หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์และสัตว์น้ำ แบบผสมผสาน

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-BPJI-200A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์และสัตว์น้ำ แบบผสมผสาน

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพเกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ด้านทฤษฎีใหม่



อาชีพเกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ด้านเกษตรผสมผสาน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับการจัดการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์และสัตว์น้ำ แบบผสมผสาน ประกอบด้วยการจัดระบบการปลูกพืชที่มีลักษณะเกื้อกูลกัน การจัดระบบการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์และสัตว์น้ำที่มีลักษณะเกื้อกูลกัน และการจัดการผลผลิตตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง          ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการสำรวจรวบรวมข้อมูล วางแผน และดำเนินการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ที่มีลักษณะเกื้อกูลกัน ระหว่างพืชกับพืช หรือพืชกับสัตว์และสัตว์น้ำ สามารถจัดระบบกิจกรรมการทำการเกษตรที่เกื้อกูล มีทักษะในการจดบันทึกข้อมูลการดำเนินงาน ผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรคและการแก้ไข รวมทั้งรายรับ-รายจ่าย ปฏิบัติงานอย่างถูกต้องตามกฎเกณฑ์/ข้อบังคับ และมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ เก็บเกี่ยวและดำเนินการหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตสอดคล้องกับแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          เกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A211 จัดระบบการเพาะปลูกพืชที่มีลักษณะเกื้อกูลกัน 1.1 รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเพาะปลูกพืชที่มีลักษณะเกื้อกูลกันที่ใช้ปฏิบัติได้ A211.01 78824
A211 จัดระบบการเพาะปลูกพืชที่มีลักษณะเกื้อกูลกัน 1.2 จัดทำแผนเพาะปลูกพืชให้มีลักษณะเกื้อกูลกันตามวัตถุประสงค์และข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ A211.02 78825
A211 จัดระบบการเพาะปลูกพืชที่มีลักษณะเกื้อกูลกัน 1.3 ดำเนินการเพาะปลูกพืชที่มีลักษณะเกื้อกูลกันได้ตามแผนที่กำหนด A211.03 78826
A212 จัดระบบการเพาะปลูกพืช เลี้ยงสัตว์และสัตว์น้ำที่มีลักษณะเกื้อกูลกัน 1.1 รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเพาะปลูกพืช เลี้ยงสัตว์และสัตว์น้ำ ที่มีลักษณะเกื้อกูลกัน A212.01 78827
A212 จัดระบบการเพาะปลูกพืช เลี้ยงสัตว์และสัตว์น้ำที่มีลักษณะเกื้อกูลกัน 1.2 จัดทำแผนเพาะปลูกพืช เลี้ยงสัตว์และสัตว์น้ำที่มีลักษณะเกื้อกูลกันได้ ตรงตามวัตถุประสงค์และข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ A212.02 78828
A212 จัดระบบการเพาะปลูกพืช เลี้ยงสัตว์และสัตว์น้ำที่มีลักษณะเกื้อกูลกัน 1.3 ดำเนินการเพาะปลูกพืช เลี้ยงสัตว์และสัตว์น้ำที่มีลักษณะเกื้อกูลกันได้ตามแผนที่กำหนด A212.03 78829
A213 จัดการผลผลิตตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง 1.1 เก็บเกี่ยวผลผลิตด้วยวิธีการและเทคโนโลยีได้เหมาะสมตามที่กำหนด A213.01 78830
A213 จัดการผลผลิตตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง 1.2 ดำเนินการหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ด้วยวิธีการและเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มมูลค่า A213.02 78831

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะการจัดการระบบกิจกรรมการเกษตรแบบผสมผสาน อาจจะเป็นการเพาะปลูกพืชหลายชนิดร่วมกัน หรือเพาะปลูกพืชร่วมกับเลี้ยงสัตว์รวมทั้งสัตว์น้ำด้วย โดยมีลักษณะที่เกื้อกูลกัน ให้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. วิธีเพาะปลูกพืช เลี้ยงสัตว์และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ



2. ลักษณะที่เกื้อกูลกันระหว่างพืช สัตว์ และสัตว์น้ำ ที่อยู่ร่วมกัน



3. ระบบกิจกรรมการเกษตรทั้งในเชิงพื้นที่และเวลา เช่น การปลูกพืชหมุนเวียน การปลูกพืชแซม การปลูกพืชร่วมกับเลี้ยงสัตว์/สัตว์น้ำ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



          (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



                    หลักฐานที่แสดงประสบการณ์การทำเกษตรผสมผสาน หรือการจัดระบบกิจกรรมการเกษตรที่เกื้อกูลกัน



          (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



                    ผลการสอบจากแบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้ หรือหลักฐานจากหนังสือรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม หรือร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเกษตรผสมผสาน ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้



          (ค) คำแนะนำในการประเมิน



                    การประเมินจะใช้แบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้  



          (ง) วิธีการประเมิน



                    พิจารณาหลักฐานความรู้: แบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

          (ก) คำแนะนำ



                    ควรมีการประเมินด้านคุณธรรมร่วมด้วย เช่น การปฏิบัติงานอย่างมีคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต อดทน พากเพียร รับผิดชอบ ใช้สติปัญญา และคำนึงถึงผลกระทบต่อตนเอง ชุมชนและสิ่งแวดล้อม



          (ข) คำอธิบายรายละเอียด



                    1. การจัดระบบการเพาะปลูกพืชที่มีลักษณะเกื้อกูลกัน หมายถึง การสำรวจรวบรวมข้อมูล วางแผน และดำเนินการเพาะปลูกพืชที่มีลักษณะเกื้อกูลกัน จะพิจารณาชนิดพืช ลักษณะที่เกื้อกูลกัน ระบบการทำการเกษตร เช่น การปลูกพืชแซม ปลูกพืชหมุนเวียน ปลูกพืชเชื่อมโยงต่อเนื่องในรอบการผลิต มีการจดบันทึกข้อมูลการดำเนินงาน โดยมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ และปฏิบัติงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย/ข้อบังคับ ตัวอย่างกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558, พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์, พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์ พ.ศ. 2558, พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557, พระราชบัญญัติการสาธารณสุข มาตรฐานฟาร์ม พ.ศ. 2558, มาตรฐานผลผลิตสัตว์โดยกรมปศุสัตว์, มาตรฐานผลผลิตสัตว์น้ำโดยกรมประมง, มาตรฐานสินค้าเกษตรโดยกรมวิชาการเกษตร, มาตรฐานกระบวนการผลิตมาตรฐาน GAP โดยกรมวิชาการเกษตร, มาตรฐาน GAP ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โดยกรมปศุสัตว์, มาตรฐาน GAP โดยกรมประมง เป็นต้น



                    2. การจัดระบบการเพาะปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์/สัตว์น้ำ ที่มีลักษณะเกื้อกูลกัน หมายถึงการสำรวจรวบรวมข้อมูล วางแผนและดำเนินการเพาะปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์/สัตว์น้ำ ที่มีลักษณะเกื้อกูลกัน จะพิจารณาชนิดพืช สัตว์/สัตว์น้ำ ลักษณะที่เกื้อกูลกัน และระบบการทำการเกษตร เช่น การทำนาร่วมกับไม้ผลบนร่องสวนและไม้ดอกไม้ประดับ การทำนาร่วมกับบ่อปลาและไม้ผลรอบบ่อปลา การเลี้ยงกุ้งร่วมกับปลามีการจดบันทึกข้อมูลการดำเนินงาน และปฏิบัติงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย/ข้อบังคับ มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ



                    3. การจัดการระบบกิจกรรมการเกษตรในเชิงพื้นที่ คือการปลูกพืชหลายชนิด หรือปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์พร้อมกันในพื้นที่เดียว เช่น การปลูกพืชตระกูลถั่วแซมข้าวโพดซึ่งเป็นพืชหลัก การเลี้ยงผึ้งในสวนผลไม้ การปลูกพืชอาหารสัตว์ในแถวไม้ผลไม้ยืนต้นแล้วเลี้ยงโคควบคู่ด้วย ส่วนการจัดระบบกิจกรรมการเกษตรในเชิงเวลาคือ การปลูกพืชหลายชนิดแต่หมุนเวียนกันไปทีละชนิดตามช่วงเวลา



                    4. การจัดการผลผลิตตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่



                              การเก็บเกี่ยวผลผลิตที่อายุและวิธีการที่เหมาะสม



                              การรักษาคุณภาพผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว



                              การสร้างคุณลักษณะเฉพาะของผลผลิต



                              การแปรรูปผลผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม



                              การจัดช่องทางจำหน่ายที่หลากหลาย



                              การสร้างเครื่องหมายการค้า/ตราสินค้า และออกแบบบรรจุภัณฑ์



                              การใช้กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อจัดจำหน่าย


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          1. ประเมินจากแบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้ ซึ่งเป็นแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก



          2. รายละเอียดเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือมาตรฐานการประเมินสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ



ยินดีต้อนรับ