig Fixture / Mold /Die / Tools

4.1 ชุดและอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยเหมาะสมกับการปฏิบัติงาน และพื้นที่ในการปฏิบัติงานมีการจัดระเบียบก่อนการปฏิบัติงาน

1.3.1.3.4.01 147301
1.3.1.3.4 ปฏิบัติการซ่อม สร้าง Jig Fixture / Mold /Die / Tools

4.2 เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมบํารุงเครื่องจักรได้รับการตรวจสอบให้ปลอดภัยต่อการใช่งานก่อนที่จะเริ่มต้นปฏิบัติงาน

1.3.1.3.4.02 147302
1.3.1.3.4 ปฏิบัติการซ่อม สร้าง Jig Fixture / Mold /Die / Tools

4.3 เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ได้รับการใช้อย่างปลอดภัย และมีการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างปฏิบัติงานโดยทันที และปลอดภัย

1.3.1.3.4.03 147303
1.3.1.3.4 ปฏิบัติการซ่อม สร้าง Jig Fixture / Mold /Die / Tools

4.4 ขอคําปรึกษาจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง และรับผิดชอบหากเกิดปัญหาในงานซ่อมสร้าง

1.3.1.3.4.04 147304
1.3.1.3.4 ปฏิบัติการซ่อม สร้าง Jig Fixture / Mold /Die / Tools

4.5 หลังการปฏิบัติงานมีการตรวจสอบความเรียบร้อยของเครื่องมือ เครื่องจักรอุปกรณ์ และพื้นที่ปฏิบัติงาน

1.3.1.3.4.05 147305
1.3.1.3.4 ปฏิบัติการซ่อม สร้าง Jig Fixture / Mold /Die / Tools

4.6 อุปกรณ์ วัสดุ เครื่องมือ และสิ่งต่างๆ ที่ใช้แล้วและไม่ได้ใช้มีการจัดเก็บในพื้นที่จัดเก็บที่ถูกต้องเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน

1.3.1.3.4.06 147306
1.3.1.3.5 ตรวจสอบคุณภาพ และสรุปรายงานผลการซ่อมบํารุงเครื่องจักร

5.1 ข้อมูลการแก้ไขได้รับการจัดเก็บ เพื่อเปรียบเทียบผลการดําเนินงานก่อน-หลังการปรับปรุง

1.3.1.3.5.01 147307
1.3.1.3.5 ตรวจสอบคุณภาพ และสรุปรายงานผลการซ่อมบํารุงเครื่องจักร

5.2 ข้อมูลผลการดําเนินงานการแก้ไขได้รับการเปรียบเทียบกับเป้าหมาย

1.3.1.3.5.02 147308
1.3.1.3.5 ตรวจสอบคุณภาพ และสรุปรายงานผลการซ่อมบํารุงเครื่องจักร

5.3 ผลการตรวจสอบได้รับการบันทึกลงในแบบฟอร์มการบันทึกผลการตรวจสอบผลการแก้ไข

1.3.1.3.5.03 147309

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการสื่อสารภายในองค์กร

2. ทักษะเครื่องมือ อุปกรณ์ อะไหล่ วัสดุในงานซ่อมบํารุง

3. ทักษะการรายงานผลการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม เช่น บันทึกผล และพิมพ์งานได้บ้าง (ถ้ามี) เป็นต้น

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารภาษาอังกฤษและศัพท์เทคนิค

2. ความรู้เกี่ยวกับ 5ส.

3. ความรู้เกี่ยวกับ Facility

4. ความรู้เกี่ยวกับ กระบวนการผลิต ขึ้นรูปโลหะ

5. ความรู้เกี่ยวกับ แบบ งานเครื่องกล

6. ความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบด้านความปลอดภัย

7. ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการซ่อมบํารุงเครื่องจักร

8. ความรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บในพื้นที่จัดเก็บที่ถูกต้องเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน

9. ความรู้เกี่ยวกับการใช้กราฟ

10. ความรู้เกี่ยวกับการใช้ใบสั่งงาน

12. ความรู้เกี่ยวกับการทํางานเป็นทีม

13. ความรู้เกี่ยวกับการบันทึกผลการตรวจสอบข้อบกพร่องในกระบวนการ

14. ความรู้เกี่ยวกับการแยกประเภทการซ่อมบํารุงตามลักษณะงาน

15. ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์งาน และการจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสมกับงาน

16. ความรู้เกี่ยวกับคู่มือในการปฏิบัติงาน (OPS/WI)

17. ความรู้เกี่ยวกับเครื่องกลต่างๆ (Machining Shop) งานเชื่อม

18. ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือ อุปกรณ์ อะไหล่ วัสดุ รวมถึงเครื่องมือพิเศษในงานซ่อมบํารุง

19. ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือช่วยวัด ทางด้านเครื่องกล อิเล็กทรอนิกส์ และไฟฟ้า

20. ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการนาเสนอผลงาน

21. ความรู้เกี่ยวกับแผนการบํารุงรักษาเครื่องจักร

22. ความรู้เกี่ยวกับแผนการผลิต (การใช้เครื่องจักร) ของฝ่ายผลิต

23. ความรู้เกี่ยวกับระบบเอกสารในงานซ่อมบํารุง

24. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการแก้ปัญหาของเครื่องจักร

25. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้ บํารุงรักษาเครื่องจักร อัตโนมัติ (CNC) และคู่มือการปฏิบัติงาน

26. ความรู้เกี่ยวกับสมรรถนะและการวัดของเครื่องจักร

27. ความรู้เกี่ยวกับสารหล่อลื่น

28. ความรู้เกี่ยวกับหลักการทํางานของวงจรต่างๆ

29. ความรู้เกี่ยวกับหลักการระดมสมอง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     1. ใบรับรองการทํางานที่เกี่ยวข้อง

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     1. เอกสารรับรองการอบรม 5 ส

     2. ใบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานที่เกี่ยวข้อง

     3. ใบรับรองการอบรมในวิชาที่เกี่ยวข้อง

     4. เอกสารรับรองการอบรมความปลอดภัยและอาชีวะอนามัยเบื้องต้น

(ค) คําแนะนําในการประเมิน

     ผู้ประเมินตรวจประเมินจะต้องประเมินในทุกหัวข้อ สมรรถนะย่อย โดยสามารถประเมินรวมกันเพียงครั้งเดียวแต่ต้องสามารถชี้ชัด วัดผลได้ว่าได้มีการประเมินในหัวข้อสมรรถนะย่อยนั้นๆ และผ่านเกณฑ์ที่กําหนด

(ง) วิธีการประเมิน

     1. ประเมินจากผลการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

     2. ประเมินจากสังเกตการปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบงานจริง

     3. ประเมินจากผลการสอบทฤษฎี


15. ขอบเขต (Range Statement)

     กระบวนการผลิตยางฉาบผ้าใบจนเสร็จสิ้นได้ผลผลิตที่ถูกจัดเก็บในคลังหรือสถานที่ที่พร้อมนําออกมาใช้งาน

(ก) คําแนะนํา

     1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสําคัญเกี่ยวกับข้อกําหนด และมาตรฐานการผลิต

     2. ผู้เข้ารับการประเมินควรมีพื้นฐานทางช่างทั่วไป

(ข) ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงถึงคุณสมบัติที่ต้องการในอาชีพ ได้แก่ คุณลักษณะที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และมีจิตสํานึกด้านความปลอดภัยในการทํางาน

(ค) คําอธิบายรายละเอียด

     ให้ความสําคัญกับข้อกําหนด และมาตรฐานการผลิต


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. สอบทฤษฎี

     - แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

2. สัมภาษณ์เชิงเทคนิค

     - แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์

3. สังเกตการปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการจริง

     - แบบฟอร์มประเมินการปฏิบัติ



ยินดีต้อนรับ