หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ช่วยทันตแพทย์ในงานแลปเบื้องต้น

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-AKBM-079A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ช่วยทันตแพทย์ในงานแลปเบื้องต้น

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 3251 ผู้ช่วยทันตแพทย์และนักทันตกรรมบำบัด

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ทักษะในการช่วยทันตแพทย์ในงานแลปเบื้องต้น โดยสามารถช่วยทันตแพทย์ในการจัดการรอยพิมพ์และชิ้นงานทางทันตกรรม รวมทั้งสื่อสารกับแลปทางทันตกรรมภายใต้การควบคุมดูแลของทันตแพทย์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ช่วยทันตแพทย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
40112.01 จัดการรอยพิมพ์ฟัน 1. มีความรู้เรื่องชนิดของวัสดุพิมพ์ปากแต่ละประเภท 40112.01.01 63216
40112.01 จัดการรอยพิมพ์ฟัน 2. มีความรู้เรื่องวิธีการทำความสะอาดรอยพิมพ์ฟันชนิดต่างๆ 40112.01.02 63217
40112.01 จัดการรอยพิมพ์ฟัน 3. มีความรู้เรื่องชนิดของปูนที่เหมาะกับแบบหล่อฟันตามการใช้งานแต่ละประเภท 40112.01.03 63218
40112.01 จัดการรอยพิมพ์ฟัน 4. มีความรู้เรื่องหลักการผสมและเทปูนที่ถูกต้องเพื่อให้ได้แบบพิมพ์ที่มีความสมบูรณ์ 40112.01.04 63219
40112.01 จัดการรอยพิมพ์ฟัน 5. ทำความสะอาดรอยพิมพ์ฟันชนิดต่างๆ 40112.01.05 63220
40112.01 จัดการรอยพิมพ์ฟัน 6. ผสมและเทปูนเพื่อสร้างชิ้นหล่อที่สมบูรณ์ได้ 40112.01.06 63221
40112.02 จัดการงานแลปทางทันตกรรม 1. มีความรู้เรื่องข้อมูลที่จำเป็นในใบส่งแลป 40112.02.01 63222
40112.02 จัดการงานแลปทางทันตกรรม 2. ติดตามการส่ง และรับชิ้นงานให้เป็นไปตามเวลาที่กำหนด 40112.02.02 63223
40112.02 จัดการงานแลปทางทันตกรรม 3. ตรวจชิ้นงานที่ได้รับให้ถูกต้องตามคำสั่งในใบส่งแลป 40112.02.03 63224

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะในการสร้างชิ้นหล่อที่สมบูรณ์ได้   

2. มีความสามารถตัดแต่งชิ้นหล่อได้ขนาดมิติถูกต้องเหมาะสม

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้เรื่องชนิดของวัสดุพิมพ์ปากแต่ละประเภท

2. มีความรู้เรื่องการวิธีการทำความสะอาดรอยพิมพ์ฟันชนิดต่างๆ

3. มีความรู้เรื่องชนิดของปูนที่เหมาะกับแบบหล่อฟันตามการใช้งานแต่ละประเภท

4. มีความรู้เรื่องหลักการผสมและเทปูนที่ถูกต้องเพื่อให้ได้แบบพิมพ์ที่มีความสมบูรณ์

5. มีความรู้เรื่องประเภทของชิ้นงานต่างๆทางทันตกรรม

6. มีความรู้เรื่องข้อมูลที่จำเป็นในการสื่อสารกับแลปทางทันตกรรม

7. มีความรู้ในการตรวจสอบชิ้นงานที่ไม่สมบูรณ์เบื้องต้น

8. มีความรู้เรื่องข้อมูลสำคัญในการเขียนใบส่งแลป


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          1. เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน

          2. เอกสาร/หลักฐานการอบรมเชิงปฏิบัติการ

          3. แฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ

          4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          1. ผลการทดสอบความรู้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

          ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

(ง) วิธีการประเมิน

          1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานจริงที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกตและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ

          2. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบทดสอบความรู้ข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)

          ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ

          ไม่มี

(ข) คำอธิบายรายละเอียด   

          1. ทำความสะอาดรอยพิมพ์ หมายถึง การฆ่าเชื้อรอยพิมพ์ด้วยสารเคมี หรือใช้กรรมวิธีเหมาะสมอื่น ที่ไม่เกิดผลเสียต่อรอยพิมพ์หรือมีผลเสียน้อย เช่น ใช้สารละลายของไอโอโดฟอร์(Iodophor) คลอรีน และกลูเตอราลดีไฮด์ (Gluteraldehyde) และด้วยระยะเวลานานเหมาะสม   

          2. การเทแบบ หมายถึง การหล่อแบบขึ้นรูปโดยใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทยิบซั่มปลาสเตอร์ทุกประเภท ได้แก่ ปูนปลาสเตอร์ (plaster of Paris) ปูนปลาสเตอร์ชนิดแข็ง (stone plaster, stone class 3) หรือ ชนิดแข็งพิเศษ (improved stone, stone class 4)   

          3. ชิ้นงานทางทันตกรรม หมายถึง ชิ้นงานที่ทันตแพทย์ต้องนำไปรักษาคนไข้ ได้แก่ ฟันปลอม รีเทนเนอร์ครอบฟัน รากเทียม เมาส์การ์ต ฟันยางกันกระแทก เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การสอบข้อเขียน และการสังเกตการณ์



ยินดีต้อนรับ