หน่วยสมรรถนะ
พัฒนากระบวนการผลิตสัตว์น้ำให้ได้มาตรฐาน
สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | ARC-JZJZ-214A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | พัฒนากระบวนการผลิตสัตว์น้ำให้ได้มาตรฐาน |
3. ทบทวนครั้งที่ | N/A / 2564 |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
อาชีพเกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ด้านสัตว์น้ำ |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับการพัฒนากระบวนการผลิตสัตว์น้ำให้ได้มาตรฐาน ประกอบด้วยการวางแผนและดำเนินการพัฒนามาตรฐานของกระบวนการผลิตสัตว์น้ำ ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการสำรวจรวบรวมข้อมูล วางแผน และดำเนินการพัฒนากระบวนการผลิตสัตว์น้ำให้ได้มาตรฐาน สามารถปฏิบัติตามหลักปฏิบัติของมาตรฐานกระบวนการผลิตที่มีหน่วยงานรับรอง ควบคุมคุณภาพระหว่างการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สร้างการยอมรับของผู้บริโภคในกระบวนการผลิต มีทักษะในการพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงาน และพัฒนาระบบสนับสนุนการผลิต |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
เกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
N/A |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
A541 จัดทำแผนพัฒนากระบวนการผลิตสัตว์น้ำ | 1.1 รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานกระบวนการผลิตสัตว์น้ำ | A541.01 | 78910 |
A541 จัดทำแผนพัฒนากระบวนการผลิตสัตว์น้ำ | 1.2 กำหนดวิธีการ ระยะเวลา และปัจจัยการพัฒนากระบวนการผลิตสัตว์น้ำได้เป็นไปตามมาตรฐานที่หน่วยงานที่เชื่อถือได้ให้การรับรอง | A541.02 | 78911 |
A542 ดำเนินการพัฒนากระบวนการผลิตสัตว์น้ำ | 2.1 ปฏิบัติตามหลักปฏิบัติของมาตรฐานที่ต้องการให้รับรองหรือที่เทียบเคียงได้ | A542.01 | 78912 |
A542 ดำเนินการพัฒนากระบวนการผลิตสัตว์น้ำ | 2.2 ควบคุมคุณภาพการผลิตระหว่างการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ | A542.02 | 78913 |
A542 ดำเนินการพัฒนากระบวนการผลิตสัตว์น้ำ | 2.3 ควบคุมมาตรฐานการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนและปลอดภัย | A542.03 | 78914 |
A542 ดำเนินการพัฒนากระบวนการผลิตสัตว์น้ำ | 2.4 จัดหาระบบสนับสนุนการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการปฏิบัติงาน | A542.04 | 78915 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
N/A |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ การพัฒนากระบวนการผลิตสัตว์น้ำที่เลี้ยงให้ได้มาตรฐาน (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. ข้อมูลมาตรฐานกระบวนการผลิตสัตว์น้ำ 2. วิธีการพัฒนากระบวนการผลิตสัตว์น้ำที่ให้ได้มาตรฐานมีหน่วยงานรับรอง |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หลักฐานที่แสดงประสบการณ์การพัฒนามาตรฐานกระบวนการผลิตจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ เช่น ใบรับรองมาตรฐาน GAP โดยกรมประมง (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) ผลการสอบจากแบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้ หรือหลักฐานจากหนังสือรับรองที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ ในการเข้ารับการฝึกอบรม (ค) คำแนะนำในการประเมิน การประเมินจะใช้แบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้ (ง) วิธีการประเมิน พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน: ใบรับรองมาตรฐานกระบวนการผลิตจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ พิจารณาหลักฐานความรู้: แบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้ |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ N/A (ข) คำอธิบายรายละเอียด 1. มาตรฐานกระบวนการผลิต หมายถึงมาตรฐานที่มีหน่วยงานที่เชื่อถือได้รับรอง กระบวนการผลิต เช่น กรมประมง ซึ่งผู้ผลิตจะต้องมีความรับผิดชอบทุกขั้นตอนของกระบวนการการผลิตตามหลักเกณฑ์ มาตรฐานเหล่านี้ได้แก่ การปฏิบัติทางการประมงที่ดี (GAP) สําหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ มาตรฐานกรมประมง การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (GAP) สําหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำจืด มาตรฐานกรมประมง การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (GAP) สําหรับฟาร์มเพาะพันธุ์และอนุบาลปลานิล มาตรฐานกรมประมง การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (GAP) สําหรับฟาร์มเลี้ยงปลานิล มาตรฐานสินค้าเกษตร: การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสําหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำจืด (มกษ. 7417-2559) มาตรฐานสินค้าเกษตร: การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสําหรับฟาร์มเพาะพันธุ์และฟาร์มอนุบาลสัตว์น้ำจืด (มกษ. 7421 (G.2) -2553) มาตรฐานสินค้าเกษตร: การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสําหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำจืด เล่ม 2 ปลาช่อน (มกษ. 7417 (G.2) -2557) มาตรฐานการผลิตสัตวน้ำอินทรีย (Organic Aquaculture Standard, OAS) 2. การจัดทำแผนพัฒนากระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐาน หมายถึงการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานกระบวนการผลิตสัตว์น้ำ และวางแผนปฏิบัติตามหลักปฏิบัติของมาตรฐานที่ต้องการให้รับรอง หรือมาตรฐานที่เทียบเคียงได้ 3. การดำเนินการพัฒนามาตรฐานกระบวนการผลิต หมายถึง การปฏิบัติตามหลักปฏิบัติของมาตรฐานกระบวนการผลิตที่มีหน่วยงานรับรอง การควบคุมคุณภาพระหว่างการเลี้ยงสัตว์น้ำ การสร้างการยอมรับของผู้บริโภคในกระบวนการผลิต การพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงาน โดยปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพตามหลักความปลอดภัย มีการบำรุงรักษาอนามัยส่วนบุคคล การพัฒนาระบบสนับสนุนการผลิต โดยจัดระบบเก็บข้อมูลและเอกสาร และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการปฏิบัติงาน |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
1. ประเมินจากแบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้ ซึ่งเป็นแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 2. รายละเอียดเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือมาตรฐานการประเมินสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ |