หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

แก้ไขปัญหาขบวนรถไฟฟ้าขัดข้อง

สาขาวิชาชีพระบบขนส่งทางราง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ 10204

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ แก้ไขปัญหาขบวนรถไฟฟ้าขัดข้อง

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          ผู้ควบคุมรถไฟฟ้า



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับขบวนรถไฟฟ้าจนทำให้ไม่สามารถให้บริการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ หรือ ไม่อาจให้บริการต่อไปได้อย่างสิ้นเชิงและจำเป็นต้องนำออกจากการให้บริการรวมทั้งวิธีการอพยพผู้โดยสารออกจากขบวนรถไฟฟ้าที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ให้บริการต่อไปได้ อันเนื่องมาจากปัจจัยต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น ขบวนรถไฟฟ้าขัดข้อง, ระบบไฟฟ้าขับเคลื่อนขัดข้องฯลฯ        

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          อุตสาหกรรมระบบราง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
          N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10204.1 นำรถไฟฟ้าขัดข้องออกจากการให้บริการ 1.1 ปฏิบัติตามขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อนำรถไฟฟ้าขัดข้องออกจากการให้บริการ 10204.1.01 145179
10204.2 แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น 2.1 ปฏิบัติตามคู่มือขั้นตอนแก้ไขปัญหาขบวนรถ 10204.2.01 145180
10204.2 แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น 2.2 ปฏิบัติตามขั้นตอนการปฏิบัติการ (Operations Procedure) ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย 10204.2.02 145181
10204.3 อพยพผู้โดยสารออกจากรถไฟฟ้า 3.1 ใช้งานอุปกรณ์อพยพผู้โดยสารบนรถไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องปลอดภัย 10204.3.01 145182
10204.3 อพยพผู้โดยสารออกจากรถไฟฟ้า 3.2 อพยพผู้โดยสารออกจากรถไฟฟ้าได้อย่างปลอดภัย 10204.3.02 145183

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

          หน่วยสมรรถนะร่วมรหัส 00000 ความปลอดภันในการทำงานขั้นพื้นฐาน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะในทักษะการใช้งานอุปกรณ์อพยพผู้โดยสารออกจากขบวนรถไฟฟ้า ประกอบด้วย บันไดอพยพ

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้ในคู่มือขั้นตอนการแก้ไขปัญหาขบวนรถไฟฟ้าขัดข้อง (Technical Train Service Failure)

  2. ความรู้ในขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อนำรถไฟฟ้าขัดข้องออกจากการให้บริการ                          

  3. มีความรู้ในขั้นตอนการอพยพผู้โดยสารออกจากรถไฟฟ้า                                             

  4. ความรู้ในเรื่องส่วนประกอบของประตูฉุกเฉิน, ความรู้ในขั้นตอนการใช้งานประตูฉุกเฉิน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



          รายงานการปฏิบัติการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น Log book, Check sheet เป็นต้น                 



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



          ประวัติการฝึกอบรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้                                         



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          การประเมินหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ โดยมีประเด็นและจุดสังเกตุของหลักฐานสอดคล้องกับรายละเอียดในหน่วยสมรรถนะนี้                                                                 



วิธีการประเมิน



          ผู้ประเมินจะต้องทำการตรวจสอบและพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ที่ระบุมาโดยต้องตรงกับความต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้หรือไม่


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



          การแก้ปัญหารถไฟฟ้าขัดข้องจะต้องปฏิบัติตามคู่มือ และขั้นตอนการปฏิบัติงาน โดยใช้อุปกรณ์ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างทุกต้องและรวดเร็ว                               



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. คู่มือการปฏิบัติงาน                                                                                    

  2. อุปกรณ์ที่ใช้ในการอพยพ ประกอบด้วย บันไดอพยพ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
          N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
          N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้เลือกใช้การประเมินจากวิธีดังต่อไปนี้




  1. การสังเกตการปฏิบัติงานในการจำลองสถานการณ์ขึ้นมา                                            

  2. การใช้วิธีการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ