หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานครัวอย่างปลอดภัยและมีสุขอนามัย

สาขาวิชาชีพการเดินเรือ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MRT-LKHH-080A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานครัวอย่างปลอดภัยและมีสุขอนามัย

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

คนครัว



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะสามารถปฏิบัติงานครัวได้อย่างปลอดภัย และถูกต้องตามหลักสุขอนามัย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมการเดินเรือประมงพาณิชย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
  ISCO; 5120 พ่อครัว/ แม่ครัว

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
หลักปฏิบัติด้านความปลอดภัยในการทำงานภาคประมงทะเล ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ปี พ.ศ.2556

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
NF40101 ปฏิบัติงานครัวอย่างปลอดภัย 1.1 ปฏิบัติตามกฏระเบียบ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุต่างๆ NF40101.01 62420
NF40101 ปฏิบัติงานครัวอย่างปลอดภัย 1.2 ตรวจสอบเครื่องมือ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน NF40101.02 62421
NF40101 ปฏิบัติงานครัวอย่างปลอดภัย 1.3 ใช้งานเครื่องครัวและอุปกรณ์ต่างๆ NF40101.03 62422
NF40102 ปฏิบัติงานครัวอย่างมีสุขอนามัย 2.1 รักษาสุขภาพให้แข็งแรงและสวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด NF40102.01 62423
NF40102 ปฏิบัติงานครัวอย่างมีสุขอนามัย 2.2 ล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอทั้งก่อนและหลังปฏิบัติงาน NF40102.02 62424
NF40102 ปฏิบัติงานครัวอย่างมีสุขอนามัย 2.3 กำจัดสัตว์และแมลงด้วยวิธีการที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ NF40102.03 62425

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ทักษะในการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ครัว

  • ทักษะในการเตรียมอาหารตามกรรมวิธีต่างๆ

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ความรู้เรื่องการเตรียมอาหารตามกรรมวิธีต่างๆ

  • ความรู้เรื่องสถานที่ประกอบอาหารที่ถูกสุขลักษณะ

  • ความรู้การกำจัดเศษอาหารและของเสีย

  • ความรู้เรื่องการป้องกันและควบคุมแมลงและสัตว์นำโรค


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • หนังสือคนประจำเรือ (SEAMAN Book)

  • หนังสือคนประจำเรือ (SEA Book) สำหรับแรงงานต่างด้าว

  • แบบบันทึกรายการผลจากการสังเกต



หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  • ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถของผู้ทําการในเรือ ฝ่ายเดินเรือ จากกรมเจ้าท่า

  • เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรมที่เกี่ยวข้อง



คำแนะนำในการประเมิน




  •  ผู้ประเมินตรวจประเมิน โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



วิธีการประเมิน




  • การสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

             การปฏิบัติงานครัวอย่างปลอดภัยและมีสุขอนามัยภายใต้หน่วยสมรรถนะนี้ มีความครอบคลุมในเรื่องของวัตถุดิบ (อาหารแห้ง อาหารสด และเครื่องปรุงต่างๆ) ที่ใช้ในการปรุงอาหาร ขั้นตอน/วิธีการ และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบการอาหาร และการล้างทำความสะอาด โดยเริ่มตั้งแต่ในขั้นตอนของการเตรียมวัตถุดิบและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ การปรุงอาหาร การเก็บรักษาอาหารและวัตถุดิบประกอบอาหาร รวมไปจนถึงการป้องกัน/กำจัดสัตว์และแมลงรบกวน และการกำจัดเศษซากของเสียที่เกิดจากการปรุงอาหาร



คำแนะนำ




  • สภาพแวดล้อมและสถานที่ควรมีความสะอาด เช่น พื้นครัวที่สะอาด ไม่แฉะ ไม่มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ อากาศถ่ายเทได้สะดวก แสงสว่างเพียงพอ มีอุณหภูมิที่เหมาะสม ปราศจากแมลงและสัตว์พาหะนำโรค

  • สถานการณ์ที่ไม่ปกติต่อการทำงาน เช่น ไฟไหม้ นํ้าร้อนลวก มีดบาด หรือเกิดอัคคีภัย แก๊สรั่ว สามารถแก้ไขปัญหาและปฐมพยาบาลได้ทันที

  • สามารถใช้ทรัพยากรในครัวได้อย่างถูกสุขลักษณะและปลอดภัย เช่น การล้างผักหรือเนื้อสัตว์ก่อนหั่น การแยกวัตถุดิบของสดและสุก การเก็บรักษาที่เหมาะสมกับวัตถุดิบนั้นๆ

  • ใช้ทักษะและความรู้ตามข้อ 13 (ก) และ (ข)



คำอธิบายรายละเอียด




  • การเลือกใช้เครื่องมืออุปกรณ์ควรใช้ให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่นไม่ควรนำวัสดุที่ทำจากอลูมิเนียม หรือพลาสติก มาใส่อาหารที่มีความเป็นกรด ไม่ใช่ทัพพีหรือตะหลิวในการชิมอาหารโดยตรง แยกเขียงประกอบอาหารโดยอาหารสดและอาหารสุก

  • วัตถุดิบที่ใช้ต้องล้างก่อนนำมาประกอบอาหาร ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ การจัดเก็บต้องถูกต้องเหมาะสมกับวัตถุดิบแต่ละชนิด เช่น ผักจัดใส่ถุงหรือกล่องเพื่อป้องกันการปนเปื้อนและการสูญเสียคุณค่าทางโภชนาการ และไม่ควรนำไปเก็บรวมกับอาหารที่มีกลิ่นเช่นเนื้อสัตว์ ควรแยกกันชัดเจน

  • การเตรียมสุขอนามัยส่วนบุคคล เริ่มตั้งแต่สวมผ้ากันเปื้อน หมวกคลุมผม ผ้าเช็ดมือ ให้ครบถ้วนก่อนการปฏิบัติงานทุกครั้ง และมีความสะอาดทุกครั้งก่อนการสวมใส่


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • การสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ