หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการการเกษตรที่พึ่งพาตนเอง

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-ODLO-198A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการการเกษตรที่พึ่งพาตนเอง

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพเกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ด้านทฤษฎีใหม่



          อาชีพเกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ด้านเกษตรผสมผสาน



          อาชีพเกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ด้านพืชเชิงเดี่ยว



          อาชีพเกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ด้านสัตว์เชิงเดี่ยว



          อาชีพเกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ด้านสัตว์น้ำ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับจัดการการเกษตรที่พึ่งพาตนเอง ประกอบด้วยการจัดการปัจจัยการผลิต และการจัดการวัสดุผลพลอยได้จากการเกษตร          ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการวางแผนและดำเนินการจัดการปัจจัยการผลิต เช่น เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย สารชีวภาพ สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช/สัตว์ พ่อแม่พันธุ์และลูกพันธุ์ อาหารสัตว์ อาหารเสริม ยารักษาโรคและเวชภัณฑ์ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรทางการเกษตร  และสามารถจัดการวัสดุผลพลอยได้จากการเกษตรเพื่อนำมาหมุนเวียนใช้ให้เป็นประโยชน์ ทั้งนี้โดยยึดหลักการพึ่งพาตนเอง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          เกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A131 จัดการปัจจัยการผลิตทางการเกษตร 1.1 กำหนดวิธีการจัดการปัจจัยการผลิตได้สอดคล้องกับความจำเป็นและความต้องการ โดยยึดหลักการพึ่งพาตนเอง A131.01 78816
A131 จัดการปัจจัยการผลิตทางการเกษตร 1.2 ดำเนินการจัดการปัจจัยการผลิตได้ตามที่กำหนด A131.02 78817
A132 จัดการวัสดุผลพลอยได้จากการเกษตร 2.1 กำหนดวิธีการจัดการวัสดุผลพลอยได้จากการเกษตรมาใช้ให้เป็นประโยชน์ โดยยึดหลักการพึ่งพาตนเอง A132.01 78818
A132 จัดการวัสดุผลพลอยได้จากการเกษตร 2.2 ดำเนินการจัดการวัสดุผลพลอยได้ตามที่กำหนด A132.02 78819

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การจัดการปัจจัยการผลิตทางการเกษตร



2. การจัดการวัสดุผลพลอยได้จากการเกษตร

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ปัจจัยการผลิตทางการเกษตร



2. วิธีการจัดการที่พึ่งพาตนเองในการใช้ปัจจัยการผลิตและทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



          (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



                    ผลประเมินจากการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค (Technical Interview) หรือการปฏิบัติงานในพื้นที่จริงโดยสังเกตความสามารถในการปฏิบัติงาน หรือหลักฐานแสดงประสบการณ์การจัดการปัจจัยการผลิต และการจัดการวัสดุผลพลอยได้จากการเกษตรด้วยการพึ่งพาตนเอง



                    หลักฐานแสดงประสบการณ์การทำการเกษตรในพื้นที่ หนังสือรับรองการทำงาน การฝึกอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินการปฏิบัติงานในพื้นที่จริง



          (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



                    ผลการสอบจากแบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้ หรือหลักฐานจากหนังสือรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม หรือร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง การจัดการปัจจัยการผลิต และการจัดการวัสดุผลพลอยได้จากการเกษตรด้วยการพึ่งพาตนเอง ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้



          (ค) คำแนะนำในการประเมิน



                    การประเมินจะใช้แบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้ และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินการปฏิบัติงานในพื้นที่จริง หรือหลักฐานแสดงประสบการณ์การทำการเกษตรในพื้นที่ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง



          (ง) วิธีการประเมิน



                    1. พิจารณาหลักฐานความรู้: ผลการสอบข้อเขียนจากแบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้



                    2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน: การสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินจากการปฏิบัติ งานในพื้นที่จริง


15. ขอบเขต (Range Statement)

          (ก) คำแนะนำ



                    N/A



          (ข) คำอธิบายรายละเอียด



                    1. ปัจจัยการผลิตทางการเกษตร หมายถึง สิ่งที่ใช้ในการทำการเกษตร ซึ่งได้แก่ เมล็ดพันธุ์ หรือต้นพันธุ์ ปุ๋ยอินทรีย์ สารชีวภาพ สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช/สัตว์ สารชีวภัณฑ์ พ่อแม่พันธุ์และลูกพันธุ์ น้ำและอาหารสัตว์ อาหารเสริม ยารักษาโรคและเวชภัณฑ์ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรทางการเกษตร



                    2. การจัดการปัจจัยการผลิตที่พึ่งพาตนเอง หมายถึงการผลิตปัจจัยการผลิตได้ด้วยตนเอง ทำให้พึ่งพาภายนอกน้อยลง เช่น



                              การผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากมูลสัตว์ที่เลี้ยง



                              การผลิตปุ๋ยพืชสดจากการปลูกพืชตระกูลถั่วแล้วไถกลบ



                              การผลิตสารชีวภาพเพื่อบำรุงดิน



                              การผลิตสารชีวภาพเพื่อป้องกันและกำจัดศัตรูพืช/สัตว์



                              การขยายพันธุ์พืชและลูกพันธุ์สัตว์ไว้สำหรับปลูกหรือเลี้ยงต่อไป



                              การใช้พืชสมุนไพรในการป้องกันและกำจัดแมลง



                    3. การจัดการวัสดุผลพลอยได้จากการเกษตร เป็นการพึ่งพาตนเองในการนำวัสดุผลพลอยได้มาใช้ประโยชน์เป็นปัจจัยการผลิตหรือสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น



                              การสร้างมูลค่าเพิ่มจากสมุนไพรหรือสารธรรมชาติ



                              การสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัชพืชในพื้นที่



                              การใช้ประโยชน์จากห่วงโซ่อาหาร



                              การใช้จุลินทรีย์ EM ทำปุ๋ยชีวภาพ ช่วยบำรุงต้นพืช/ กำจัดกลิ่นและแมลงในฟาร์มปศุสัตว์/ ใช้ผสมอาหารสัตว์เพื่อรักษาโรคทางเดินอาหาร/ หมักหญ้าแห้ง ฟางแห้ง เป็นอาหารสัตว์/ สร้างอาหารในน้ำก่อนปล่อยสัตว์น้ำลงสระ/ ใช้บำบัดน้ำเสียในบ่อเลี้ยง



                              การทำน้ำส้มควันไม้ ใช้ควบคุมแมลงศัตรูพืชและป้องกันเชื้อรา/ เร่งการเจริญเติบโตของพืช/ ใช้ลดกลิ่นและแมลงในฟาร์มปศุสัตว์/ ใช้ผสมอาหารสัตว์เพื่อช่วยย่อยอาหารและป้องกันโรคท้องเสีย


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          1. ประเมินจากแบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้ ซึ่งเป็นแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก



          2. ประเมินจากการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค หรือสังเกตความสามารถในการทำงานจากการปฏิบัติ งานในพื้นที่จริง



          3. รายละเอียดเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือมาตรฐานการประเมินสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ



ยินดีต้อนรับ