หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมรถไฟความเร็วสูงเข้า-ออกภายในพื้นที่อู่จอดรถ (Depot) และ โรงซ่อมบำรุง (Workshop)

สาขาวิชาชีพระบบขนส่งทางราง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ 10302

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมรถไฟความเร็วสูงเข้า-ออกภายในพื้นที่อู่จอดรถ (Depot) และ โรงซ่อมบำรุง (Workshop)

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

        ผู้ควบคุมรถไฟความเร็วสูง 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ทำการขับเคลื่อนรถไฟความเร็วสูง เข้า-ออกจากพื้นที่อู่จอดรถไฟฟ้า และโรงซ่อมบำรุงได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอน และมีความปลอดภัยสูงสุด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          อุตสาหกรรมระบบราง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
          N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10302.1 ควบคุมขบวนรถไฟความเร็วสูงสับเปลี่ยน (Shunting) 1.1 เคลื่อนขบวนรถไฟความเร็วสูงสับเปลี่ยน (Shunting) ตามขั้นตอนการปฏิบัติการ (Operations Procedure) ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย 10302.1.01 145191
10302.2 จอดรถไฟความเร็วสูงในพื้นที่จอด (Stabling Area) 2.1 ปฏิบัติตามขั้นตอนการปฏิบัติการ (Operations Procedure) ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย 10302.2.01 145192
10302.3 ควบคุมขบวนรถไฟความเร็วสูงเข้าทำการล้างในเครื่องล้างอัตโนมัติ 3.1 นำขบวนรถไฟความเร็วสูงเข้าทำการล้างในเครื่องล้างอัตโนมัติตามขั้นตอนการปฏิบัติการ (Operations Procedure) ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย 10302.3.01 145193

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

          หน่วยสมรรถนะร่วมรหัส 00000 ความปลอดภันในการทำงานขั้นพื้นฐาน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะในการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ประกอบด้วย ชุดควบคุมการขับเคลื่อนรถไฟตวามเร็วสูง        

  2. ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ ในการสื่อสารที่เพียงพอต่อการจัดการเดินรถไฟความเร็วสูง            

  3. ทักษะการจัดทำรายงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้ในเส้นทาง/อาณัติสัญญาณภายในพื้นที่อู่จอดรถ (Depot) และ โรงซ่อมบำรุง (Workshop)

  2. ความรู้ในการเคลื่อนขบวนรถสับเปลี่ยน (Shunting)                                                

  3. มีความรู้ในเรื่องโหมดการขับเคลื่อน และ เส้นทางภายในอู่จอดรถไฟความเร็วสูง และ โรงซ่อมบำรุง

  4. ความรู้ในเรื่องการใช้งานระบบ/อุปกรณ์และ ลักษณะเส้นทาง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



          รายงานการปฏิบัติการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น Log book, Check sheet เป็นต้น                 



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



          ประวัติการฝึกอบรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้                                         



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          การประเมินหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ โดยมีประเด็นและจุดสังเกตุของหลักฐานสอดคล้องกับรายละเอียดในหน่วยสมรรถนะนี้                                                                 



วิธีการประเมิน



          ผู้ประเมินจะต้องทำการตรวจสอบและพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ที่ระบุมาโดยต้องตรงกับความต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้หรือไม่


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



          การควบคุมรถไฟความเร็วสูงในหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องปฏิบัติตามคู่มือการควบคุมรถไฟความเร็วสูงและการขับเคลื่อนรถไฟความเร็วสูงเฉพาะภายในพื้นที่อู่จอดรถ (Depot) และโรงซ่อมบำรุง (Workshop) เท่านั้น                                                                    



(ข) คำอธิบายรายละเอียด    




  1. การขับเคลื่อนรถไฟความเร็วสูงเฉพาะภายในเขตพื้นที่อู่จอดรถไฟความเร็วสูง และ โรงซ่อมบำรุง

  2. คู่มือที่ใช้ในการปฏิบัติงานหมายถึง คู่มือปฏิบัติการเดินรถไฟความเร็วสูง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
          N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
          N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้เลือกใช้การประเมินจากวิธีดังต่อไปนี้




  1. การสังเกตการปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการในการปฏิบัติงานจริง                              

  2. การใช้วิธีการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ