หน่วยสมรรถนะ
ปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณการประมง
สาขาวิชาชีพการเดินเรือ
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | MRT-EIDF-076A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณการประมง |
3. ทบทวนครั้งที่ | - / - |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
นักเดินเรือประมง, ลูกเรือประมง |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะสามารถเข้าใจหลักการประมงที่ยั่งยืน หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องมือผิดประเภท และมีการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
อุตสาหกรรมการเดินเรือประมงพาณิชย์ |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
ISCO; 6222 ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงน้ำจืด และประมงชายฝั่งทะเล ISCO; 6223 ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงน้ำลึก ISCO; 8350 ลูกเรือและผู้ปฏิบัติงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
ประกาศกรมประมงเรื่อง แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยการป้องกัน ยับยั้งและขจัดการทําการประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม พ.ศ.2558 – 2562 และแผนการบริหารจัดการประมงทะเลของประเทศไทย นโยบายแห่งชาติด้านการจัดการประมงทะเล พ.ศ. 2558 – 2562 |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
NF20801 เข้าใจหลักการประมงที่ยั่งยืน | 1.1 หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องมือผิดประเภท | NF20801.01 | 62381 |
NF20801 เข้าใจหลักการประมงที่ยั่งยืน | 1.2 หลีกเลี่ยงการจับลูกปลาเศรษฐกิจ | NF20801.02 | 62382 |
NF20801 เข้าใจหลักการประมงที่ยั่งยืน | 1.3 หลีกเลี่ยงการจับปลาในฤดูวางไข่และฤดูหวงห้าม และเขตหวงห้าม | NF20801.03 | 62383 |
NF20801 เข้าใจหลักการประมงที่ยั่งยืน | 1.4 อธิบายมาตรการในการควบคุมจำนวน ขนาดและประเภทของเครื่องมือประมง | NF20801.04 | 62384 |
NF20802 ใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า | 2.1 ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด | NF20802.01 | 62385 |
NF20802 ใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า | 2.2 ใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด | NF20802.02 | 62386 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
N/A |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ
(ข) ความต้องการด้านความรู้
|
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
คำแนะนำในการประเมิน
วิธีการประเมิน
|
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
จรรยาบรรณการประมงที่นำมาประยุกต์ใช้ในหน่วยสมรรถนะนี้ มีความครอบคลุมการประมงเฉพาะเรื่องของการบริหารและการจัดการประมง การจับสัตว์น้ำจากธรรมชาติ โดยเฉพาะจากท้องทะเล การผสมผสานการประมงกับการบริหารและการจัดการบริเวณชายฝั่ง และอุตสาหกรรมประมงและการค้า คำแนะนำ
คำอธิบายรายละเอียด
วัตถุประสงค์ของจรรยาบรรณฯ กำหนดหลักการทำประมงด้วยความรับผิดชอบ ตามกฎหมายระหว่างประเทศกำหนดหลักการและบรรทัดฐาน เพื่อนำไปปฏิบัติในการกำหนดนโยบายของรัฐ เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง ด้วยความรับผิดชอบให้เป็นหลักอ้างอิงสำหรับในการออกกฎ ระเบียบ และมาตรการใหม่ หรือปรับปรุงกฎระเบียบ หรือมาตรการที่มีอยู่แล้ว ตามกรอบของกฎหมายในการทำประมงอย่างรับผิดชอบ สาระสำคัญของจรรยาบรรณ ฯ การใช้ประโยชน์สัตว์น้ำแบบยั่งยืน โดยให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม การจัดการเพาะเลี้ยง จะไม่เป็นผลเสียต่อระบบนิเวศวิทยา ทรัพยากรและคุณภาพ ของทรัพยากรธรรมชาติ การเพิ่มมูลค่าสัตว์น้ำจากการแปรสภาพ ต้องสอดคล้องกับมาตรฐานทางสุขอนามัย เพื่อผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่มีคุณภาพ สำหรับการบริโภคใช้เป็นหลักการแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการอนุรักษ์ จัดการ และการพัฒนาประมง เพื่อให้ประเทศต่างๆ นำไปใช้เป็นนโยบายและแผนปฏิบัติงาน ทางการประมงของประเทศ อย่างรับผิดชอบตามความสมัครใจ (Voluntary) โดยไม่มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายระหว่างประเทศ
- การทำการประมงโดยเรือประมงไทย หรือเรือประมงต่างชาติในน่านน้ำภายใต้เขตอำนาจของรัฐใดๆ โดย ไม่ได้รับอนุญาต หรือฝ่าฝืนกฎหมายและระเบียบของรัฐนั้น หรือ - การทำการประมงโดยเรือประมงของรัฐที่เป็นภาคีสมาชิกขององค์การบริหารจัดการประมงระดับภูมิภาค (RFMOs) แต่ได้ดำเนินการที่ฝ่าฝืนมาตรการอนุรักษ์และจัดการของ RFMOs ซึ่งรัฐนั้นมีข้อ ผูกพัน หรือฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง หรือ - การทำการประมงฝ่าฝืนกฎหมายภายในของรัฐใด หรือพันธกรณีระหว่างประเทศ ที่รวมถึงการฝ่าฝืน กฎระเบียบขององค์การบริหารจัดการประมงระดับภูมิภาคที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกระทำโดยรัฐที่ให้ความร่วมมือ 2. การประมงที่ขาดการรายงาน (Unreported Fishing) หมายถึง กิจกรรมการทำการประมงที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้ - ไม่ได้แจ้ง หรือรายงานผลจับ หรือรายงานเท็จต่อหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายและ ระเบียบของรัฐนั้น หรือ - ไม่ได้แจ้ง หรือรายงานผลจับหรือรายงานเท็จต่อ RFMOs ในพื้นที่ความรับผิดชอบขององค์กรนั้น ซึ่ง เป็นการฝ่าฝืนวิธีการรายงานของ RFMOs 3. การทำการประมงที่ไร้การควบคุม (Unregulated Fishing) หมายถึง กิจกรรมการทำการประมงที่มี ลักษณะดังต่อไปนี้ - ในพื้นที่ความรับผิดชอบของ RFMOs โดยเรือที่ไม่มีสัญชาติ หรือเรือชักธงสัญชาติของรัฐที่ไม่ได้เป็น ประเทศสมาชิก หรือโดยเรือของกลุ่มประเทศที่ไม่มีสถานะเป็นรัฐ (Fishing entity) ในลักษณะที่ไม่ สอดคล้องหรือฝ่าฝืนต่อมาตรการอนุรักษ์และจัดการขององค์กรนั้น - ในพื้นที่ของประชากรสัตว์น้ำที่ยังไม่มีมาตรการการอนุรักษ์และจัดการ ในลักษณะที่ไม่สอดคล้องกับ ความรับผิดชอบของรัฐในการอนุรักษ์ทรัพยากรทะเลที่มีชีวิตภายใต้หลักกฎหมายระหว่างประเทศ |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
|