หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติการควบคุมเครื่องมือวิทยุสื่อสาร

สาขาวิชาชีพการเดินเรือ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MRT-DLXQ-066A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติการควบคุมเครื่องมือวิทยุสื่อสาร

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักวิทยุสื่อสาร



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะมีทักษะในควบคุมการใช้เครื่องมือวิทยุสื่อสาร และปฏิบัติการรับส่งข้อมูลข่าวสารได้ถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมการเดินเรือประมงพาณิชย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
NF10901 ควบคุมการใช้เครื่องมือวิทยุสื่อสาร 1.1 ช่วยปฏิบัติการวางระเบียบข้อบังคับของการสื่อสาร NF10901.01 62275
NF10901 ควบคุมการใช้เครื่องมือวิทยุสื่อสาร 1.2 ช่วยปฏิบัติการด้านการปรับปรุงการจัดระบบสื่อสาร NF10901.02 62276
NF10901 ควบคุมการใช้เครื่องมือวิทยุสื่อสาร 1.3 ช่วยปฏิบัติการวิเคราะห์ตรวจสอบและคัดกรองข้อมูลข่าวสาร NF10901.03 62277
NF10902 ปฏิบัติการรับส่งข้อมูลข่าวสาร 2.1 เตรียมความพร้อมของอุปกรณ์สื่อสาร NF10902.01 62278
NF10902 ปฏิบัติการรับส่งข้อมูลข่าวสาร 2.2 รับ-ส่งข่าวสารด้วยระบบต่างๆที่เกี่ยวข้อง NF10902.02 62279
NF10902 ปฏิบัติการรับส่งข้อมูลข่าวสาร 2.3 ให้บริการข้อมูลข่าวสารผ่าระบบสื่อสารและระบบสารสนเทศต่างๆ NF10902.03 62280
NF10902 ปฏิบัติการรับส่งข้อมูลข่าวสาร 2.4 ตั้งค่าความถี่ของสถานีชายฝั่งต่างๆได้ NF10902.04 62281
NF10902 ปฏิบัติการรับส่งข้อมูลข่าวสาร 2.5 ให้ปรึกษาแนะนำเพื่อการประกอบการตัดสินใจจากข้อมูลข่าวสาร่ที่ได้รับ NF10902.05 62282

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ทักษะการใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสารในทะเล

  • ทักษะการใช้วิทยุสื่อสาร

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • รหัสสัญญาณมอร์ส

  • การบำรุงรักษาอุปกรณ์สื่อสารเบื้องต้น

  • ช่องทางการติดต่อสื่อสารต่างๆ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • หนังสือคนประจำเรือ (SEAMAN Book)

  • หนังสือคนประจำเรือ (SEA Book) สำหรับแรงงานต่างด้าว

  • แบบบันทึกรายการผลจากการสังเกต



หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  • ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถของผู้ทําการในเรือ ฝ่ายเดินเรือ จากกรมเจ้าท่า

  • ใบอนุญาตจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย

  • เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรมที่เกี่ยวข้อง



คำแนะนำในการประเมิน




  • ผู้ประเมินตรวจประเมิน โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



วิธีการประเมิน




  • การสัมภาษณ์

  • สาธิตการปฏิบัติงาน

  • จำลองสถานการณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

             การใช้เครื่องมือสื่อสารและโทรคมนาคมในการเดินเรือ ครอบคลุมวิทยุสื่อสารทางทะเลที่มีความถี่ 3 ย่าน คือ 2-25 MHz., 27 MHz. และ156-162.5 MHz. โดยย่านความถี่ 2-25 MHz. มีย่านความถี่ฉุกเฉินคือ 2182 KHz. ความถี่รับฟังข่าวอากาศ 6765 KHz และความถี่ที่กองทัพเรือไทยให้เรือเฝ้าฟัง สำหรับเรือประมงที่มีเครื่องรับ-ส่งวิทยุระบบ HF ซิงเกิลไซค์แบนด์ (วิทยุใหญ่) ใช้ในเรือให้ใช้ความถี่ 8249 KHz. (USB) ส่วนย่านความถี่ 156-162.5 MHz. (มดขาว/มดเหลือง) ใช้ติดต่อกันในเรือและการนำร่อง และย่านความถี่ CB 27 MHz. (มดดำ) เป็นย่านเรือประมงในประเทศแถบนี้นิยมมากที่สุด เนื่องจากหาง่ายราคาถูกและมีประสิทธิภาพดี จนกระทั่งทางราชการต้องยินยอมให้ใช้เพื่อการประมงเป็นวัตถุประสงค์หลัก และอนุญาตให้ตั้งสถานีเฉพาะเกี่ยวกับการประมงเท่านั้น



คำแนะนำ




  • การใช้เครื่องมือสื่อสารและโทรคมนาคมให้ปฏิบัติตามคู่มือการใช้งานของอุปกรณ์สื่อสารทั้งหมดบนเรือประมง

  • ใช้ทักษะและความรู้ตามข้อ 13 (ก) และ (ข)



คำอธิบายรายละเอียด




  • N/A


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • การสัมภาษณ์

  • การสาธิตการปฏิบัติงาน

  • การจำลองสถานการณ์



 


ยินดีต้อนรับ