หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการผสมผสานกระบวนการทางนิเวศวิทยาเพื่อการผลิต

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-LUHW-201A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการผสมผสานกระบวนการทางนิเวศวิทยาเพื่อการผลิต

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพเกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ด้านทฤษฎีใหม่



อาชีพเกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ด้านเกษตรผสมผสาน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับการจัดการผสมผสานกระบวนการทางนิเวศวิทยาเพื่อการผลิต โดยการจัดกระบวนการผลิตทางการเกษตรที่สอดคล้องกับระบบนิเวศ และการควบคุมศัตรูพืช/สัตว์โดยชีววิธี          ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการสำรวจรวบรวมข้อมูล วางแผน และดำเนินการเพื่อใช้ประโยชน์จากความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ สร้างสมดุลในระบบนิเวศท้องถิ่นหรือชุมชน เพื่อป้องกันการระบาดของโรคและแมลง สามารถควบคุมศัตรูพืชและสัตว์โดยชีววิธี

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          เกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A221 จัดการเกษตรที่สอดคล้องกับระบบนิเวศ 1.1 รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเกษตรที่สอดคล้องกับระบบนิเวศ A221.01 78832
A221 จัดการเกษตรที่สอดคล้องกับระบบนิเวศ 1.2 จัดทำแผนจัดการเกษตรได้สอดคล้องกับระบบนิเวศตามข้อมูลที่ได้จากการรวบรวม A221.02 78833
A221 จัดการเกษตรที่สอดคล้องกับระบบนิเวศ 1.3 ดำเนินการจัดการเกษตรที่สอดคล้องกับระบบนิเวศได้ตามแผนที่กำหนด A221.03 78834
A222 จัดการควบคุมศัตรูพืชและสัตว์โดยชีววิธี 2.1 รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการควบคุมศัตรูพืชและสัตว์โดยชีววิธี A222.01 78835
A222 จัดการควบคุมศัตรูพืชและสัตว์โดยชีววิธี 2.2 จัดทำแผนควบคุมศัตรูพืชและสัตว์โดยชีววิธีได้ตามข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ A222.02 78836
A222 จัดการควบคุมศัตรูพืชและสัตว์โดยชีววิธี 2.3 ดำเนินการควบคุมศัตรูพืชและสัตว์โดยชีววิธีได้ตามแผนที่กำหนด A222.03 78837

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การจัดการเกษตรที่สอดคล้องกับระบบนิเวศ



2. การจัดการควบคุมศัตรูพืชและสัตว์โดยชีววิธี

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ระบบนิเวศท้องถิ่น/ชุมชน และสมดุลระบบนิเวศ



2. การควบคุมศัตรูพืชและสัตว์โดยชีววิธี



3. ศัตรูธรรมชาติและวิธีการขยายพันธุ์ศัตรูธรรมชาติ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



          (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



                    หลักฐานที่แสดงประสบการณ์การจัดการผสมผสานกระบวนการทางนิเวศวิทยาเพื่อการผลิตทางการเกษตรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง



          (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



                    ผลการสอบจากแบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้ หรือหลักฐานจากหนังสือรับรองที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ ในการเข้ารับการฝึกอบรม หรือร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง การเกษตรที่สอดคล้องกับระบบนิเวศ การควบคุมศัตรูพืชและสัตว์โดยชีววิธี



          (ค) คำแนะนำในการประเมิน



                    การประเมินจะใช้แบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้  



          (ง) วิธีการประเมิน



                    พิจารณาหลักฐานความรู้: แบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

          (ก) คำแนะนำ



                    N/A



          (ข) คำอธิบายรายละเอียด



                    1. การจัดการเกษตรที่สอดคล้องกับระบบนิเวศ จะพิจารณาดิน น้ำ สภาพแวดล้อมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิตทางการเกษตร เครื่องจักรและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ วิธีการและกิจกรรมในการผลิตทางการเกษตร ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศในพื้นที่ทำการเกษตร



                    2. การจัดการเกษตรที่สอดคล้องกับระบบนิเวศ เช่น



                              การปรับปรุงดินและน้ำเพื่อการเกษตรโดยหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี



                              การเลือกชนิดและจำนวนของพืชที่และสัตว์ที่สอดคล้องกับระบบนิเวศท้องถิ่น



                              การจัดระบบการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์เพื่อหลีกเลี่ยงการระบาดของศัตรูพืช/สัตว์



                              การสร้างสมดุลในระบบนิเวศท้องถิ่น/ชุมชน



                              การกำจัดวัสดุเศษเหลือการเกษตร เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งที่อยู่ของแมลงและสัตว์ศัตรู



                    3. การจัดการควบคุมศัตรูพืชและสัตว์โดยชีววิธี คือการควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืชและสัตว์ด้วยกลไกควบคุมกันเองของสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติ ทำให้มีการอนุรักษ์แมลงที่มีประโยชน์หรือเลี้ยงขยายพันธุ์ศัตรูธรรมชาติไปด้วย จึงต้องพิจารณาชนิด ปริมาณ และชีพจักรของศัตรูพืช/สัตว์ในท้องถิ่น สถิติการแพร่ระบาดของศัตรูพืช/สัตว์ สภาพแวดล้อมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและการขยายพันธุ์ วิธีการและกิจกรรมทางชีววิทยาในการควบคุมศัตรูพืช/สัตว์



                    4. การควบคุมศัตรูพืชและสัตว์โดยชีววิธี เช่น



                              การปรับสภาพดิน น้ำและสิ่งแวดล้อม ไม่ให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของศัตรูพืช/สัตว์



                              การเลี้ยงขยายพันธุ์ศัตรูธรรมชาติ เช่น ตัวห้ำ ตัวเบียน เชื้อราบางชนิด



                              การปลูกพืชไล่หรือล่อแมลง



                              การใช้สมุนไพรหรือสารธรรมชาติควบคุมศัตรูพืช/สัตว์



                              การใช้ชีวภัณฑ์ในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช/สัตว์


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          1. ประเมินจากแบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้ ซึ่งเป็นแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก



          2. รายละเอียดเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือมาตรฐานการประเมินสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ



ยินดีต้อนรับ