หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติการงานรังสีทางทันตกรรม

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-UOJJ-072A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติการงานรังสีทางทันตกรรม

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 3251 ผู้ช่วยทันตแพทย์และนักทันตกรรมบำบัด

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ทักษะในการปฏิบัติการงานรังสีทางทันตกรรม โดยสามารถช่วยทันตแพทย์ในการเตรียมการก่อนถ่ายภาพรังสี ปฏิบัติการถ่ายภาพรังสีเบื้องต้น ล้างภาพถ่ายรังสี และจัดเก็บภาพถ่ายรังสี อย่างถูกต้องได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ช่วยทันตแพทย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
40111.01 เตรียมการก่อนถ่ายภาพรังสี 1. มีความรู้เรื่องการเตรียมผู้ป่วยให้พร้อมกับการถ่ายรังสีได้ 40111.01.01 63202
40111.01 เตรียมการก่อนถ่ายภาพรังสี 2. มีความรู้เรื่องขนาดของฟิล์มรับภาพตามประเภทและเทคนิคของการถ่ายภาพรังสีแบบparalleling และ bisecting ทั้งแบบธรรมดาและดิจิตอล 40111.01.02 63203
40111.01 เตรียมการก่อนถ่ายภาพรังสี 3. มีความรู้เรื่องหลักการใช้ของอุปกรณ์ยึดฟิลม์ตามประเภทการถ่ายภาพรังสี 40111.01.03 63204
40111.01 เตรียมการก่อนถ่ายภาพรังสี 4. เตรียมผู้ป่วยให้พร้อมกับการถ่ายรังสี 40111.01.04 63205
40111.01 เตรียมการก่อนถ่ายภาพรังสี 5. เตรียมอุปกรณ์ยึดฟิล์มสำหรับถ่ายภาพรังสี 40111.01.05 63206
40111.02 ปฏิบัติการถ่ายภาพรังสีเบื้องต้น 1. มีความรู้เรื่องสิ่งที่มีผลกระทบต่อคุณภาพของภาพรังสี 40111.02.01 63207
40111.02 ปฏิบัติการถ่ายภาพรังสีเบื้องต้น 2. มีความรู้เรื่องการถ่ายภาพรังสีรอบปลายราก (Periapical)ทั้งเทคนิกการถ่ายภาพรังสีแบบ paralleling และbisecting technique 40111.02.02 63208
40111.02 ปฏิบัติการถ่ายภาพรังสีเบื้องต้น 3. มีความรู้เรื่องการถ่ายภาพรังสีแบบกัดปีก (Bitewing) 40111.02.03 63209
40111.02 ปฏิบัติการถ่ายภาพรังสีเบื้องต้น 4. ถ่ายภาพรังสีรอบปลายราก (Periapical) ทั้งเทคนิกการถ่ายภาพรังสีแบบparalleling และ bisecting technique ได้ 40111.02.04 63210
40111.02 ปฏิบัติการถ่ายภาพรังสีเบื้องต้น 5. ถ่ายภาพรังสีแบบกัดปีก (Bitewing) ได้ 40111.02.05 63211
40111.03 จัดการฟิล์มเพื่อสร้างภาพถ่ายรังสี 1. มีความรู้เรื่องการเตรียมเก็บรักษา และการเปลี่ยนน้ำยาล้างฟิล์ม 40111.03.01 63212
40111.03 จัดการฟิล์มเพื่อสร้างภาพถ่ายรังสี 2. มีความรู้เรื่องขั้นตอนในการล้างฟิล์มที่ถูกต้อง 40111.03.02 63213
40111.03 จัดการฟิล์มเพื่อสร้างภาพถ่ายรังสี 3. ล้างฟิล์มเพื่อสร้างภาพถ่ายรังสีได้ 40111.03.03 63214
40111.03 จัดการฟิล์มเพื่อสร้างภาพถ่ายรังสี 4. เก็บภาพถ่ายรังสี 40111.03.04 63215

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. จัดเตรียมคนไข้ให้พร้อมกับการถ่ายรังสีได้

2. เลือกขนาดฟิล์มรับภาพตามลักษณะบ่งชี้ของคนไข้และชนิดของการถ่ายภาพรังสี

3. มีทักษะในการถ่ายภาพรังสีรอบปลายราก (Periapical) และแบบกัดปีก (Bitewing) ทั้งแบบ paralleling และ bisecting technique

4. มีทักษะในการล้างฟิล์มที่ถูกต้องได้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้มีความรู้เรื่องการเตรียมคนไข้ให้พร้อมกับการถ่ายรังสีได้

2. มีความรู้เรื่องขนาดของขนาดฟิล์มรับภาพตามลักษณะบ่งชี้ของคนไข้และชนิดของการถ่ายภาพรังสี  

3. มีความรู้เรื่องหลักการใช้ของอุปกรณ์แต่ละชนิดที่ใช้ในการถ่ายภาพรังสีได้

4. มีความรู้เรื่องสิ่งที่มีผลกระทบต่อคุณภาพของภาพรังสี

5. มีความรู้ในเรื่อง ข้อดี ข้อเสีย ของการถ่ายภาพรังสีแบบ paralleling และ bisecting

6. มีความรู้เรื่องข้อผิดพลาดของการถ่ายภาพในช่องปากและวิธีจัดการกับความผิดพลาด

7. มีความรู้เรื่องการเตรียม เก็บรักษา และการเปลี่ยนน้ำยาล้างฟิล์ม

8. มีความรู้เรื่องขั้นตอนในการล้างฟิล์มที่ถูกต้องได้

9. มีความรู้เรื่องข้อผิดพลาดของการล้างฟิลม์และการแก้ไข   

10. มีความรู้เรื่องข้อผิดพลาดในการจับฟิล์มรวมถึงการแก้ไข                       

11. มีความรู้เรื่องสถานที่เก็บฟิล์มที่เหมาะสม

12. มีความรู้เรื่องข้อผิดพลาดที่เกิดจากการเก็บฟิล์มและการแก้ไข


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          1. เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน

          2. เอกสาร/หลักฐานการอบรมเชิงปฏิบัติการ

          3. แฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ

          4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          1. ผลการทดสอบความรู้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

          ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

(ง) วิธีการประเมิน

          1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานจริงที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกตและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ

          2. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบทดสอบความรู้ข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)

          ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ

          ไม่มี

(ข) คำอธิบายรายละเอียด   

          1. ภาพรังสีรอบปลายราก (Periapical film) หมายถึง ภาพถ่ายรังสีที่ใช้สำหรับดูบริเวณตัวฟัน รากฟันและอวัยวะรอบฟัน เพื่อใช้ประเมินฟันผุ ฟันโยก ติดตามกระบวนการรักษารากฟัน หรือโรคเหงือก   

          2. ภาพรังสีแบบกัดปีก (Bitewing film) หมายถึง ภาพถ่ายรังสีที่ใช้สำหรับดูฟันผุด้านประชิด และระดับกระดูกทั่วไป   

          3. เทคนิคการถ่ายภาพแบบขนาน (Paralleling technique) หมายถึง เทคนิคการถ่ายภาพรังสีโดยการวางฟิลม์ขนานกับฟัน ให้ลำรังสีตกกระทบตั้งฉากกับฟันและฟิลม์   

          4. เทคนิคการถ่ายภาพแบบแบ่งครึ่งมุม (Bisecting technique) หมายถึง เทคนิคการถ่ายภาพรังสีโดยฟัน ให้ลำรังสีตกกระทบตั้งฉากกับ Bisecting angle ที่เป็นเส้นสมมุติแบ่งครึ่งระหว่างฟันและฟิลม์   

          5. ประเภทของฟิล์มรับภาพ หมายถึง ขนาดของฟิล์มรับภาพชนิดต่างๆที่เหมาะสมกับการถ่ายภาพรังสีในผู้ป่วยแต่ละวัย แบ่งเป็น ฟิล์มเล็ก (เบอร์ 0) สำหรับการถ่ายภาพรังสีเด็ก และฟิล์มใหญ่ สำหรับการถ่ายภาพรังสีผู้ใหญ่ (เบอร์ 2)

          6. การใช้อุปกรณ์ยึดฟิล์ม หมายถึง อุปกรณ์ช่วยในการตรึงฟิล์มให้นิ่งและพร้อมในการถ่ายภาพรังสี เช่น XCP, Snap A-ray เป็นต้น   

          7. การล้างฟิล์มและน้ำยาล้างฟิล์ม หมายถึง ขั้นตอนในการล้างฟิล์ม (Processing)เพื่อสร้างภาพรังสี โดยมีลำดับขั้นตอนการใช้งานน้ำยา Developer และ น้ำยา Fixer ที่ถูกต้อง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การสอบข้อเขียน และการสังเกตการณ์



ยินดีต้อนรับ