หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติการเพื่อความปลอดภัยเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินบนเรือประมง

สาขาวิชาชีพการเดินเรือ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MRT-NAAO-071A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติการเพื่อความปลอดภัยเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินบนเรือประมง

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักเดินเรือประมง, นักวิทยุสื่อสาร



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะสามารถควบคุมและแก้ไขเหตุการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นบนเรือประมง และสามารถให้ความช่วยเหลือบุคลากรบนเรือประมงในสถานการณ์ฉุกเฉินได้ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมการเดินเรือประมงพาณิชย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
  ISCO; 6222 ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงน้ำจืด และประมงชายฝั่งทะเล ISCO; 6223 ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงน้ำลึก

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
แนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยในการทำงานภาคประมงทะเล ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ปี พ.ศ.2556 กฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการออกใบสำคัญรับรองการตรวจเรือสำหรับเรือกลประมง พ.ศ. 2558 กรมเจ้าท่า

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
NF20301 ควบคุมและแก้ไขเหตุการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นบนเรือประมง 1.1 ปฏิบัติตามหน้าที่เมื่อเกิดไฟไหม้ NF20301.01 62316
NF20301 ควบคุมและแก้ไขเหตุการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นบนเรือประมง 1.2 ใช้เครื่องมือดับเพลิงพื้นฐาน NF20301.02 62317
NF20301 ควบคุมและแก้ไขเหตุการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นบนเรือประมง 1.3 ปฏิบัติตามหน้าที่เมื่อเรือโดนกัน NF20301.03 62318
NF20301 ควบคุมและแก้ไขเหตุการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นบนเรือประมง 1.4 ปฏิบัติตามหน้าที่ในการสละเรือ NF20301.04 62319
NF20301 ควบคุมและแก้ไขเหตุการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นบนเรือประมง 1.5 ทำการอุดปะและค้ำจุนเรือ NF20301.05 62320
NF20301 ควบคุมและแก้ไขเหตุการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นบนเรือประมง 1.6 แก้ไขการติดขัดของใบจักรเรือ NF20301.06 62321
NF20302 ให้ความช่วยเหลือบุคลากรเรือประมงในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2.1 จัดเตรียมเครื่องมือป้องกันอันตรายส่วนบุคคลให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ NF20302.01 62322
NF20302 ให้ความช่วยเหลือบุคลากรเรือประมงในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2.2 ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายในการทำงานสอดคล้องกับสถานการณ์ฉุกเฉิน NF20302.02 62323
NF20302 ให้ความช่วยเหลือบุคลากรเรือประมงในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2.3 สามารถห้ามเลือดได้ NF20302.03 62324
NF20302 ให้ความช่วยเหลือบุคลากรเรือประมงในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2.4 ให้ความช่วยเหลือคนตกน้ำด้วยการผายปอดเบื้องต้น NF20302.04 62325
NF20302 ให้ความช่วยเหลือบุคลากรเรือประมงในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2.5 เข้าเฝือกอ่อนเบื้องต้นได้ NF20302.05 62326
NF20302 ให้ความช่วยเหลือบุคลากรเรือประมงในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2.6 จัดเตรียมยาสามัญประจำบ้านไว้บนเรือพร้อมใช้งาน NF20302.06 62327
NF20302 ให้ความช่วยเหลือบุคลากรเรือประมงในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2.7 ให้ความช่วยเหลือผู้ที่สูญเสียความร้อนในร่างกายได้ NF20302.07 62328
NF20302 ให้ความช่วยเหลือบุคลากรเรือประมงในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2.8 ให้ความช่วยเหลือผู้ที่สูญได้รับบาดเจ็บจากไฟไหม้และน้ำร้อนลวก NF20302.08 62329

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • มีทักษะในการผจญเพลิง

  • ทักษะการแก้ปัญหาเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

  • ทักษะการใช้อุปกรณ์ช่วยชีวิต

  • ทักษะในการใช้อุปกรณ์ปฐมพยาบาล

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ความรู้เรื่องการดำรงชีพในทะเลและความปลอดภัยในทะเลตามกฏข้อบังคับของมาตรฐานเดินเรือประมงสากล เช่น การดำรงชีพในทะเล การผจญเพลิง การช่วยเหลือผู้ตกน้ำ เป็นต้น

  • ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีการเกิดไฟ

  • การใช้เครื่องมือดับเพลิง

  • ความรู้ในการปฐมพยาบาล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • หนังสือคนประจำเรือ (SEAMAN Book)

  • หนังสือคนประจำเรือ (SEA Book) สำหรับแรงงานต่างด้าว

  • แบบบันทึกรายการผลจากการสังเกต



หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  • ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถของผู้ทําการในเรือ ฝ่ายเดินเรือ จากกรมเจ้าท่า

  • เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรมที่เกี่ยวข้อง



คำแนะนำในการประเมิน




  • ผู้ประเมินตรวจประเมิน โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



วิธีการประเมิน




  • การสัมภาษณ์

  • สาธิตการปฏิบัติงาน

  • จำลองสถานการณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

            การปฏิบัติเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินบนเรือประมงภายใต้หน่วยสมรรถนะนี้ เป็นกิจกรรมที่เรือทุกลำต้องมีการจัดทำแผนในการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินบนเรือ หรือแผนฉุกเฉินประจำเรือ ซึ่งอยู่ภายใต้ข้อกำหนด การเดินเรือสากล และแผนดังกล่าวจะกำหนดให้มีการฝึกประจำ



คำแนะนำ




  • ทำความเข้าใจแผนฉุกเฉินบนเรือ

  • ใช้ทักษะและความรู้ตามข้อ 13 (ก) และ (ข)



คำอธิบายรายละเอียด




  • N/A


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • การสัมภาษณ์

  • สาธิตการปฏิบัติงาน

  • จำลองสถานการณ์



 



ยินดีต้อนรับ