หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

พัฒนากระบวนการผลิตสัตว์เชิงเดี่ยวให้ได้มาตรฐาน

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-RITQ-213A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ พัฒนากระบวนการผลิตสัตว์เชิงเดี่ยวให้ได้มาตรฐาน

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพเกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ด้านสัตว์เชิงเดี่ยว



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับการพัฒนากระบวนการผลิตสัตว์เชิงเดี่ยวให้ได้มาตรฐานประกอบด้วยการวางแผนและดำเนินการพัฒนามาตรฐานของกระบวนการผลิตสัตว์เชิงเดี่ยว           ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการสำรวจรวบรวมข้อมูล วางแผน และดำเนินการพัฒนากระบวนการผลิตสัตว์ให้ได้มาตรฐาน สามารถปฏิบัติตามหลักปฏิบัติของมาตรฐานกระบวนการผลิตที่มีหน่วยงานรับรอง ควบคุมคุณภาพระหว่างการเลี้ยงสัตว์ สร้างการยอมรับของผู้บริโภคในกระบวนการผลิต มีทักษะในการพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงาน และพัฒนาระบบสนับสนุนการผลิต

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          เกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A531 จัดทำแผนพัฒนากระบวนการผลิตสัตว์เชิงเดี่ยว 1.1 รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานกระบวนการผลิตสัตว์เชิงเดี่ยว A531.01 78904
A531 จัดทำแผนพัฒนากระบวนการผลิตสัตว์เชิงเดี่ยว 1.2 กำหนดวิธีการ ระยะเวลา และปัจจัยการพัฒนากระบวนการผลิตสัตว์ได้เป็นไปตามมาตรฐานที่หน่วยงานที่เชื่อถือได้ให้การรับรอง A531.02 78905
A532 ดำเนินการพัฒนากระบวนการผลิตสัตว์เชิงเดี่ยว 2.1 ปฏิบัติตามหลักปฏิบัติได้สอดคล้องกับมาตรฐานที่ต้องการให้รับรองหรือที่เทียบเคียงได้ A532.01 78906
A532 ดำเนินการพัฒนากระบวนการผลิตสัตว์เชิงเดี่ยว 2.2 ควบคุมคุณภาพการผลิตระหว่างการเลี้ยงสัตว์ A532.02 78907
A532 ดำเนินการพัฒนากระบวนการผลิตสัตว์เชิงเดี่ยว 2.3 ควบคุมมาตรฐานการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนและปลอดภัย A532.03 78908
A532 ดำเนินการพัฒนากระบวนการผลิตสัตว์เชิงเดี่ยว 2.4 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการปฏิบัติงานเพื่อสนับสนุนการผลิต A532.04 78909

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

การพัฒนากระบวนการผลิตสัตว์ที่เลี้ยงให้ได้มาตรฐาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ข้อมูลมาตรฐานกระบวนการผลิตสัตว์เชิงเดี่ยว



2. วิธีการพัฒนากระบวนการผลิตสัตว์ให้ได้มาตรฐานที่มีหน่วยงานรับรอง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



          (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



                    หลักฐานที่แสดงประสบการณ์การพัฒนามาตรฐานกระบวนการผลิตจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ เช่น ใบรับรองมาตรฐาน GAP ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โดยกรมปศุสัตว์



          (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



                    ผลการสอบจากแบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้ หรือหลักฐานจากหนังสือรับรองที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ ในการเข้ารับการฝึกอบรม



          (ค) คำแนะนำในการประเมิน



                    การประเมินจะใช้แบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้  



          (ง) วิธีการประเมิน



                    พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน: ใบรับรองมาตรฐานกระบวนการผลิตจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้



                    พิจารณาหลักฐานความรู้: แบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

          (ก) คำแนะนำ



                    N/A



          (ข) คำอธิบายรายละเอียด



                    1. มาตรฐานกระบวนการผลิต หมายถึงมาตรฐานที่มีหน่วยงานที่เชื่อถือได้รับรอง เช่นมาตรฐาน GAP ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โดยกรมปศุสัตว์รับรอง ได้แก่



                              การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) สําหรับฟาร์มไก่เนื้อ



                              การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) สําหรับฟาร์มไก่พันธุ์



                              การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) สําหรับฟาร์มไก่ไข่



                              การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) สําหรับฟาร์มเป็ดเนื้อ



                              การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) สําหรับฟาร์มเป็ดพันธุ์



                              การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) สําหรับฟาร์มเป็ดไข่



                              การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) สําหรับฟาร์มโคนม



                              การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) สําหรับฟาร์มโคเนื้อ



                              การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) สําหรับฟาร์มสุกร



                              การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) สําหรับฟาร์มแพะนม



                              การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) สําหรับฟาร์มแพะเนื้อ



                              การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) สําหรับฟาร์มสุกร



                              การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) สําหรับสถานที่ฟักไข่สัตว์ปีก



                              การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) สําหรับฟาร์มผึ้ง



                    2. การจัดทำแผนพัฒนากระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐาน หมายถึงการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานกระบวนการผลิตสัตว์ และวางแผนปฏิบัติตามหลักปฏิบัติของมาตรฐานที่ต้องการให้รับรอง หรือมาตรฐานที่เทียบเคียงได้



                    3. การดำเนินการพัฒนามาตรฐานกระบวนการผลิต หมายถึง



                              การปฏิบัติตามหลักปฏิบัติของมาตรฐานกระบวนการผลิตที่มีหน่วยงานรับรอง



                              การควบคุมคุณภาพระหว่างการเลี้ยงสัตว์



                              การสร้างการยอมรับของผู้บริโภคในกระบวนการผลิต



                              การพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงาน โดยปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพตามหลักความปลอดภัย มีการบำรุงรักษาอนามัยส่วนบุคคล



                              การพัฒนาระบบสนับสนุนการผลิต โดยจัดระบบเก็บข้อมูลและเอกสาร และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการปฏิบัติงาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          1. ประเมินจากแบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้ ซึ่งเป็นแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก



          2. รายละเอียดเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือมาตรฐานการประเมินสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ



ยินดีต้อนรับ