หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการการเกษตรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-RTTA-197A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการการเกษตรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพเกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ด้านทฤษฎีใหม่



          อาชีพเกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ด้านเกษตรผสมผสาน



          อาชีพเกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ด้านพืชเชิงเดี่ยว



          อาชีพเกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ด้านสัตว์เชิงเดี่ยว



          อาชีพเกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ด้านสัตว์น้ำ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับการจัดการการเกษตรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วยการจัดการการเกษตรด้วยความพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี โดยใช้ความรู้และคุณธรรม          ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการวางแผนและดำเนินการผลิตทางการเกษตรด้วยความพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง สามารถจดบันทึกข้อมูลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรคและการแก้ไข รวมทั้งรายรับ-รายจ่าย เพื่อนำ ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนา ตัดสินใจและดำเนินงานโดยใช้ความรู้ทางวิชาการ และปฏิบัติงานอย่างถูกต้องตามกฎเกณฑ์/ข้อบังคับ มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          เกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A121 จัดการการเกษตรด้วยความพอประมาณ 1.1 กำหนดวิธีการการผลิตทางการเกษตรได้ตามหลักความพอประมาณ สอดคล้องกับความต้องการ ทรัพยากร และปัจจัยการผลิตที่มี A121.01 78806
A121 จัดการการเกษตรด้วยความพอประมาณ 1.2 ดำเนินการผลิตตามแผนการผลิตที่กำหนดและยึดหลักความพอประมาณ A121.02 78807
A122 จัดการการเกษตรด้วยความมีเหตุผล 2.1 รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเกษตร A122.01 78808
A122 จัดการการเกษตรด้วยความมีเหตุผล 2.2 กำหนดวิธีการ การผลิตการเกษตรได้อย่างมีเหตุผล ตามข้อมูลที่ได้จากการสำรวจสอดคล้องกับความต้องการ ทรัพยากร และปัจจัยการผลิต A122.02 78809
A122 จัดการการเกษตรด้วยความมีเหตุผล 2.3 ดำเนินการผลิตได้ตามที่กำหนด โดยยึดหลักความมีเหตุผล A122.03 78810
A123 จัดการการเกษตรด้วยการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี 3.1 กำหนดวิธีการการผลิตการเกษตรสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ได้สอดคล้องกับความต้องการ ทรัพยากรและปัจจัยการผลิตที่มี A123.01 78811
A123 จัดการการเกษตรด้วยการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี 3.2 ดำเนินการผลิตได้ตามแผนการผลิตที่กำหนดและยึดหลักความมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี A123.02 78812
A123 จัดการการเกษตรด้วยการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี 3.3 จดบันทึกข้อมูลการดำเนินงาน ผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรคและการแก้ไขรวมทั้งรายรับ-รายจ่าย A123.03 78813
A124 จัดการการเกษตรด้วยความรู้และคุณธรรม 4.1 ดำเนินงานโดยใช้ความรู้ทางวิชาการ A124.01 78814
A124 จัดการการเกษตรด้วยความรู้และคุณธรรม 4.2 ปฏิบัติงานอย่างถูกต้องตามกฎเกณฑ์/ข้อบังคับ มีคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ A124.02 78815

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทำการเกษตรด้วยความพอประมาณ



2. ทำการเกษตรด้วยความความมีเหตุผล



3. ทำการเกษตรด้วยการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี



4. ใช้ความรู้ในการดำเนินงาน และปฏิบัติงานตามกฎเกณฑ์ มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

วิธีการทำการเกษตรแต่ละอาชีพ เช่น การทำเกษตรผสมผสาน การเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยว การเลี้ยงสัตว์เชิงเดี่ยว การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



          (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



                    ผลประเมินจากการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค (Technical Interview) หรือการปฏิบัติงานในพื้นที่จริงโดยสังเกตความสามารถในการปฏิบัติงาน หรือหลักฐานแสดงประสบการณ์การทำการเกษตรในพื้นที่ด้วยความพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี



                    หลักฐานแสดงประสบการณ์การทำการเกษตรในพื้นที่ หนังสือรับรองการทำงาน การฝึกอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินการปฏิบัติงานในพื้นที่จริง



          (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



                    ผลการสอบจากแบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้ หรือหลักฐานจากหนังสือรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม หรือร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรตามตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้



          (ค) คำแนะนำในการประเมิน



                    การประเมินจะใช้แบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้ และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินการปฏิบัติงานในพื้นที่จริง หรือหลักฐานแสดงประสบการณ์การทำการเกษตรในพื้นที่ตามตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง



          (ง) วิธีการประเมิน



                    1. พิจารณาหลักฐานความรู้: ผลการสอบข้อเขียนจากแบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้



                    2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน: การสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินจากการปฏิบัติ งานในพื้นที่จริง


15. ขอบเขต (Range Statement)

          (ก) คำแนะนำ



                    N/A



          (ข) คำอธิบายรายละเอียด



                    1. การกำหนดวิธีการการผลิตทางการเกษตรได้ตามหลักความพอประมาณ พิจารณาถึงชนิดและปริมาณของพืชและสัตว์เพื่อการบริโภคในครัวเรือน ทรัพยากรและปัจจัยการผลิตที่มี



                    2. ความพอประมาณ หมายถึง



                              การวางแผนการผลิตตามกำลังความสามารถและทรัพยากรที่มี



                              การใช้ปัจจัยการผลิตจากทรัพยากรในครัวเรือนและท้องถิ่นเป็นหลัก



                              การลงทุนการผลิตด้วยความพอประมาณ



                    3. การวางแผนการผลิตด้วยความมีเหตุผล พิจารณาถึงชนิดและปริมาณของพืช และ/หรือสัตว์ที่จะผลิต ความต้องการผลผลิตของตลาด ทรัพยากร และปัจจัยการผลิตที่มี (ที่ดิน ทุน แรงงาน การจัดการ) แหล่งข้อมูล/ภูมิปัญญาท้องถิ่น/เทคโนโลยีที่สนับสนุนความรู้ในการผลิต



                    4. ความมีเหตุผล หมายถึง



                              การประยุกต์ความรู้ทำการเกษตรอย่างมีเหตุมีผล



                              การประยุกต์ความรู้ร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น



                              การผลิตสอดคล้องกับความต้องการของตลาด ทรัพยากร และปัจจัยการผลิตที่มี



                              การเลือกใช้เทคโนโลยีการผลิตอย่างมีเหตุผล



                              การเลือกใช้เทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชุมชน



                              การกำหนดเป้าหมายในการผลิตผลผลิตที่ได้คุณภาพ



                    5. การวางแผนการผลิตด้วยการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี พิจารณาถึงการใช้ปัจจัยการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ความต้องการผลผลิตของตลาด แหล่งข้อมูล/ภูมิปัญญาท้องถิ่น/เทคโนโลยีที่สนับสนุนความรู้ในการผลิต ความปลอดภัยในการทำงาน การลดความเสี่ยงในการดำเนินงาน การสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุผลพลอยได้จากการเกษตรในฟาร์ม การจดบันทึกข้อมูล และการจัดหาแหล่งทุน



                    6. ภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หมายถึง



                              การเลือกใช้ปัจจัยการผลิตและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ



                              การประยุกต์พลังงานหมุนเวียนร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นในการผลิตและแปรรูป



                              การปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงความปลอดภัย



                              การลดความเสี่ยงในการดำเนินงาน



                              การจดบันทึกข้อมูลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค และรายรับ-รายจ่าย



                              การสร้างมูลค่าเพิ่มในระบบการผลิต



                              การผลิตผลิตผลที่ได้มาตรฐาน



                              การผลิตผลิตผลทางการเกษตรที่หลากหลาย



                              การใช้กลยุทธ์ในการจัดจำหน่ายผลผลิตเกษตร



                              การจัดหาแหล่งทุนสำรองที่เหมาะสม



                    7. การจัดการการเกษตรด้วยความรู้และคุณธรรม ประกอบด้วย



                              เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วยความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการ กฎเกณฑ์/ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ยกตัวอย่างเช่น พระราชบัญญัติการสาธารณสุข มาตรฐานฟาร์ม พ.ศ. 2558  พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 มาตรฐานผลผลิตสัตว์โดยกรมปศุสัตว์ มาตรฐานผลผลิตสัตว์น้ำโดยกรมประมง มาตรฐานสินค้าเกษตรโดยกรมวิชาการเกษตร มาตรฐานกระบวนการผลิตมาตรฐาน GAP โดยกรมวิชาการเกษตร มาตรฐาน GAP ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โดยกรมปศุสัตว์ มาตรฐาน GAP โดยกรมประมง และอื่น ๆ โดยมีความรอบคอบในการนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ



                              เงื่อนไขคุณธรรม ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต ไม่โลภ ไม่ตระหนี่ และคำนึงถึงผลกระทบต่อตนเอง ชุมชนและสิ่งแวดล้อม


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          1. ประเมินจากแบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้ ซึ่งเป็นแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก



          2. ประเมินจากการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค หรือสังเกตความสามารถในการทำงานจากการปฏิบัติ งานในพื้นที่จริง



ยินดีต้อนรับ