หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประสานเครือข่ายภายนอกเพื่อการพัฒนาชุมชน

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-BQSA-221A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประสานเครือข่ายภายนอกเพื่อการพัฒนาชุมชน

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพเกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ด้านทฤษฎีใหม่



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับการประสานเครือข่ายภายนอกเพื่อการพัฒนาชุมชน ประกอบด้วยการประสานงานหน่วยงานรัฐ/หน่วยงานภายนอก และการพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชนร่วมกับหน่วยงานรัฐ/หน่วยงานภายนอก          ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการวางแผนและดำเนินการประสานงานหน่วยงานรัฐ/หน่วยงานภายนอก สามารถวางแผนและดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชนร่วมกับหน่วยงานรัฐ/หน่วยงานภายนอกด้วย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          อาชีพเกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A641 ประสานงานหน่วยงานรัฐ/หน่วยงานภายนอก 1.1 จัดทำแผนประสานงานหน่วยงานรัฐ/หน่วยงานภายนอกตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ A641.01 78943
A641 ประสานงานหน่วยงานรัฐ/หน่วยงานภายนอก 1.2 ดำเนินการประสานงานหน่วยงานรัฐ/หน่วยงานภายนอกได้ตามที่กำหนด A641.02 78944
A642 พัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชนร่วมกับหน่วยงานรัฐ/หน่วยงานภายนอก 2.1 จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชนร่วมกับหน่วยงานภายนอกตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ A642.01 78945
A642 พัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชนร่วมกับหน่วยงานรัฐ/หน่วยงานภายนอก 2.2 ดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชนร่วมกับหน่วยงานภายนอกได้ตามที่กำหนด A642.02 78946

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

การประสานงานหน่วยงานรัฐ/หน่วยงานภายนอก

(ข) ความต้องการด้านความรู้

หลักการและแนวปฏิบัติการพัฒนาคุณภาพชีวิต


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



          (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



                    ผลการประเมินจากแบบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค หรือหลักฐานที่แสดงประสบการณ์การประสานงานกับหน่วยงานรัฐ/หน่วยงานภายนอก หรือแสดงประสบการณ์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ในชุมชนร่วมกับหน่วยงานรัฐ/หน่วยงานภายนอก



                    หลักฐานแสดงประสบการณ์ หนังสือรับรองการทำงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค



          (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



                    เอกสาร รายงาน หรือหลักฐานที่แสดงผลการประสานงานกับหน่วยงานรัฐ/หน่วยงานภายนอก หรือผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชนร่วมกับหน่วยงานรัฐ/หน่วยงานภายนอก



          (ค) คำแนะนำในการประเมิน



                    การประเมินจะใช้แบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้ และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินการปฏิบัติงานในพื้นที่จริง หรือหลักฐานแสดงประสบการณ์การประสานงานหน่วยงานรัฐ/หน่วยงานภายนอก และพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชนร่วมกับหน่วยงานรัฐ/หน่วยงานภายนอก ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ด้านทฤษฎีใหม่  ขั้นที่ 3



          (ง) วิธีการประเมิน



                    1. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน: การสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินจากการปฏิบัติในพื้นที่จริง



                    2. พิจารณาหลักฐานความรู้: เอกสาร รายงานหรือหลักฐานที่เป็นผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

          (ก) คำแนะนำ



                    N/A



          (ข) คำอธิบายรายละเอียด



                    1. การประสานงานหน่วยงานรัฐ/หน่วยงานภายนอกเพื่อการพัฒนาชุมชน เช่น เพื่อจัดตั้งสถานีอนามัย จัดตั้งและบริการร้านสหกรณ์



                    2. การพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชนร่วมกับหน่วยงานรัฐ/หน่วยงานภายนอก เช่น จัดตั้งกองทุนกู้ยืมเพื่อประโยชน์ในกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต กองทุนเพื่อการศึกษา การสร้างหรือบำรุงวัดและศาสนา สาธารณประโยชน์ สิ่งอำนวยความสะดวก ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมในชุมชน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          1. ประเมินจากแบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้ ซึ่งเป็นแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก



          2. ประเมินจากการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค หรือการปฏิบัติงานในพื้นที่จริง



          3. รายละเอียดเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือมาตรฐานการประเมินสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ



ยินดีต้อนรับ