หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดเตรียมอะไหล่สำหรับงานซ่อมบำรุงระบบอาณัติสัญญาณ

สาขาวิชาชีพระบบขนส่งทางราง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ 20206

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดเตรียมอะไหล่สำหรับงานซ่อมบำรุงระบบอาณัติสัญญาณ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          ผู้วางแผนงานซ่อมบำรุงระบบอาณัติสัญญาน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          เข้าใจภาพรวมการทำงานของการวางแผนจัดเตรียมอะไหล่สำหรับงานซ่อมบำรุง เป็นอย่างดี สามารถปฏิบัติงานตามขั้นตอนของคู่มือปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง ใช้เครื่องมือหรือเครื่องวัดต่างๆที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและสามารถสอนงานช่างเทคนิคได้ รวมทั้งวิเคราะห์อาการ สืบหาสาเหตุและแก้ไขปัญหาของระบบอาณัติสัญญาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          อุตสาหกรรมระบบราง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
          N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20206.1 กำหนดจำนวนอะไหล่และจัดเตรียมอะไหล่ให้เหมาะสมกับการใช้งาน 1.1 กำหนดจำนวนของชิ้นส่วนอะไหล่แต่ละประเภทได้ถูกต้องทันความต้องการใช้งาน 20206.1.01 145382
20206.1 กำหนดจำนวนอะไหล่และจัดเตรียมอะไหล่ให้เหมาะสมกับการใช้งาน 1.2 กำหนดสถานที่จัดเก็บได้ถูกต้อง 20206.1.02 145383
20206.2 ควบคุมและติดตามอะไหล่ที่มีปริมาณต่ำกว่ากำหนด 2.1 รู้จำนวนชิ้นส่วนอะไหล่ที่เก็บแต่ละสถานที่ 20206.2.01 145384
20206.2 ควบคุมและติดตามอะไหล่ที่มีปริมาณต่ำกว่ากำหนด 2.2 ใช้คำสั่งในการตรวจสอบสถานะของอุปกรณ์ได้ 20206.2.02 145385
20206.2 ควบคุมและติดตามอะไหล่ที่มีปริมาณต่ำกว่ากำหนด 2.3 ใช้ระบบคอมพิวเตอร์สำหรับบริหารจัดการอะไหล่ได้ 20206.2.03 145868

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

          หน่วยสมรรถนะร่วมรหัส 00000 ความปลอดภันในการทำงานขั้นพื้นฐาน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

          ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ solfware ในการใช้งานระบบที่เกี่ยวข้องในหน่วยสมรรถนะ จัดเตรียมอะไหล่สำหรับงานซ่อมบำรุงระบบอาณัติสัญญาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

          ความรู้เรื่องส่วนประกอบของอุปกรณ์ และอะไหล่ที่ใช้งาน เช่น Log book, Check sheet เป็นต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



          แบบฟอร์มตรวจสอบสภาพรถก่อนเข้าสู่การให้บริการ                                               



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



          ประวัติการฝึกอบรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้                                         



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          การประเมินหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ โดยมีประเด็นและจุดสังเกตุของหลักฐานสอดคล้องกับรายละเอียดในหน่วยสมรรถนะนี้                                                                 



วิธีการประเมิน



          ผู้ประเมินจะต้องทำการตรวจสอบและพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ที่ระบุมาโดยต้องตรงกับความต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้หรือไม่


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



          วางแผนจัดเตรียมอะไหล่สำหรับงานซ่อมบำรุงอุปกรณ์ในระบบอาณัติสัญญาน โดยคำนึงถึงอายุการใช้งาน สถานที่ และจำนวนอุปกรณ์ทั้งหมดในระบบอาณัติสัญญาน เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดของจำนวนอะไหล่ต่อปริมาณการใช้งาน                                                  



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. จำนวนอุปกรณ์ทั้งหมดในระบบอาณัติสัญญาน                                                       

  2. อายุหรือ อัตราการใช้งานของอะไหล่ของอุปกรณ์ในระบบอาณัติสัญญาน                           

  3. สถานที่ใช้งานประกอบด้วย รถไฟฟ้า ทางวิ่ง สถานี และศูนย์ควบคุมการเดินรถ เป็นต้น          

  4. คู่มืออุปกรณ์ Data Sheet และการบริหารอะไหล่                                                   

  5. ระบบคอมพิวเตอร์ solfware สำหรับบริหารจัดการอะไหล่                                         

  6. ระยะเวลาในการสั่งซื้ออะไหล่


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
          N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
          N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้เลือกใช้การประเมินจากวิธีดังต่อไปนี้




  1. การสังเกตการปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการในการปฏิบัติงานจริง                              

  2. การสังเกตการปฏิบัติงานในการจำลองสถานการณ์ขึ้นมา                                            

  3. การใช้วิธีการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ