หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ใช้หลักอุตุนิยมวิทยา และสมุทรศาสตร์เพื่อคาดการณ์การเดินเรือ

สาขาวิชาชีพการเดินเรือ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MRT-USIM-063A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ใช้หลักอุตุนิยมวิทยา และสมุทรศาสตร์เพื่อคาดการณ์การเดินเรือ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักเดินเรือประมง, ลูกเรือประมง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะสามารถใช้ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาเพื่อการเดินเรือได้ใช้ข้อมูลสมุทรศาสตร์เพื่อการเดินเรือได้และปฏิบัติตามแผนฉุกเฉินในการควบคุมเรือในสภาพอากาศแปรปรวน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมการเดินเรือประมงพาณิชย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO; 6222 ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงน้ำจืด และประมงชายฝั่งทะเลISCO; 6223 ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงน้ำลึกISCO; 8350 ลูกเรือและผู้ปฏิบัติงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
NF10601 ใช้ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาเพื่อการเดินเรือ 1.1 ใช้เครื่องมือรับข่าวอากาศบนเรือ NF10601.01 62248
NF10601 ใช้ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาเพื่อการเดินเรือ 1.2 ประเมินและวิเคราะห์อันตรายของสภาพอากาศต่อตัวเรือและการเดินเรือ NF10601.02 62249
NF10601 ใช้ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาเพื่อการเดินเรือ 1.3 วางแผนในการกำหนดเส้นทางเดินเรือใหม่ ในกรณีมีสภาพอากาศแปรปรวนอันจะส่งผลต่อการเดินเรือ NF10601.03 62250
NF10601 ใช้ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาเพื่อการเดินเรือ 1.4 จัดเก็บของ อุปกรณ์ เครื่องมือประมงให้แน่นหนา ในกรณีที่ต้องเผชิญสภาพอากาศแปรปรวน NF10601.04 62251
NF10601 ใช้ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาเพื่อการเดินเรือ 1.5 ใช้ความเร็วเรือได้อย่างเหมาะสมในขณะเผชิญสภาพอากาศแปรปรวน NF10601.05 62252
NF10601 ใช้ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาเพื่อการเดินเรือ 1.6 ปฏิบัติตามแผนฉุกเฉินในการควบคุมเรือในสภาพอากาศแปรปรวน NF10601.06 62253
NF10602 ใช้ข้อมูลสมุทรศาสตร์เพื่อการเดินเรือ 2.1 ใช้ข้อมูลข่าวสารของกรมอุทกศาสตร์ในเรื่องการขึ้น-ลงสูงสุดของน้ำ NF10602.01 62254
NF10602 ใช้ข้อมูลสมุทรศาสตร์เพื่อการเดินเรือ 2.2 คำนวณเวลาและความสูงของน้ำขึ้นน้ำลงในการวางแผนเดินเรือ NF10602.02 62255
NF10602 ใช้ข้อมูลสมุทรศาสตร์เพื่อการเดินเรือ 2.3 ประมาณการทิศทางและอัตราการเปลี่ยนแปลงของน้ำขึ้นน้ำลง NF10602.03 62256
NF10602 ใช้ข้อมูลสมุทรศาสตร์เพื่อการเดินเรือ 2.4 คำนวณการบรรทุกสัตว์น้ำที่จับได้สอดคล้องกับอัตราการกินน้ำลึกของเรือ และระดับความลึกของน้ำ NF10602.04 62257
NF10602 ใช้ข้อมูลสมุทรศาสตร์เพื่อการเดินเรือ 2.5 ใช้ข้อมูลการขึ้น-ลงของน้ำในการวางแผนนำเรือขึ้นคานหรือเกยฝั่ง NF10602.05 62258

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ทักษะการคาดการณ์/พยากรณ์อากาศ

  • ทักษะการอ่านร่องคลื่น เช่น คลื่นลม (Wind wave)  และคลื่นหัวเรียบ (Swell) เป็นต้น

  • ทักษะการหาที่กำบังลม

  • ทักษะการถือท้ายเรือ

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ความรู้ด้านอุตุนิยมวิทยาเบื้องต้น เช่น การเกิดพายุ หย่อมความกดอากาศ แนวปะทะอากาศ ฯลฯ

  • ความรู้ด้านสมุทรศาสตร์เบื้องต้น เช่น กระแสลมประจำฤดูกาลต่างๆ การขึ้นลงของน้ำ ร่องน้ำ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • หนังสือคนประจำเรือ (SEAMAN Book)

  • หนังสือคนประจำเรือ (SEA Book) สำหรับแรงงานต่างด้าว

  • แบบบันทึกรายการผลจากการสังเกต



หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  • ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถของผู้ทําการในเรือ ฝ่ายเดินเรือ จากกรมเจ้าท่า




  • เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรมที่เกี่ยวข้อง



คำแนะนำในการประเมิน




  •  ผู้ประเมินตรวจประเมิน โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



วิธีการประเมิน




  • การสัมภาษณ์

  • สาธิตการปฏิบัติงาน

  • จำลองสถานการณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

           การใช้หลักอุตุนิยมวิทยา (Meteorology) เพื่อคาดการณ์การเดินเรือ เป็นการประเมินสภาพอากาศต่างๆ ที่เกิดขึ้น หรือคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ที่จะส่งผลกระทบต่อการเดินเรือได้ อาทิ ลมประจำฤดูกาล ลมประจำถิ่น อิทธิพลของลม ทัศนวิสัยในทะเล พายุฝนฟ้าคะนอง ลมแรง ฝนหนัก พายุหมุนเขตร้อนในระดับความรุนแรงต่างๆ รวมไปจนถึงตำแหน่งที่เกิดสภาพอาหาศนั้น และ/หรือทิศทางการเคลื่อนตัวของสภาพอากาศเหล่านั้น ทั้งนี้เพื่อให้การเดินเรือเป็นไปด้วยความปลอดภัย



           การใช้หลักสมุทรศาสตร์ (Oceanography) เพื่อคาดการณ์การเดินเรือ เป็นใช้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพของทะเล/มหาสมุทร ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการเดินเรือได้ อาทิ น้ำขึ้น - น้ำลง กระแสน้ำ คลื่น อุณหภูมิ ความหนาแน่น การหมุนเวียนของน้ำ เสียงในทะเล ผิวหน้าน้ำทะเล ความโปร่งแสงของน้ำทะเล เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้การเดินเรือเป็นไปด้วยความปลอดภัย



คำแนะนำ




  • รายงานสภาพอากาศ จากกรมอุตุนิยมวิทยา

  • ข้อมูลข่าวสาร จากประกาศชาวเรือ

  • ใช้ทักษะและความรู้ตามข้อ 13 (ก) และ (ข)



คำอธิบายรายละเอียด




  • สมุทรศาสตร์ (Oceanography) เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งซึ่งมีความเกี่ยวพันกับวิทยาศาสตร์แขนงอื่น ๆ อีกหลายสาขาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาให้เกิดความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับทะเลและมหาสมุทร ซึ่งในการเดินเรือ นักเดินเรือจะเน้นในสองส่วนหลักของสมุทรศาสตร์ คือ

    1. สมุทรศาสตร์กายภาพ (Physical Oceanography) การศึกษาลักษณะทางกายภาพของทะเล  และมหาสมุทรได้แก่ น้ำขึ้น - น้ำลง กระแสน้ำ คลื่น อุณหภูมิ ความหนาแน่น การหมุนเวียนของน้ำ เสียงในทะเล  ความโปร่งแสงของน้ำทะเล เป็นต้น

    2. สมุทรศาสตร์อุตุนิยมวิทยา (Meteorological Oceanography) ศึกษาถึงปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างบรรยากาศ และผิวหน้าน้ำทะเล ลม และผลจากอิทธิพลของลม ทัศนวิสัยในทะเล และองค์ประกอบทางอุตุนิยมวิทยาอื่น ๆ ในทะเล



  • เครื่องมือรับข่าวอากาศ เป็นอุปกรณ์ช่วยในการเดินเรือชนิดหนึ่งที่กำหนดเป็นมาตรฐานความปลอดภัยในการเดิน ซึ่งเรือเดินทะเลต้องมีการติดตั้งตามข้อกำหนดการตรวเรือของรัฐที่เจ้าเรือจดทะเบียน มีหลักๆสองประเภทคือ NAVTEX และ เครื่องรับแฟกซ์ข่าวอากาศ สำหรับเรือประมงชาวฝั่งส่วนสามารถมีช่องทางในการรับข่าวอากาศจากหลายช่องทาง เช่น รายงานสภาพอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา เป็นต้น

  • ประกาศชาวเรือ หมายถึง ข่าวสารและคำแนะนำใด ๆ ซึ่งออกประกาศโดยสำนักงานอุทกศาสตร์ มีจุดประสงค์เพื่อจะเตือนชาวเรือให้ทราบข่าวสารต่าง ๆ แต่ข่าวสาร นั้นมีลักษณะซึ่งอาจมิได้ระบุถึงเอกสารการเดินเรือหนึ่งใดโดยเฉพาะ ประกาศนี้จะครอบคลุมถึงสิ่งต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น ข่าวสารที่เกี่ยวกับการเดินเรือขนิดต่าง ๆ การจำหน่ายและการมีครอบครองของบรรณสารการเดินเรือ ความปลอดภัยในการเดินเรือ และการป้องกันชีวิตมนุษย์ในทะเล


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การสัมภาษณ์



สาธิตการปฏิบัติงาน



จำลองสถานการณ์



 



ยินดีต้อนรับ