หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมงานซ่อมบำรุงคันทางและลาดดิน

สาขาวิชาชีพระบบขนส่งทางราง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ 21006

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมงานซ่อมบำรุงคันทางและลาดดิน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          3123   ช่างเทคนิคซ่อมบำรุงโครงสร้างรองรับทางรถไฟ ชั้น 4 (Track Supporting Structure Maintenance Skilled Technician IV)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับความรู้และทักษะที่ต้องการในการควบคุมการปฏิบัติงานและตรวจสอบหลังการซ่อมบำรุงคันทางและลาดดินให้เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ และได้มาตรฐานความปลอดภัยขององค์กร รวมทั้งสามารถประสานงานกับฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และสื่อสาร สั่งการ กำกับดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติงานตามแผนที่กำหนดไว้ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          3123 หัวหน้าคุมงานด้านการก่อสร้าง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
          N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
21006.1 ประสานงานและกำกับดูแลการจัดเตรียมสภาพพื้นที่ปฏิบัติงานซ่อมบำรุงคันทางและลาดดิน 1) ประสานการปิดพื้นที่เพื่อเข้าปฏิบัติงานซ่อมบำรุงคันทางและลาดดินได้ตามกระบวนการขององค์กร 21006.1.01 145733
21006.1 ประสานงานและกำกับดูแลการจัดเตรียมสภาพพื้นที่ปฏิบัติงานซ่อมบำรุงคันทางและลาดดิน 2) ระบุพิกัดตำแหน่ง/สถานที่ที่จะเข้าดำเนินการซ่อมบำรุงได้ถูกต้องตามใบสั่งงาน 21006.1.02 145734
21006.1 ประสานงานและกำกับดูแลการจัดเตรียมสภาพพื้นที่ปฏิบัติงานซ่อมบำรุงคันทางและลาดดิน 3) ควบคุมการติดตั้งป้ายเตือนและสิ่งป้องกันอันตราย 21006.1.03 145735
21006.2 ตรวจสอบคุณภาพวัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมบำรุงคันทางและลาดดิน 1) บอกข้อกำหนดของเครื่องมือและวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในงานซ่อมบำรุงคันทางและลาดดินตามมาตรฐานการซ่อมบำรุงทางรถไฟได้ 21006.2.01 145736
21006.2 ตรวจสอบคุณภาพวัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมบำรุงคันทางและลาดดิน 2) อ่านผลการทดสอบ (Test Result)/คุณสมบัติจำเพาะ (Specification) ของ เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานซ่อมบำรุงคันทางและลาดดินในหน้างานได้ 21006.2.02 145737
21006.3 ควบคุมการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงคันทางและลาดดิน 1) ควบคุมการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงคันทางและลาดดินให้เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้และได้มาตรฐานความปลอดภัย 21006.3.01 145738
21006.3 ควบคุมการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงคันทางและลาดดิน 2) ตัดสินใจ สั่งการและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าระหว่างปฏิบัติงานซ่อมบำรุงคันทางและลาดดินได้อย่างทันท่วงที 21006.3.02 145739
21006.3 ควบคุมการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงคันทางและลาดดิน 3) ควบคุมการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงคันทางและลาดดินในสภาวะฉุกเฉินได้ 21006.3.03 145740
21006.3 ควบคุมการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงคันทางและลาดดิน 4) ตรวจสอบคุณภาพของงานซ่อมบำรุงคันทางและลาดดินให้ได้ตามมาตรฐาน 21006.3.04 145741
21006.4 ตรวจติดตาม ประเมินผล และรายงานความก้าวหน้าต่อผู้บังคับบัญชา 1) ประเมินความก้าวหน้าเชิงปริมาณของงานซ่อมบำรุงคันทางและลาดดินได้ 21006.4.01 145742
21006.4 ตรวจติดตาม ประเมินผล และรายงานความก้าวหน้าต่อผู้บังคับบัญชา 2) วิเคราะห์ข้อมูลจากบันทึกผลการซ่อมบำรุงคันทางและลาดดินได้ 21006.4.02 145743
21006.4 ตรวจติดตาม ประเมินผล และรายงานความก้าวหน้าต่อผู้บังคับบัญชา 3) จัดทำรายงานผลการซ่อมบำรุงได้ตามรูปแบบขององค์กร 21006.4.03 145744
21006.4 ตรวจติดตาม ประเมินผล และรายงานความก้าวหน้าต่อผู้บังคับบัญชา 4) นำเสนอผลการซ่อมบำรุงคันทางและลาดดินต่อผู้บังคับบัญชา 21006.4.04 145745

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

00000   ความปลอดภัยในการทำงานขั้นพื้นฐาน  



00001   ปฏิบัติงานกับไฟฟ้าแรงสูงบนทางวิ่งรถไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย



00002   ปฏิบัติงานในที่สูงตามหลักความปลอดภัย



00003   ปฏิบัติงานในที่อับอากาศตามหลักความปลอดภัย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ  

  2. ทักษะการปฏิบัติงานตามคู่มือควบคุมการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงคันทางและลาดดิน

  3. ทักษะการประสานงานในระหว่างการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ

  4. ทักษะการทำงานอย่างเป็นระบบ

  5. ทักษะการแก้ไขปัญหา/เหตุการณ์เฉพาะหน้า

  6. ทักษะการควบคุมงาน

  7. ทักษะการสอนงาน

  8. ทักษะการประเมินปริมาณงาน

  9. ทักษะการประเมินความผิดปกติของคันทางและลาดดิน

  10. ทักษะการเลือกและใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

  11. ทักษะการบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ในการซ่อมบำรุงทาง

  12. ทักษะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อจัดทำรายงานและเอกสารนำเสนอ

  13. ทักษะการนำเสนองาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงทางรถไฟ

  2. เครื่องมือและเครื่องจักรกลซ่อมบำรุงทางรถไฟ

  3. การควบคุมงานซ่อมบำรุงโครงสร้างทางรถไฟ

  4. ข้อกำหนดด้านมาตรฐานคุณภาพวัสดุงานซ่อมบำรุงคันทางและลาดดิน

  5. เทคนิคการซ่อมบำรุงคันทางและลาดดิน

  6. การวางแผนการซ่อมบำรุงตามวาระ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

  2. แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ

  3. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

  4. หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ  

  5. รูปถ่ายผลงานก่อนและหลังการปฏิบัติงานซ่อมบำรุง



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. ใบรับรองผลการศึกษา หรือ

  2. ใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมด้านเทคนิคการซ่อมบำรุงทางรถไฟ หรือ

  3. ใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมด้านเทคนิคการซ่อมบำรุงคันทางและลาดดิน หรือ

  4. ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมงานก่อสร้าง/ซ่อมบำรุงทางรถไฟ



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          ผู้ที่เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องแสดงหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ ที่มีประเด็นและจุดสังเกตของหลักฐานสอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



วิธีการประเมิน




  1. การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น

  2. การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ส่วนการประเมินทักษะการปฏิบัติงานนั้น กำหนดให้ทำการสัมภาษณ์เกี่ยวกับวิธีการและขั้นตอนในการปฏิบัติงาน ควบคู่ไปกับการพิจารณาแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ




  1. สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีทักษะในการควบคุมการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงคันทางและลาดดิน โดยต้องสามารถควบคุมและสั่งการในเบื้องต้นให้เป็นไปตามขั้นตอนการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในการปฏิบัติงาน สอนงานช่างเทคนิคได้ ตรวจสอบความเรียบร้อยในการปฏิบัติงาน รวมทั้งจัดทำรายงานผลการซ่อมบำรุงคันทางและลาดดินทางรถไฟ เพื่อเสนอต่อผู้บังคับบัญชาได้อย่างถูกต้อง  นอกจากนี้ ผู้เข้ารับการประเมินควรเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ มาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

  2. สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. การชำรุดของคันทางและลาดดินอาจเกิดจาก:

    • ถูกน้ำฝนกัดเซาะพังทลาย

    • สภาพของเนื้อดินคันทางไม่เหมาะสม เช่น ดินเหนียวจะอุ้มน้ำและอ่อนตัวมาก ดินร่วนซุยน้ำกัดเซาะได้ง่าย เป็นต้น

    • สภาพการระบายน้ำของดินคันทางไม่ดี

    • ลาดทางชันเกินไป หรือบ่าทางแคบเกินไป

    • ระดับน้ำใต้ดินสูง



  2. ขอบเขตการควบคุมงานซ่อมบำรุงคันทางและลาดดิน:

    • ประสานงานและกำกับดูแลการเตรียมสภาพพื้นที่ปฏิบัติงาน

    • ควบคุมการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงคันทางและลาดดิน ทั้งในวาระปกติและวาระฉุกเฉิน

    • ตัดสินใจ สั่งการ และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงคันทางและลาดดิน

    • ประเมินคุณภาพของงานซ่อมบำรุงคันทางและลาดดิน

    • วิเคราะห์ข้อมูล จัดทำรายงาน และนำเสนอผลการปฏิบัติงานต่อผู้บังคับบัญชา



  3. เครื่องมือที่ต้องใช้:

    • Manual Tools

    • Small Power Tools

    • เครื่องมือในงานสำรวจ



  4. วิธีการสื่อสารอาจรวมถึง:

    • การใช้วิทยุสื่อสาร/โทรศัพท์มือถือ

    • การให้สัญญาณมือ



  5. การแจ้งข้อมูล:

    • ผ่านระบบอิเล็คทรอนิกส์

    • เขียนลงในแบบฟอร์ม/เอกสาร/แผนงาน

    • สื่อสารด้วยปากเปล่าแบบ Face-to-face



  6. เครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลที่ต้องใช้ในระหว่างการปฏิบัติงาน: 

    • เสื้อกั๊กความปลอดภัยสะท้อนแสง

    • อุปกรณ์ป้องกันเสียง

    • อุปกรณ์ป้องกันลำตัว

    • อุปกรณ์ป้องกันใบหน้าและดวงตา อาทิ แว่นตานิรภัย, หน้ากากนิรภัย

    • หมวกนิรภัย

    • ถุงมือ

    • รองเท้านิรภัย

    • วิทยุสื่อสาร/โทรศัพท์มือถือ

    • ไฟฉาย

    • ป้ายสัญญานต่างๆ

    • ธงสัญญาณ: สีเขียว, สีแดง



  7. ข้อมูล/เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง:

    • คู่มือการปฏิบัติงาน นโยบาย และกระบวนการปฏิบัติงานขององค์กร/สถานประกอบการ

    • คู่มือนายตรวจทาง

    • สมุดบันทึก/เก็บข้อมูล

    • ขั้นตอนการปฏิบัติงานในภาคสนาม

    • คำแนะนำด้านเทคนิค

    • คู่มือการผลิต หรือคำแนะนำการใช้อุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน และคู่มือการใช้งาน 

    • คู่มือความปลอดภัยในการทำงาน 

    • แผน QA /การควบคุมข้อมูลและเอกสาร 

    • เงื่อนไข/สัญญา/ข้อตกลงในการปฏิบัติงาน

    • ตารางการเดินรถ




16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
          N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
          N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1. เครื่องมือประเมินการประสานงานและกำกับดูแลการเตรียมพื้นที่ปฏิบัติงานซ่อมบำรุงคันทางและลาดดิน

    • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

    • สัมภาษณ์



  2. เครื่องมือประเมินการตรวจสอบคุณภาพวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือที่ใช้ในการซ่อมบำรุงคันทางและลาดดิน

    • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

    • สัมภาษณ์



  3. เครื่องมือประเมินการควบคุมการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงคันทางและลาดดิน

    • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

    • สัมภาษณ์

    • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



  4. เครื่องมือประเมินการตรวจติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการปฏิบัติงานต่อผู้บังคับบัญชา

    • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

    • สัมภาษณ์

    • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)





ยินดีต้อนรับ