หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

แก้ไขปัญหาขบวนรถไฟความเร็วสูงที่ขัดข้อง

สาขาวิชาชีพระบบขนส่งทางราง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ 10304

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ แก้ไขปัญหาขบวนรถไฟความเร็วสูงที่ขัดข้อง

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          ผู้ควบคุมรถไฟความเร็วสูง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับขบวนรถไฟฟ้าจนทำให้ไม่สามารถให้บริการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ หรือ ไม่อาจให้บริการต่อไปได้อย่างสิ้นเชิงและจำเป็นต้องนำออกจากการให้บริการรวมทั้งวิธีการอพยพผู้โดยสารออกจากขบวนรถไฟฟ้าที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ให้บริการต่อไปได้ อันเนื่องมาจากปัจจัยต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น ขบวนรถไฟฟ้าขัดข้อง, ระบบไฟฟ้าขับเคลื่อนขัดข้องฯลฯ        

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          อุตสาหกรรมระบบราง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
          N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10304.1 นำรถไฟฟ้าขัดข้องออกจากการให้บริการ 1.1 ปฏิบัติตามขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อนำรถไฟความเร็วสูงขัดข้องออกจากการให้บริการ 10304.1.01 145209
10304.2 แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น 2.1 ปฏิบัติตามคู่มือได้อย่างถูกต้อง 10304.2.01 145210
10304.2 แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น 2.2 ปฏิบัติตามขั้นตอนการปฏิบัติการ (Operations Procedure) ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย 10304.2.02 145211
10304.3 อพยพผู้โดยสารออกจากรถไฟความเร็วสูง 3.1 ใช้งานอุปกรณ์อพยพผู้โดยสารบนรถไฟความเร็วสูงได้อย่างถูกต้องปลอดภัย 10304.3.01 145212
10304.3 อพยพผู้โดยสารออกจากรถไฟความเร็วสูง 3.2 อพยพผู้โดยสารออกจากรถไฟความเร็วสูงได้อย่างปลอดภัย 10304.3.02 145213

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

          หน่วยสมรรถนะร่วมรหัส 00000 ความปลอดภันในการทำงานขั้นพื้นฐาน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการใช้งานอุปกรณ์อพยพผู้โดยสารออกจากขบวนรถไฟฟ้า

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้ในคู่มือขั้นตอนการแก้ไขปัญหาขบวนรถไฟฟ้าขัดข้อง (Technical Train Service Failure)

  2. ความรู้ในขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อนำรถไฟฟ้าขัดข้องออกจากการให้บริการ                          

  3. มีความรู้ในขั้นตอนการอพยพผู้โดยสารออกจากรถไฟฟ้า                                             

  4. ทักษะการใช้งานอุปกรณ์อพยพผู้โดยสารออกจากขบวนรถไฟฟ้า                                    

  5. มีความรู้ในเรื่องส่วนประกอบของประตูฉุกเฉิน, ความรู้ในขั้นตอนการใช้งานประตูฉุกเฉิน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



          รายงานการปฏิบัติการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น Log book, Check sheet เป็นต้น                 



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



          ประวัติการฝึกอบรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้                                         



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          การประเมินหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ โดยมีประเด็นและจุดสังเกตุของหลักฐานสอดคล้องกับรายละเอียดในหน่วยสมรรถนะนี้                                                                 



วิธีการประเมิน



          ผู้ประเมินจะต้องทำการตรวจสอบและพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ที่ระบุมาโดยต้องตรงกับความต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้หรือไม่


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



          การแก้ปัญหารถไฟความเร็วสูงขัดข้องจะต้องปฏิบัติตามคู่มือ และขั้นตอนการปฏิบัติงาน โดยใช้อุปกรณ์ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างทุกต้องและรวดเร็ว                                   



(ข) คำอธิบายรายละเอียด    




  1. คู่มือหมายถึง คู่มือขั้นตอนแก้ไขปัญหาขบวนรถ                                                      

  2. อุปกรณ์ที่ใช้ในการอพยพ ประกอบด้วย บันไดอพยพและอุปกรณ์สื่อสาร                           

  3. สะพานอพยพ ใช้สำหรับอพยพไปขบวนรถไฟฟ้าที่มาช่วยเหลือ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
          N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
          N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้เลือกใช้การประเมินจากวิธีดังต่อไปนี้




  1. การสังเกตการปฏิบัติงานในการจำลองสถานการณ์ขึ้นมา                                            

  2. การใช้วิธีการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ