หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารกลไก และกระบวนการพนักงานสัมพันธ์บนเรือ

สาขาวิชาชีพการเดินเรือ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MRT-RMYV-075A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารกลไก และกระบวนการพนักงานสัมพันธ์บนเรือ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักเดินเรือประมง, ลูกเรือประมง, คนครัว



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะสามารถนำข้อเสนอแนะการบริหารจัดการบุคคลมาใช้เพื่อดำเนินการฝึกอบรมบนเรือและประเมินผลบุคลากรบนเรือได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมการเดินเรือประมงพาณิชย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
  ISCO; 6222 ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงน้ำจืด และประมงชายฝั่งทะเล ISCO; 6223 ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงน้ำลึก ISCO; 8350 ลูกเรือและผู้ปฏิบัติงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ISCO; 5120 พ่อครัว/ แม่ครัว

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
แนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยในการทำงานภาคประมงทะเล ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ปี พ.ศ.2556

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
NF20701 จัดทำแผนบริหารกลไกการพนักงานสัมพันธ์บนเรือ 1.1 จัดทำแผนบริหารกลไกการพนักงานสัมพันธ์ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์บนเรือ NF20701.01 62374
NF20701 จัดทำแผนบริหารกลไกการพนักงานสัมพันธ์บนเรือ 1.2 สื่อสารกับเจ้าของเรือและลูกเรืออย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างกัน NF20701.02 62375
NF20702 ดำเนินการ และติดตามผลการบริหารกลไกการพนักงานสัมพันธ์บนเรือ 2.1 ดำเนินงานตามแผนการบริหารกลไกการพนักงานสัมพันธ์บนเรือ NF20702.01 62376
NF20702 ดำเนินการ และติดตามผลการบริหารกลไกการพนักงานสัมพันธ์บนเรือ 2.2 ประเมิน และปรับเปลี่ยนแผนงานเพื่อให้การบริหารกลไกการพนักงานสัมพันธ์บนเรือเป็นไปตามนโยบายที่กำหนด NF20702.02 62377
NF20702 ดำเนินการ และติดตามผลการบริหารกลไกการพนักงานสัมพันธ์บนเรือ 2.3 เป็นตัวแทนเจ้าของเรือในการเจรจาต่อรองกับลูกเรือเพื่อให้การทำงานสอดคล้องกับนโยบายของเจ้าของเรือ NF20702.03 62378
NF20703 ให้คำแนะนำแก่เจ้าของเรือในการพนักงานสัมพันธ์บนเรือ การดูแล และกวดขันวินัยบนเรือ 3.1 ให้ความรู้เกี่ยวกับการพนักงานสัมพันธ์บนเรือและระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานแก่เจ้าของเรือ NF20703.01 62379
NF20703 ให้คำแนะนำแก่เจ้าของเรือในการพนักงานสัมพันธ์บนเรือ การดูแล และกวดขันวินัยบนเรือ 3.2 ให้คำแนะนำในการพนักงานสัมพันธ์บนเรือและการดำเนินการทางวินัยแก่เจ้าของเรือ NF20703.02 62380

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ทักษะด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่น

  • ทักษะด้านการสื่อสาร นโยบายและแนวปฏิบัติในงานพนักงานสัมพันธ์ขององค์การ

  • ทักษะด้านการนำเสนอ แสดงออกซึ่งความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้อื่น

  • ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ และการจูงใจ

  • ทักษะด้านการทำงานเป็นทีม การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานกับทีม สนับสนุนสมาชิกทีมงานให้มีส่วนร่วมและปฏิบัติตามข้อตกลง

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ความรู้และความเข้าใจในการบริหารบุคคล

  • ความรู้และความเข้าใจในการบริหารความขัดแย้ง

  • ความรู้และความเข้าใจในหลักการสร้างมนุษยสัมพันธ์ การวางแผนบริหารกลไกพนักงานสัมพันธ์ และการดำเนินงานกิจกรรมพนักงานสัมพันธ์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • หนังสือคนประจำเรือ (SEAMAN Book)

  • หนังสือคนประจำเรือ (SEA Book) สำหรับแรงงานต่างด้าว

  • ตัวอย่างแผนงานที่เกี่ยวข้องกับกลไกพนักงานสัมพันธ์

  • ตัวอย่างแนวทางการบริหารกลไกพนักงานสัมพันธ์



หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  • ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถของผู้ทําการในเรือ ฝ่ายเดินเรือ จากกรมเจ้าท่า

  • เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรมที่เกี่ยวข้อง



คำแนะนำในการประเมิน




  • ผู้ประเมินตรวจประเมิน โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



วิธีการประเมิน




  • การสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

              กลไกและกระบวนการพนักงานสัมพันธ์ภายใต้หน่วยสมรรถนะนี้ ครอบคลุมตั้งแต่การวิเคราะห์ความต้องการทั้งในระดับบุคคลหรือกลุ่มย่อย การออกแบบระบบการดูแลให้สอดคล้องกับความต้องการของบุคคลหรือกลุ่มย่อย การวางแผนบริหารจัดการ/แผนปฏิบัติการ การดำเนินงานตามแผน การประเมินและปรับแผน การทำกิจกรรมต่างๆ ภายใต้แผนที่จัดทำขึ้น การสื่อสารกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตามหลักมนุษยสัมพันธ์ที่ดี



คำแนะนำ




  • การบริหารแรงงานสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน ต้องเป็นการบริหารโดยมีหลักและวิธีการ ปฏิบัติที่ถือเป็นแนวดำเนินการที่แน่นอน การกำหนดนโยบายแรงงานสัมพันธ์คำนึงถึงความสามารถที่จะ ปฏิบัติตามได้เป็นสำคัญ

  • การสร้างการบริหารพนักงานสัมพันธ์ สามารถทำได้โดย การวิเคราะห์ความต้องการของแต่ละกลุ่มย่อย การออกแบบระบบการดูแลให้สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละกลุ่ม การเปิดโอกาสให้พนักงานสามารถระบายความคับข้องใจ

  • การจัดทำฐานข้อมูลของพนักงานรายบุคคลและกลุ่มย่อยอย่างเป็นปัจจุบัน

  • ใช้ทักษะและความรู้ตามข้อ 13 (ก) และ (ข)



คำอธิบายรายละเอียด




  • การบริหารความขัดแย้ง หมายถึง การจัดการความขัดแย้งอันเนื่องมาจากการปฏิบัติงานระหว่างพนักงาน และระหว่างพนักงานกับองค์การ เพื่อให้บรรลุข้อตกลงอันดีระหว่างกันได้

  • กลไกการแรงงานสัมพันธ์ หมายถึง ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพนักงานสัมพันธ์ขององค์การทั้งภายในและภายนอกองค์การ เช่น ผู้บังคับบัญชา สหภาพแรงงาน หน่วยงานภาครัฐ เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • การสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ