หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมเครื่องฉาบยาง (calendar) เสริมใยเหล็ก

สาขาวิชาชีพผลิตภัณฑ์ยางพารา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RUB-JZTH-049A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมเครื่องฉาบยาง (calendar) เสริมใยเหล็ก

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานผลิตชิ้นส่วนประกอบยาง (ยางฉาบเส้นใยเหล็ก) ระดับ 2



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านการประเมินหน่วยสมรรถนะ (UOC) นี้จะต้องสามารถ เตรียมการผลิต ตรวจสอบ เครื่องจักรผลิตภัณฑ์ ปรับแต่ง บันทึกรายงานปัญหา แก้ปัญหาไฟฟ้าดับฉุกเฉิน ได้และต้องสามารถสอบผ่านเกณฑ์ที่กําหนด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาผลิตภัณฑ์ยางพารา สาขาอุตสาหกรรมยางล้อ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1.1.2.3.1 เตรียมการผลิตยางฉาบเส้นใยเหล็ก

1.1 เบิกวัตถุดิบ (ยางคอมพาวด์และเส้นใยเหล็ก) ได้ถูกต้องตรงตามแผนการผลิตประจําวัน

1.1.2.3.1.01 146084
1.1.2.3.1 เตรียมการผลิตยางฉาบเส้นใยเหล็ก

1.2 เตรียมมาตรฐานการผลิต คู่มือการใช้งานเครื่องจักรได้ถูกต้องตรงตามแผนการผลิต

1.1.2.3.1.02 146085
1.1.2.3.1 เตรียมการผลิตยางฉาบเส้นใยเหล็ก

1.3 จัดเตรียมพื้นที่การทํางาน (Housekeeping) ตามคู่มือการปฏิบัติงาน

1.1.2.3.1.03 146086
1.1.2.3.10 ตรวจสอบอุณหภูมิน้ําหล่อเย็น (Cooling drum) ระบายความร้อนยาง

10.1 ตรวจสอบอุณหภูมิของน้ําหล่อเย็นให้ได้ตามคู่มือการปฏิบัติงานทุกครั้งก่อนทําการผลิต

1.1.2.3.10.01 146112
1.1.2.3.10 ตรวจสอบอุณหภูมิน้ําหล่อเย็น (Cooling drum) ระบายความร้อนยาง

10.2 บันทึกผลการตรวจสอบใน Check sheet

1.1.2.3.10.02 146113
1.1.2.3.11 ตรวจสอบสัญญาณความผิดปกติ (Alarm) ของเครื่องจักร

11.1 ตรวจสอบสัญญาณผิดปกติของเครื่องจักร

1.1.2.3.11.01 146114
1.1.2.3.11 ตรวจสอบสัญญาณความผิดปกติ (Alarm) ของเครื่องจักร

11.2 ปรับแก้ไขสัญญาณความผิดปกติของเครื่องจักรตามคู่มือการปฏิบัติงาน

1.1.2.3.11.02 146115
1.1.2.3.12 ปรับแต่งเครื่องจักรในกรณีที่พบความผิดปกติจากการผลิต

12.1 ตรวจสอบชิ้นงานสม่ําเสมอ เพื่อให้ได้ตามคู่มือการปฏิบัติงาน

1.1.2.3.12.01 146116
1.1.2.3.12 ปรับแต่งเครื่องจักรในกรณีที่พบความผิดปกติจากการผลิต

12.2 ปรับตั้งเครื่องจักรตามคู่มือการปฏิบัติงาน

1.1.2.3.12.02 146117
1.1.2.3.12 ปรับแต่งเครื่องจักรในกรณีที่พบความผิดปกติจากการผลิต

12.3 ตรวจสอบหาความผิดปกติของเครื่องจักร

1.1.2.3.12.03 146118
1.1.2.3.12 ปรับแต่งเครื่องจักรในกรณีที่พบความผิดปกติจากการผลิต

12.4 ปรับแก้ไขความผิดปกติตามคู่มือการปฏิบัติงาน

1.1.2.3.12.04 146119
1.1.2.3.12 ปรับแต่งเครื่องจักรในกรณีที่พบความผิดปกติจากการผลิต

12.5 บันทึก รายงาน ผลการแก้ไข

1.1.2.3.12.05 146120
1.1.2.3.13 รายงานปัญหาเมื่อเกิดสิ่งผิดปกติ (หยุด เรียก รอ)

13.1 หยุดเครื่องจักร หยุดการผลิต เมื่อพบสิ่งผิดปกติในการทํางาน และบันทึกปัญหาที่เกิดขึ้น

1.1.2.3.13.01 146121
1.1.2.3.13 รายงานปัญหาเมื่อเกิดสิ่งผิดปกติ (หยุด เรียก รอ)

13.2 เรียกผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบทําการแก้ไข

1.1.2.3.13.02 146122
1.1.2.3.13 รายงานปัญหาเมื่อเกิดสิ่งผิดปกติ (หยุด เรียก รอ)

13.3 เตรียมความพร้อมสําหรับการผลิต

1.1.2.3.13.03 146123
1.1.2.3.14 บันทึก รายงาน การผลิตยางฉาบเส้นใยเหล็ก

14.1 ตรวจสอบและบันทึก

     - จํานวนผลผลิตตามแผน

     - ชิ้นงานเสียที่เกิดขึ้น

     - ปัญหาในการผลิต

1.1.2.3.14.01 146124
1.1.2.3.14 บันทึก รายงาน การผลิตยางฉาบเส้นใยเหล็ก

14.2 บันทึกรายงานผลการรับยางมาฉาบและผลการฉาบยางเส้นใยเหล็กได้ถูกต้องชัดเจนตามบันทึก

1.1.2.3.14.02 146125
1.1.2.3.15 ตัดเก็บตัวอย่างส่งห้องทดลอง

15.1 ตัดชิ้นส่วนยางฉาบเส้นใยเหล็กตามขนาดที่คู่มือการปฏิบัติงานกําหนด

1.1.2.3.15.01 146126
1.1.2.3.15 ตัดเก็บตัวอย่างส่งห้องทดลอง

15.2 ตรวจวัดขนาดชิ้นงานทดลองตามขนาดที่คู่มือการปฏิบัติงานกําหนด

1.1.2.3.15.02 146127
1.1.2.3.15 ตัดเก็บตัวอย่างส่งห้องทดลอง

15.3 จัดเก็บชิ้นงานตัวอย่างตามคู่มือการปฏิบัติงานกําหนด

1.1.2.3.15.03 146128
1.1.2.3.15 ตัดเก็บตัวอย่างส่งห้องทดลอง

15.4 ส่งชิ้นงานตัวอย่างห้องทดลองตามคู่มือการปฏิบัติงานกําหนด

1.1.2.3.15.04 146129
1.1.2.3.16 แก้ปัญหาในกรณีแก้เหตุฉุกเฉินไฟฟ้าดับหรือไฟตก

16.1 ปฏิบัติตามแผนฉุกเฉิน เมื่อ ไฟดับ หรือไฟตก

1.1.2.3.16.01 146130
1.1.2.3.16 แก้ปัญหาในกรณีแก้เหตุฉุกเฉินไฟฟ้าดับหรือไฟตก

16.2 แจ้ง / รายงานผลการปฏิบัติแผนฉุกเฉิน

1.1.2.3.16.02 146131
1.1.2.3.2 ปรับตั้งค่าควบคุมเครื่องฉาบยางฉาบเส้นใยเหล็กตามเกณฑ์

2.1 ปรับตั้งค่าอุณหภูมิลูกกลิ้งชุดอุ่นและชุดเคลือบตามคู่มือการปฏิบัติงาน

1.1.2.3.2.01 146090
1.1.2.3.2 ปรับตั้งค่าควบคุมเครื่องฉาบยางฉาบเส้นใยเหล็กตามเกณฑ์

2.2 ปรับตั้งค่าความหนาของ calender ตามคู่มือการปฏิบัติงาน

1.1.2.3.2.02 146091
1.1.2.3.2 ปรับตั้งค่าควบคุมเครื่องฉาบยางฉาบเส้นใยเหล็กตามเกณฑ์

2.3 เปรียบเทียบข้อมูลค่าควบคุมเครื่องตรงกับแผนการผลิต ป้อนค่าควบคุมได้ถูกต้องตามข้อมูล คู่มือการปฏิบัติงานที่กําหนด ตรวจสอบยืนยันข้อมูลที่ป้อนเข้าเครื่องฉาบยางฉาบเส้นใยเหล็ก และบันทึกข้อมูลเครื่องในการผลิตลงในรายงาน

1.1.2.3.2.03 146092
1.1.2.3.3 ตรวจสอบอุณหภูมิยางฉาบ

3.1 ตรวจสอบอุณหภูมิชุดอุ่นร้อนเส้นใยเหล็ก

1.1.2.3.3.01 146093
1.1.2.3.3 ตรวจสอบอุณหภูมิยางฉาบ

3.2 ตรวจสอบอุณหภูมิชุดอุ่นร้อนเคลือบเส้นใยเหล็ก

1.1.2.3.3.02 146094
1.1.2.3.3 ตรวจสอบอุณหภูมิยางฉาบ

3.3 ตรวจสอบอุณหภูมิชุด Cooling

1.1.2.3.3.03 146095
1.1.2.3.3 ตรวจสอบอุณหภูมิยางฉาบ

3.4 ตรวจสอบอุณหภูมิของยางที่ฉาบตามคู่มือการปฏิบัติงาน

1.1.2.3.3.04 146096
1.1.2.3.3 ตรวจสอบอุณหภูมิยางฉาบ

3.5 ปรับตั้งค่าอุณหภูมิยางที่ฉาบเส้นใยเหล็ก

1.1.2.3.3.05 146097
1.1.2.3.3 ตรวจสอบอุณหภูมิยางฉาบ

3.6 บันทึกผลค่าการปรับตั้ง

1.1.2.3.3.06 146098
1.1.2.3.4 ตรวจสอบความชื้นและอุณหภูมิของห้องเส้นใยเหล็ก

4.1 บันทึกค่าความชื้นจากเครื่องวัด

1.1.2.3.4.01 146099
1.1.2.3.4 ตรวจสอบความชื้นและอุณหภูมิของห้องเส้นใยเหล็ก

4.2 ตรวจสอบอุณหภูมิของเส้นใยเหล็กตามเกณฑ์

1.1.2.3.4.02 146100
1.1.2.3.4 ตรวจสอบความชื้นและอุณหภูมิของห้องเส้นใยเหล็ก

4.3 ปรับตั้งค่าอุณหภูมิเส้นใยเหล็ก

1.1.2.3.4.03 146101
1.1.2.3.4 ตรวจสอบความชื้นและอุณหภูมิของห้องเส้นใยเหล็ก

4.4 บันทึกผลค่าการปรับตั้ง

1.1.2.3.4.04 146102
1.1.2.3.5 เรียงเส้นใยเหล็กเข้าเครื่องฉาบยางตามเกณฑ์

5.1 ตรวจสอบการออกเพื่อให้เส้นใยเหล็กมีจํานวนเส้นตรงกับคู่มือการปฏิบัติงานก่อนผลิต

1.1.2.3.5.01 146103
1.1.2.3.5 เรียงเส้นใยเหล็กเข้าเครื่องฉาบยางตามเกณฑ์

5.2 ตรวจสอบเส้นทางการลําเลียงเส้นใยเหล็กให้ถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน (จากม้วนเส้นใยเหล็กจนเข้าดายเส้นใยเหล็ก)

1.1.2.3.5.02 146104
1.1.2.3.5 เรียงเส้นใยเหล็กเข้าเครื่องฉาบยางตามเกณฑ์

5.3 ตรวจสอบขนาดเส้นใยเหล็กตามคู่มือการปฏิบัติงาน

1.1.2.3.5.03 146105
1.1.2.3.5 เรียงเส้นใยเหล็กเข้าเครื่องฉาบยางตามเกณฑ์

5.4 เรียงเส้นใยเหล็กใส่ดาย ตามคู่มือการปฏิบัติงาน

1.1.2.3.5.04 146106
1.1.2.3.6 ตรวจความตึง ความถี่เส้นใยเหล็ก และความหนายางที่เคลือบเส้นใยเหล็กขณะผลิต

6.1 ตรวจสอบและปรับความตึง ความถี่ และความหนาของเส้นใยเหล็กได้ตาม คู่มือการปฏิบัติงาน และบันทึกผลการตรวจสอบ

1.1.2.3.6.01 146107
1.1.2.3.6 ตรวจความตึง ความถี่เส้นใยเหล็ก และความหนายางที่เคลือบเส้นใยเหล็กขณะผลิต

6.2 ตรวจสอบและปรับความหนาของยางที่ฉาบเส้นใยเหล็ก และบันทึกผลการตรวจสอบ

1.1.2.3.6.02 146108
1.1.2.3.7 ตรวจสภาพภายนอกของ ยางที่ฉาบเส้นใยเหล็ก (Appearance Check)

7.1 ตรวจสอบสภาพผิวตําหนิของยางที่ฉาบเส้นใยเหล็ก และบันทึกผลการตรวจสอบ

1.1.2.3.7.01 146109
1.1.2.3.7 ตรวจสภาพภายนอกของ ยางที่ฉาบเส้นใยเหล็ก (Appearance Check)

7.2 ตรวจสอบขนาดความกว้าง ความยาวและความหนาของยางที่ฉาบเส้นใยเหล็กและบันทึกผลการตรวจสอบ

1.1.2.3.7.02 146110
1.1.2.3.7 ตรวจสภาพภายนอกของ ยางที่ฉาบเส้นใยเหล็ก (Appearance Check)

7.3 ทําสัญลักษณ์ระบุตําหนิหรือความผิดปกติของชิ้นงานตามคู่มือการปฏิบัติงาน

1.1.2.3.7.03 146111

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการใช้เครื่องมือชั่งน้ําหนัก และเครื่องมือวัดความหนา

2. ทักษะการใช้เครื่องวัดอุณหภูมิ

3. ทักษะการติดต่อประสานงาน

4. ทักษะการรายงานผลการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม เช่น บันทึกผล และพิมพ์งานได้บ้าง (ถ้ามี) เป็นต้น

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับศัพท์เทคนิคเบื้องต้นทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

2. ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติ เมื่อมีสิ่งผิดปกติ

3. ความรู้เกี่ยวกับ Spec ขนาด ชิ้นงานตัวอย่าง

4. ความรู้เกี่ยวกับ การใช้ ควบคุมเครื่องจักร

5. ความรู้เกี่ยวกับ การปรับแก้ไขเครื่องจักร ตามมาตรฐาน

6. ความรู้เกี่ยวกับ การวิเคราะห์ปัญหา

7. ความรู้เกี่ยวกับ สัญลักษณ์ สัญญาณ Alarm ของเครื่องจักร

8. ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเตรียมชิ้นงานตัวอย่าง

9. ความรู้เกี่ยวกับการเขียนรายงาน

10. ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกชิ้นงานดี ชิ้นงานเสีย

11. ความรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บชิ้นงานตัวอย่าง

12. ความรู้เกี่ยวกับการใช้บันทึกรายงานการผลิตประจําวัน

13. ความรู้เกี่ยวกับการใช้อ่านแบบสัญลักษณ์

14. ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบตําหนิชิ้นงาน

15. ความรู้เกี่ยวกับการบันทึก เขียน รายงานผลการแก้ไข

16. ความรู้เกี่ยวกับการบันทึกรายงานการตรวจผิวยาง

17. ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตามคู่มือแผนฉุกเฉิน

18. ความรู้เกี่ยวกับการปรับค่าชดเชยเครื่องฉาบยางเสริมใยเหล็ก

19. ความรู้เกี่ยวกับการปรับตั้งเครื่องตัด

20. ความรู้เกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลปัญหาที่เกิดขึ้น

21. ความรู้เกี่ยวกับการอ่านค่า Gauge วัดอุณหภูมิ

22. ความรู้เกี่ยวกับการอ่านมาตรฐาน

23. ความรู้เกี่ยวกับคู่มือในการปฏิบัติงาน มาตรฐาน (OPS/WI/Q-point)

24. ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างการทํางานของเครื่องจักร

25. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบสัญญาณความผิดปกติ

26. ความรู้เกี่ยวกับวิธีวัด

27. ความรู้ในการปรับตั้งเครื่องจักร

28. ความรู้มาตรฐานการฉาบ (อุณหภูมิ)

29. ความรู้มาตรฐานการตรวจสอบชิ้นงาน

30. ความรู้มาตรฐานการปรับตั้งเครื่องฉาบ

31. ความรู้มาตรฐานความชื้นและอุณหภูมิของห้องเส้นใยเหล็ก

32. ความรู้มาตรฐานยางตัวอย่าง

33. ความรู้เกี่ยวกับหมายเลข รหัส มาตรฐาน เอกสาร ในการปฏิบัติงาน

34. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ 5 ส

35. ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานวิธีการทําความสะอาด

36. ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานวัตถุดิบ

37. ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยเบื้องต้นในการทํางานในโรงงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     1. ใบรับรองการทํางานที่เกี่ยวข้อง

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     1. เอกสารรับรองการอบรม 5 ส

     2. ใบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานที่เกี่ยวข้อง

     3. ใบรับรองการอบรมในวิชาที่เกี่ยวข้อง

     4. เอกสารรับรองการอบรมความปลอดภัยและอาชีวะอนามัยเบื้องต้น

(ค) คําแนะนําในการประเมิน

     ผู้ประเมินตรวจประเมินจะต้องประเมินในทุกหัวข้อ สมรรถนะย่อย โดยสามารถประเมินรวมกันเพียงครั้งเดียวแต่ต้องสามารถชี้ชัด วัดผลได้ว่าได้มีการประเมินในหัวข้อสมรรถนะย่อยนั้นๆ และผ่านเกณฑ์ที่กําหนด

(ง) วิธีการประเมิน

     1. ประเมินจากผลการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

     2. ประเมินจากสังเกตการปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบงานจริง

     3. ประเมินจากผลการสอบทฤษฎี


15. ขอบเขต (Range Statement)

     กระบวนการผลิตยางฉาบเส้นใยเหล็กจนเสร็จสิ้นได้ผลผลิตที่ถูกจัดเก็บในคลังหรือสถานที่ที่พร้อมนําออกมาใช้งาน

(ก) คําแนะนํา

     1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสําคัญเกี่ยวกับข้อกําหนด และมาตรฐานการผลิต

     2. ผู้เข้ารับการประเมินควรมีพื้นฐานทางช่างทั่วไป

(ข) ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงถึงคุณสมบัติที่ต้องการในอาชีพ ได้แก่ คุณลักษณะที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และมีจิตสํานึกด้านความปลอดภัยในการทํางาน

(ค) คําอธิบายรายละเอียด

     ให้ความสําคัญกับข้อกําหนด และมาตรฐานการผลิต


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. สอบทฤษฎี

     - แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

2. สัมภาษณ์เชิงเทคนิค

     - แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์

3. สังเกตการปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการจริง

     - แบบฟอร์มประเมินการปฏิบัติ



ยินดีต้อนรับ