หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-WWYQ-204A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพเกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ด้านสัตว์น้ำ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับการจัดการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งประกอบด้วยการวางแผน การดำเนินการ และการจัดการผลผลิตสัตว์น้ำ          ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการสำรวจรวบรวมข้อมูล วางแผน ดำเนินการเพาะเลี้ยง จับสัตว์น้ำและแปรรูปผลผลิต สอดคล้องกับแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีการจดบันทึกข้อมูลการดำเนินงาน ผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรคและการแก้ไข รวมทั้งรายรับ-รายจ่าย สามารถปฏิบัติงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย/ข้อบังคับ และมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          เกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A331 จัดทำแผนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง 1.1 รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ A331.01 78852
A331 จัดทำแผนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง 1.2 กำหนดวิธีการระยะเวลาและปัจจัยในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้ถูกต้องตามหลักวิชาการจากข้อมูลการสำรวจและสอดคล้องกับแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง A331.02 78853
A332 ดำเนินการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง 2.1 เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้ตามที่กำหนด โดยสอดคล้องกับแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง A332.01 78854
A332 ดำเนินการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง 2.2 จดบันทึกข้อมูลการดำเนินงาน ผลการดำเนินงานปัญหาอุปสรรคและการแก้ไข รวมทั้งรายรับ-รายจ่าย A332.02 78855
A332 ดำเนินการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง 2.3 ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องตามกฎเกณฑ์/ข้อบังคับ และมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ A332.03 78856
A333 จัดการผลผลิตสัตว์น้ำตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง 3.1 เก็บเกี่ยวผลผลิตด้วยวิธีการและเทคโนโลยีที่เหมาะสมตามได้แผนที่กำหนดและสอดคล้องกับแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง A333.01 78857
A333 จัดการผลผลิตสัตว์น้ำตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง 3.2 ดำเนินการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิต A333.02 78858

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง



2. การจดบันทึกข้อมูลการดำเนินงาน รวมทั้งรายรับ-รายจ่าย ในการผลิตสัตว์น้ำ



3. การจัดการผลผลิตสัตว์น้ำตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ชนิดและพันธุ์สัตว์น้ำที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและท้องถิ่น



2. วิธีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและรักษาสุขอนามัยในฟาร์ม



3. วิธีการจับสัตว์น้ำและรักษาคุณภาพ



4. วิธีการแปรรูปสัตว์น้ำ



5.       เทคโนโลยีที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำนั้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



          (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



                    หลักฐานแสดงประสบการณ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง



          (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



                    ผลการสอบจากแบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้ หรือหลักฐานจากหนังสือรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม หรือร่วมกิจกรรมเกษตรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้



          (ค) คำแนะนำในการประเมิน



                    การประเมินจะใช้แบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้  



          (ง) วิธีการประเมิน



                    พิจารณาหลักฐานความรู้: แบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

          (ก) คำแนะนำ



                    N/A



          (ข) คำอธิบายรายละเอียด



                    1. การจัดทำแผนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จะพิจารณาชนิด พันธุ์สัตว์ สภาพแวดล้อมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ อายุเลี้ยงดู การดูแลสัตว์น้ำและบ่อเลี้ยง การจัดการสุขภาพสัตว์น้ำ การลดความเสี่ยง การใช้ประโยชน์และความต้องการของตลาด



                    2. การจัดทำแผนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่



                              การตัดสินใจลงทุนเลี้ยงสัตว์น้ำด้วยความพอประมาณ ภายใต้เหตุผลและสถานการณ์ มีการวิเคราะห์ความต้องการของตลาดก่อนการลงทุน และใช้ต้นทุนที่เหมาะสม



                              การวางแผนลดความเสี่ยงในการผลิตและจำหน่ายด้วยวิธีการต่าง ๆ



                              การวางแผนการดูแลสุขภาพสัตว์น้ำ



                    3. การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่



                              การเตรียมความพร้อมของอาหารสัตว์น้ำ



                              การเลือกใช้ปัจจัยการผลิตตามความจำเป็นและเงินทุนที่มี



                              การเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตอย่างมีเหตุมีผล



                              การใช้ปัจจัยการผลิตและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ



                              การประยุกต์ความรู้ในการเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างเมีเหตุมีผล



                              การควบคุมสภาวะแวดล้อมในบ่อระหว่างการเลี้ยงอย่างเหมาะสม



                              การผลิตผลผลิตสัตว์น้ำที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี



                              การกำหนดชนิด พันธุ์ และจำนวนสัตว์น้ำที่เลี้ยงให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ตามกำลังความสามารถและทรัพยากรที่มี



                              การดำเนินการภายใต้กฎหมาย/ข้อบังคับที่เกี่ยวกับสัตว์น้ำ ตัวอย่างเช่น พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 มาตรฐานผลผลิตสัตว์น้ำโดยกรมประมง มาตรฐาน GAP โดยกรมประมง เป็นต้น



                    4. การจัดการผลผลิตสัตว์น้ำตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่



                              การเก็บเกี่ยวผลผลิตให้คงความสด สะอาด และปลอดภัยต่อการบริโภค



                              การสร้างคุณลักษณะเฉพาะของผลผลิต



                              การแปรรูปผลผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม



                              การจัดช่องทางจำหน่ายที่หลากหลาย



                              การสร้างเครื่องหมายการค้า/ตราสินค้า และออกแบบบรรจุภัณฑ์



                              การใช้กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อจัดจำหน่าย



                    5. การเก็บเกี่ยว หมายถึงจับสัตว์น้ำเมื่อถึงอายุจำหน่าย ด้วยเครื่องมือ-อุปกรณ์เก็บเกี่ยวตามภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย หรือใช้เครื่องมือเครื่องจักร/เทคโนโลยี อาจมีการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว ซึ่งอาจจะเป็นการทำความสะอาด การคัดขนาด การตัดแต่ง การบรรจุหีบห่อ ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของสัตว์น้ำและความต้องการของตลาด



                    6. การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิต เป็นการผลิตที่ควบคุมผลผลิตให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค สิ่งแวดล้อม และสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน ผลผลิตมีคุณภาพได้มาตรฐาน หรือเป็นการสร้างผลผลิตให้มีคุณลักษณะเฉพาะ สร้างเครื่องหมายการค้า หรือตราสินค้า ออกแบบให้เป็นที่น่าสนใจ หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อให้ผลผลิตมีมูลค่าสูงขึ้น หรือจำหน่ายได้มากขึ้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          1. ประเมินจากแบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้ ซึ่งเป็นแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก



          2. รายละเอียดเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือมาตรฐานการประเมินสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ



ยินดีต้อนรับ