หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมการทำงานเครื่องผสมยาง

สาขาวิชาชีพผลิตภัณฑ์ยางพารา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RUB-SPSL-002A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมการทำงานเครื่องผสมยาง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานการผสมยาง ระดับ 2



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะ (UOC) นี้จะต้องสามารถ ตรวจสอบเครื่องจักร เครื่องมือ ตามค่ามาตรฐานบํารุงรักษาเบื้องต้นได้ และต้องสามารถสอบผ่านเกณฑ์ที่กําหนด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาผลิตภัณฑ์ยางพารา สาขาอุตสาหกรรมยางล้อ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1.1.1.2.1 เตรียมการผสมยางตามกระบวนการผลิต

1.1 คํานวณวัตถุดิบที่ต้องใช้ในการผสมยางให้เป็นไปตามแผนการผลิตและคู่มือการปฏิบัติงาน

1.1.1.2.1.01 145955
1.1.1.2.1 เตรียมการผสมยางตามกระบวนการผลิต

1.2 ตรวจนับและบันทึกยอดจํานวนวัตถุดิบและ คอมพาวด์ และสารเคมี คงเหลือทั้งหมดลงในรายงาน ได้อย่างถูกต้อง

1.1.1.2.1.02 145956
1.1.1.2.1 เตรียมการผสมยางตามกระบวนการผลิต

1.3 เตรียมวัตถุดิบสารเคมี และ หรือมาสเตอร์แบทช์ ได้ตามคู่มือการปฏิบัติงาน

1.1.1.2.1.03 145957
1.1.1.2.1 เตรียมการผสมยางตามกระบวนการผลิต

1.4 จัดเตรียมพื้นที่การทํางาน (Housekeeping) ตามคู่มือการปฏิบัติงาน

1.1.1.2.1.04 145958
1.1.1.2.2 ตรวจสอบระยะเวลาและความเร็วการ บด รีดส่วนผสม ตามคู่มือการปฏิบัติงาน

2.1 ตรวจสอบเวลา และขั้นตอนการผสมยางของเครื่องจักรให้เป็นไปตามคู่มือการปฏิบัติงาน

1.1.1.2.2.01 145959
1.1.1.2.2 ตรวจสอบระยะเวลาและความเร็วการ บด รีดส่วนผสม ตามคู่มือการปฏิบัติงาน

2.2 ปรับตั้งค่าชดเชยเครื่องจักรให้เป็นไปตามคู่มือการปฏิบัติงาน

1.1.1.2.2.02 145960
1.1.1.2.2 ตรวจสอบระยะเวลาและความเร็วการ บด รีดส่วนผสม ตามคู่มือการปฏิบัติงาน

2.3 สังเกตความเร็วรอบ (RPM) ของเครื่องผสมยาง ตรงตามคู่มือการปฏิบัติงาน

1.1.1.2.2.03 145961
1.1.1.2.2 ตรวจสอบระยะเวลาและความเร็วการ บด รีดส่วนผสม ตามคู่มือการปฏิบัติงาน

2.4 ตรวจสอบความเร็วของ Line Speed

1.1.1.2.2.04 145962
1.1.1.2.3 ตรวจสอบอุณหภูมิ น้ำหนัก ตามคู่มือการปฏิบัติงาน

3.1 ตรวจสอบ อุณหภูมิของยางที่ผสมตามคู่มือการปฏิบัติงาน

1.1.1.2.3.01 145963
1.1.1.2.3 ตรวจสอบอุณหภูมิ น้ำหนัก ตามคู่มือการปฏิบัติงาน

3.2 ตรวจสอบระบบของน้ําเข้าเครื่องผสมยาง

1.1.1.2.3.02 145964
1.1.1.2.3 ตรวจสอบอุณหภูมิ น้ำหนัก ตามคู่มือการปฏิบัติงาน

3.3 ปรับตั้งค่าระบบน้ําเข้าเครื่องผสมยาง

1.1.1.2.3.03 145965
1.1.1.2.3 ตรวจสอบอุณหภูมิ น้ำหนัก ตามคู่มือการปฏิบัติงาน

3.4 บันทึกผลการตรวจสอบระบบน้ําเข้าเครื่อง

1.1.1.2.3.04 145966
1.1.1.2.3 ตรวจสอบอุณหภูมิ น้ำหนัก ตามคู่มือการปฏิบัติงาน

3.5 ตรวจสอบน้ําหนักยาง คอมพาวด์ บน pallet ตามคู่มือการปฏิบัติงาน

1.1.1.2.3.05 145967
1.1.1.2.4 ดูสภาพผิวที่ผิดปกติจากมาตรฐานตําหนิ (Appearance Check)

4.1 ตรวจสอบสภาพผิว ตําหนิ ของยาง

1.1.1.2.4.01 145968
1.1.1.2.4 ดูสภาพผิวที่ผิดปกติจากมาตรฐานตําหนิ (Appearance Check)

4.2 บันทึกผลการตรวจสอบ

1.1.1.2.4.02 145969
1.1.1.2.4 ดูสภาพผิวที่ผิดปกติจากมาตรฐานตําหนิ (Appearance Check)

4.3 คัดแยกชิ้นงานเสีย งานดีตามคู่มือการปฏิบัติงาน

1.1.1.2.4.03 145970
1.1.1.2.4 ดูสภาพผิวที่ผิดปกติจากมาตรฐานตําหนิ (Appearance Check)

4.4 ตรวจสอบสิ่งผิดปกติที่ปนมากับยางคอมพาวด์

1.1.1.2.4.04 145971
1.1.1.2.4 ดูสภาพผิวที่ผิดปกติจากมาตรฐานตําหนิ (Appearance Check)

4.5 ตรวจสอบปริมาณน้ําแป้งที่เกาะหัวยาง

1.1.1.2.4.05 145972
1.1.1.2.4 ดูสภาพผิวที่ผิดปกติจากมาตรฐานตําหนิ (Appearance Check)

4.6 ตรวจสอบปริมาณน้ําแป้งที่เกาะหางยาง

1.1.1.2.4.06 145973
1.1.1.2.5 เตรียมชิ้นส่วนยางคอมพาวด์ส่งตรวจสอบ

5.1 ตัดชิ้นส่วนยางคอมพาวด์ตามขนาดตามคู่มือการปฏิบัติงาน

1.1.1.2.5.01 145974
1.1.1.2.5 เตรียมชิ้นส่วนยางคอมพาวด์ส่งตรวจสอบ

5.2 จัดเก็บชิ้นส่วนได้ถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน

1.1.1.2.5.02 145975
1.1.1.2.5 เตรียมชิ้นส่วนยางคอมพาวด์ส่งตรวจสอบ

5.3 ส่งมอบชิ้นส่วนให้หน่วยงานที่ตรวจสอบได้ถูกต้อง

1.1.1.2.5.03 145976
1.1.1.2.5 เตรียมชิ้นส่วนยางคอมพาวด์ส่งตรวจสอบ

5.4 เขียนชนิดของยาง และ batch no. บนแผ่นยางตามคู่มือการปฏิบัติงาน

1.1.1.2.5.04 145977
1.1.1.2.6 เตรียมสารกันติด

6.1 ผสมสารกันติดผิวยางตามสูตร และ คู่มือการปฏิบัติงาน และบันทึกผลการเตรียมสารกันติด

1.1.1.2.6.01 145978
1.1.1.2.6 เตรียมสารกันติด

6.2 ตรวจสอบความสม่ําเสมอของสารกันติดผิวยาง

1.1.1.2.6.02 145979
1.1.1.2.7 ใส่วัตถุดิบตามลําดับที่กําหนดไว้

7.1 ป้อนวัตถุดิบเข้าเครื่องผสมตามขั้นตอนคู่มือการปฏิบัติงาน

1.1.1.2.7.01 145980
1.1.1.2.7 ใส่วัตถุดิบตามลําดับที่กําหนดไว้

7.2 กําหนดขั้นตอนการผสมตามคู่มือการปฏิบัติงาน

1.1.1.2.7.02 145981
1.1.1.2.7 ใส่วัตถุดิบตามลําดับที่กําหนดไว้

7.3 กําหนดระยะเวลาการผสมวัตถุดิบตามคู่มือการปฏิบัติงาน

1.1.1.2.7.03 145982
1.1.1.2.8 รายงานปัญหาเมื่อเกิดสิ่งผิดปกติ (หยุด เรียก รอ)

8.1 หยุดเครื่องจักร หยุดการผลิต เมื่อพบสิ่งผิดปกติในการทํางาน

1.1.1.2.8.01 145983
1.1.1.2.8 รายงานปัญหาเมื่อเกิดสิ่งผิดปกติ (หยุด เรียก รอ)

8.2 เตรียมความพร้อมสําหรับการผลิต

1.1.1.2.8.02 145984
1.1.1.2.8 รายงานปัญหาเมื่อเกิดสิ่งผิดปกติ (หยุด เรียก รอ)

8.3 บันทึกปัญหาในรายงานการผลิตประจําวัน

1.1.1.2.8.03 145985
1.1.1.2.8 รายงานปัญหาเมื่อเกิดสิ่งผิดปกติ (หยุด เรียก รอ)

8.4 แจ้งหัวหน้างานหรือผู้เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหา

1.1.1.2.8.04 145986
1.1.1.2.9 บันทึก และตรวจสอบ รายงานการผสมยาง

9.1 ตรวจสอบและบันทึก

     - ตรวจสอบเครื่องจักร

     - จํานวนผลผลิตตามแผน

     - ชิ้นงานเสียที่เกิดขึ้น

     - ปัญหาในการผลิต

     - ผลการผสมยางได้ถูกต้องชัดเจนตามบันทึก

     - ปริมาณวัตถุดิบคงเหลือ

1.1.1.2.9.01 145987
1.1.1.2.9 บันทึก และตรวจสอบ รายงานการผสมยาง

9.2 เตรียมตัวอย่างตามคู่มือปฏิบัติงานส่งทดสอบ

1.1.1.2.9.02 145988

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะด้านการใช้เครื่องมือชั่งน้ําหนัก

2. ทักษะการติดต่อประสานงาน

3. ทักษะการควบคุมเครื่องผสมยาง

4. ทักษะการรายงานผลการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม เช่น บันทึกผล และพิมพ์งานได้บ้าง (ถ้ามี) เป็นต้น

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับศัพท์เทคนิคเบื้องต้นทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

2. ความรู้เกี่ยวกับหมายเลข รหัส มาตรฐาน เอกสาร ในการปฏิบัติงาน

3. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ 5 ส

4. ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานวิธีการทําความสะอาด

5. ความรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บชิ้นส่วนตามมาตรฐาน

6. ความรู้เกี่ยวกับการใช้มีดอย่างปลอดภัย

7. ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบ ควบคุมการป้อนวัตถุดิบตามลําดับ

8. ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบตําหนิชิ้นงาน การคัดแยกชิ้นงานดี ชิ้นงานเสีย

9. ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมชิ้นส่วนยางตามมาตรฐาน

10. ความรู้เกี่ยวกับการบันทึก/เขียนรายงาน ผลการตรวจสอบ และแก้ไข

11. ความรู้เกี่ยวกับการปรับค่าชดเชยเครื่องผสมยาง

12. ความรู้เกี่ยวกับการอ่านค่า Gauge วัดอุณหภูมิ และแรงดัน

13. ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการผสมยางแบบไม่อัตโนมัติ

14. ความรู้เกี่ยวกับคู่มือในการปฏิบัติงานตามมาตรฐาน (OPS/WI/Q-point)

15. ความรู้เกี่ยวกับชนิด/ประเภทของสารเคลือบ และมาตรฐานการผสมสารเคลือบ

16. ความรู้เกี่ยวกับประเภท และมาตรฐานการตรวจสอบยางคอมพาวด์

17. ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการสุ่มตรวจสอบผลิตภัณฑ

18. ความรู้เกี่ยวกับรหัส ชื่อ ชนิดวัตถุดิบ

19. ความรู้เกี่ยวกับส่งมอบชิ้นส่วนสําหรับตรวจสอบ

20. ความรู้เกี่ยวกับหน่วยวัดความเข้มข้นของเหลว

21. ความรู้เกี่ยวกับหน่วยวัดปริมาณ ตามมาตรฐานสากลที่ใช้ในอุตสาหกรรมยาง

22. ความรู้ด้านคณิตศาสตร์เบื้องต้น เช่น ร้อยละ บวก ลบ คูณ หาร เป็นต้น

23. ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยเบื้องต้นในการทํางานในโรงงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     1. ใบรับรองการทํางานที่เกี่ยวข้อง

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     1. เอกสารรับรองการอบรม 5 ส

     2. ใบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานที่เกี่ยวข้อง

     3. ใบรับรองการอบรมในวิชาที่เกี่ยวข้อง

     4. เอกสารรับรองการอบรมความปลอดภัยและอาชีวะอนามัยเบื้องต้น

(ค) คําแนะนําในการประเมิน

     ผู้ประเมินตรวจประเมินจะต้องประเมินในทุกหัวข้อ สมรรถนะย่อย โดยสามารถประเมินรวมกันเพียงครั้งเดียวแต่ต้องสามารถชี้ชัด วัดผลได้ว่าได้มีการประเมินในหัวข้อสมรรถนะย่อยนั้นๆ และผ่านเกณฑ์ที่กําหนด

(ง) วิธีการประเมิน

     1. ประเมินจากผลการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

     2. ประเมินจากสังเกตการปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบงานจริง

     3. ประเมินจากผลการสอบทฤษฎี


15. ขอบเขต (Range Statement)

     กระบวนการงานผสมวัตถุดิบจนสําเร็จเป็นยางคอมพาวด์ที่ถูกจัดเก็บในคลังหรือสถานที่ที่พร้อมนําออกมาใช้งาน

(ก) คําแนะนํา

     1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสําคัญเกี่ยวกับข้อกําหนด และมาตรฐานการผลิต

     2. ผู้เข้ารับการประเมินควรมีพื้นฐานทางช่างทั่วไป

(ข) ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงถึงคุณสมบัติที่ต้องการในอาชีพ ได้แก่ คุณลักษณะที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และมีจิตสํานึกด้านความปลอดภัยในการทํางาน

(ค) คําอธิบายรายละเอียดให้ความสําคัญกับข้อกําหนด และมาตรฐานการผลิต


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. สอบทฤษฎี

     - แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

2. สัมภาษณ์เชิงเทคนิค

     - แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์

3. สังเกตการปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการจริง

     - แบบฟอร์มประเมินการปฏิบัติ



ยินดีต้อนรับ