หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดขนาดของเครื่องฉีดพลาสติก

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MLD-MPT-3-003ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดขนาดของเครื่องฉีดพลาสติก

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และมีความสามารถในการศึกษาระบบการทำงานของแม่พิมพ์ ข้อกำหนดตัวแปรต่างๆ ที่จำเป็นในการออกแบบแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก รวมถึงการเตรียมข้อมูลเบื้องต้นในการกำหนดขนาดของเครื่องฉีด มีทักษะในการกำหนดขนาดของเครื่องฉีดพลาสติกได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
101P03.1 เตรียมข้อมูลในการกำหนดขนาดของเครื่องฉีดพลาสติก 1.1 เตรียมแบบชิ้นงานและแบบแม่พิมพ์ 101P03.1.01 4345
101P03.1 เตรียมข้อมูลในการกำหนดขนาดของเครื่องฉีดพลาสติก 1.2 ศึกษาระบบการทำงานของแม่พิมพ์ 101P03.1.02 4346
101P03.1 เตรียมข้อมูลในการกำหนดขนาดของเครื่องฉีดพลาสติก 1.3 ศึกษาข้อกำหนดตัวแปรต่างๆที่จำเป็นในการออกแบบแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก 101P03.1.03 4347
101P03.2 กำหนดขนาดเครื่องฉีดพลาสติก 2.1 คำนวณขนาดแรงปิดแม่พิมพ์(Clamping Force) 101P03.2.01 4348
101P03.2 กำหนดขนาดเครื่องฉีดพลาสติก 2.2 คำนวณปริมาณการฉีดต่อครั้ง(Shot Weight) 101P03.2.02 4349

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถอ่านแบบแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก

2. สามารถเตรียมแบบชิ้นงานและแบบแม่พิมพ์


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ด้านโครงสร้างแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก

2. ความรู้ด้านชิ้นส่วนมาตรฐาน

3. ความรู้ด้านสมบัติพลาสติก

4. ความรู้ด้านเครื่องฉีดพลาสติก

5. ความรู้ด้านระบบการทำงานของแม่พิมพ์

6. ความรู้ด้านการคำนวณขนาดแรงปิดแม่พิมพ์

7. ความรู้ด้านการคำนวณปริมาณการฉีดต่อครั้ง

8. ความรู้ในการเตรียมข้อมูล spec เครื่องฉีด



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดเป็นข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria)  และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

   (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     1. แบบบันทึกรายการผลจากการสังเกต

   (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     1. อธิบายสมบัติพลาสติก

     2. อธิบายหลักการเลือกเครื่องฉีดพลาสติก

     3. อธิบายระบบการทำงานของแม่พิมพ์

     4. อธิบายหลักการเลือกการคำนวณขนาดแรงปิดแม่พิมพ์

     5. อธิบายหลักการเลือกการคำนวณปริมาณการฉีดต่อครั้ง

     6. ใบบันทึกผลการสอบข้อเขียนหรือแนวคำถามที่ใช้ประเมิน

   (ค) คำแนะนำในการประเมิน

       ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดขนาดเครื่องฉีดพลาสติก โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

   (ง) วิธีการประเมิน

     1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

     2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

    1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลต่างๆ จากผู้เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนสมบูรณ์

    2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องอ่านแบบภาพชิ้นงานและแบบแม่พิมพ์ 2 มิติ หรือ 3 มิติ

    3. ผู้เข้ารับการประเมินต้องเลือกขนาดเครื่องฉีดให้เหมาะสมกับ ขนาดชิ้นงาน แม่พิมพ์ และวัสดุที่ใช้ฉีด

    4. เลือกใช้เครื่องฉีดที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า เช่น ใช้เครื่องฉีดแบบระบบไฟฟ้าสำหรับงานบรรจุภัณฑ์อาหาร เป็นต้น

   (ข) คำอธิบายรายละเอียด

     1. เครื่องฉีดพลาสติก ในสมรรถนะนี้ครอบคลุมทั้งเครื่องฉีดพลาสติกแบบไฮดรอลิกและแบบไฟฟ้า

     2. spec เครื่องฉีด หมายถึง ระยะห่างระหว่างเสาด้านในของเครื่องฉีด (Tie bar) ระยะเปิดแม่พิมพ์สูงสุด (Day Light) รัศมีหัวฉีดและขนาดของรูหัวฉีด (Nozzle Radius and Hole Diameter) และ ความหนาต่ำสุด-สูงสุดของแม่พิมพ์



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A 

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A 

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

      เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะ ได้แก่

     1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

     2. แนวคำถามข้อสอบที่ใช้ในการประเมิน




ยินดีต้อนรับ