หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ช่วยงานข้างเก้าอี้ในงานทันตกรรม

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-BTPT-069A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ช่วยงานข้างเก้าอี้ในงานทันตกรรม

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 3251 ผู้ช่วยทันตแพทย์และนักทันตกรรมบำบัด

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          การช่วยปฏิบัติงานข้างเก้าอี้ทำฟัน คือ สามารถช่วยเหลือทันตแพทย์จัดเตรียมและเรียงลำดับเครื่องมือในการรักษาทันตกรรมทั่วไป รวมถึงช่วยเหลือทันตแพทย์ให้การรักษาทางทันตกรรมได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ช่วยทันตแพทย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
40102.01 จัดเตรียมเครื่องมือในการรักษาทางทันตกรรม 1. มีความรู้เรื่องเครื่องมือที่ใช้ในการรักษาทางทันตกรรมแต่ละประเภท 40102.01.01 63114
40102.01 จัดเตรียมเครื่องมือในการรักษาทางทันตกรรม 2. มีความรู้เรื่องหน้าที่ของเครื่องมือที่ใช้ในการรักษาทางทันตกรรม 40102.01.02 63115
40102.01 จัดเตรียมเครื่องมือในการรักษาทางทันตกรรม 3. จัดเตรียมเครื่องมือได้ถูกต้องและเหมาะสมกับประเภทการรักษา 40102.01.03 63116
40102.02 ช่วยเหลือทันตแพทย์ให้การรักษาทางทันตกรรม 1. มีความรู้ในขั้นตอนการรักษางานทางทันตกรรม 40102.02.01 63117
40102.02 ช่วยเหลือทันตแพทย์ให้การรักษาทางทันตกรรม 2. มีความรู้ในเรื่องตำแหน่งที่ถูกต้องในการเข้าช่วยทำงานข้างเก้าอี้ 40102.02.02 63118
40102.02 ช่วยเหลือทันตแพทย์ให้การรักษาทางทันตกรรม 3. มีความรู้เรื่องการจัดตำแหน่งผู้ป่วยให้เหมาะสมในการรักษาทันตกรรม 40102.02.03 63119
40102.02 ช่วยเหลือทันตแพทย์ให้การรักษาทางทันตกรรม 4.ปรับไฟและดูดสารคัดหลั่ง เพื่อใหทันตแพทยเห็นบริเวณที่ให้การรักษาชัดเจนและทํางานไดอย่างมีประสิทธิภาพ 40102.02.04 63120

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะในการจัดเตรียมเครื่องมือได้ถูกต้องกับงานทันตกรรม

2. มีทักษะในการจัดเรียงลำดับเครื่องมือตามขั้นตอนการรักษาทันตกรรม    

3. สามารถเข้านั่งทำงานในตำแหน่งที่เหมาะสมในการช่วยงานทันตกรรม    

4. จัดตําแหน่งผู้ป่วยให้เหมาะสมในการรับการรักษาทันตกรรม    

5. ปรับไฟและดูดสารคัดหลั่งให้ทันตแพทย์เห็นบริเวณที่ให้การรักษาชัดเจนและทํางานได้ อย่างมีประสิทธิภาพ    

6. รับ-ส่งเครื่องมือที่ใช้ในการรักษางานทันตกรรมเฉพาะทางได้อย่างถูกต้อง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้เรื่องชนิดเครื่องมือที่ใช้ในการรักษาทันตกรรม    

2. มีความรู้เรื่องหน้าที่ของเครื่องมือทันตกรรม    

3. มีความรู้ในขั้นตอนของการรักษางานทันตกรรม    

4. มีความรู้ในเรื่องตําแหน่งการเข้าทํางานข้างเก้าอี้ในงานทันตกรรมที่ถูกต้อง

5. มีความรู้เรื่องการจัดตําแหน่งผู้ป่วยให้เหมาะสมในการรักษาทันตกรรม


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          ไม่มี

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          1. ผลการทดสอบความรู้/แบบสัมภาษณ์

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

          ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

(ง) วิธีการประเมิน

          1. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์และ/หรือแบบทดสอบความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

          ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ

          ไม่มี

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

          1. งานทางทันตกรรม หมายถึง การรักษาทางทันตกรรมพื้นฐานแบบไม่ยุ่งยาก ไม่จำเป็นต้องใช้ความรู้เฉพาะทาง    

          2. เครื่องมือในการรักษาทางทันตกรรม หมายถึง เครื่องมือพื้นฐานในการรักษาทางทันตกรรมเบื้องต้นในงานทันตกรรมประดิษฐ์ ทันตกรรมหัตถการ วิทยาเอนโดดอนท์ ศัลยศาสตร์ ปริทันตวิทยา และอื่นๆ    

          3. ตำแหน่งในการเข้าช่วยข้างเก้าอี้ หมายถึง ตำแหน่งตามเข็มนาฬิกาของผู้ช่วยทันตแพทย์ในการเข้าช่วยทำงานทันตกรรม ที่เหมาะสมในการรักษาแต่ละประเภท    

          4. การปรับไฟและการดูดสารคัดหลั่ง หมายถึง การจัดวางตำแหน่งสายดูดดน้ำลายให้เหมาะสมเพื่อควบคุมปริมาณน้ำลายและสารคัดหลั่งในช่องปาก รวมถึงการปรับแสงสว่างให้เหมาะสมในการทำงาน เพื่อให้ทันตแพทย์เห็นบริเวณทำงานได้อย่างชัดเจน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การสอบข้อเขียน การสังเกตการณ์



ยินดีต้อนรับ