หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ช่วยงานเฉพาะทางทันตรังสีวิทยา

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-GVPH-074A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ช่วยงานเฉพาะทางทันตรังสีวิทยา

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 3251 ผู้ช่วยทันตแพทย์และนักทันตกรรมบำบัด

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ความรู้ความสามารถในการช่วยงานข้างเก้าอี้ในงานช่วยงานเฉพาะทางทันตรังสีวิทยา ในการช่วยจัดเตรียมเครื่องถ่ายภาพรังสีตามชนิดของภาพรังสีที่ทันตแพทย์ต้องการ และช่วยเหลือทันตแพทย์ในการถ่ายภาพรังสี

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ช่วยทันตแพทย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
40107.01 จัดเตรียมเครื่องถ่ายภาพรังสีตามชนิดของภาพรังสีที่ทันตแพทย์ต้องการ 1. มีความรู้เรื่องชนิดเครื่องถ่ายภาพรังสี 40107.01.01 63163
40107.01 จัดเตรียมเครื่องถ่ายภาพรังสีตามชนิดของภาพรังสีที่ทันตแพทย์ต้องการ 2. มีความรู้วิธีถ่ายภาพรังสีตามเทคนิคและชนิดต่างๆได้ถูกต้อง 40107.01.02 63164
40107.01 จัดเตรียมเครื่องถ่ายภาพรังสีตามชนิดของภาพรังสีที่ทันตแพทย์ต้องการ 3. จัดเตรียมเครื่องและการส่งต่อภาพรังสีในระบบดิจิตอลได้ถูกต้อง 40107.01.03 63165
40107.01 จัดเตรียมเครื่องถ่ายภาพรังสีตามชนิดของภาพรังสีที่ทันตแพทย์ต้องการ 4. จัดเก็บภาพรังสีในระบบดิจิตอลได้ถูกต้อง 40107.01.04 63166
40107.02 ช่วยเหลือทันตแพทย์ในการถ่ายภาพรังสี 1. มีความรู้ในขั้นตอนของการถ่ายภาพรังสีตามชนิดที่ทันตแพทย์ต้องการ 40107.02.01 63167
40107.02 ช่วยเหลือทันตแพทย์ในการถ่ายภาพรังสี 2. มีความรู้ในเรื่องตําแหนงการจัดท่าผู้ป่วยในการถ่ายภาพรังสี 40107.02.02 63168

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะในการจัดเตรียมเครื่องมือได้ถูกต้องกับงานช่วยถ่ายภาพรังสีระบบดิจิเติล    

2. มีทักษะในการจัดเตรียมและแนะนำผู้ป่วยในงานถ่ายภาพรังสี    

3. จัดตําแหน่งผู้ป่วยให้เหมาะสมในการรับการถ่ายภาพรังสี    

4. รู้วิธีป้องกันผู้ป่วยและตนเองในระหว่างการถ่ายภาพรังสี    

5. สามารถจัดการอุปกรณ์ เครื่องมือให้ปราศเชื้อได้ทั้งก่อนใช้และเมื่อใช้งานเสร็จ

6. ฝึกผู้ช่วยทันตแพทย์ในเรื่องการถ่ายภาพรังสีระบบดิจิตอลได้จากการมอบหมายของทันตแพทย์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้เรื่องชนิดของเครื่องถ่ายและภาพรังสีระบบดิจิเติล    

2. มีความรู้เรื่องการป้องกันผู้ป่วยและตนเองในงานถ่ายภาพรังสี    

3. มีความรู้ในขั้นตอนของการถ่ายภาพรังสีการส่งต่อการจัดเก็บ ในระบบดิจิตอล    

4. มีความรู้ในเรื่องตั้งเครื่อง ตำแหน่งของผู้ป่วยในการถ่ายภาพรังสี    

5. มีความรู้เรื่องการจัดการเครื่องมือให้ปราศเชื้อได้ทั้งก่อนใช้และเมื่อใช้งานเสร็จ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          1. เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน

          2. เอกสาร/หลักฐานการอบรมเชิงปฏิบัติการ

          3. แฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ

          4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          1. ผลการทดสอบความรู้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

          ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

(ง) วิธีการประเมิน

          1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานจริงที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกตและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ

          2. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบทดสอบความรู้ข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)

          ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ

          ไม่มี

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

          1. การถ่ายภาพรังสี หมายถึง การเตรียมเครื่องถ่ายรังสี ฟิล์ม ผู้ป่วย การป้องกันรังสี การเก็บและการส่งต่อในการถ่ายภาพรังสีระบบดิจิตอล การทำให้เครื่องถ่ายรังสีและอุปกรณ์ปราศจากเชื้อทั้งก่อนและหลังใช้งานถ่ายภาพรังสี    

          2. ตําแหน่งการจัดท่าผู้ป่วยในการถ่ายภาพรังสี หมายถึง การจัดเตรียมผู้ป่วยนั่งในท่าทางที่เหมาะสม ให้ระดับความสูงของช่องปาก สอดคล้องกับความสูงของกระบอกรังสี


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การสอบข้อเขียน และการสังเกตการณ์



ยินดีต้อนรับ