หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เดินเรือด้วยเรดาร์

สาขาวิชาชีพการเดินเรือ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MRT-HMMQ-060A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เดินเรือด้วยเรดาร์

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักเดินเรือประมง, ลูกเรือประมง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะสามารถปฏิบัติงานเดินเรือโดยการใช้ระบบเรดาร์ รวมไปถึงการใช้เรดาร์เพื่อหลีกเลี่ยงการโดนกันของเรือประมง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมการเดินเรือประมงพาณิชย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO; 6222 ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงน้ำจืด และประมงชายฝั่งทะเล ISCO; 6223 ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงน้ำลึก ISCO; 8350 ลูกเรือและผู้ปฏิบัติงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ข้อบังคับกรมเจ้าท่าว่าด้วยการสอบความรู้ผู้ปฏิบัติการบนเรือ ฝ่ายเดินเรือ พ.ศ.2557

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
NF10301 ปฏิบัติงานโดยการใช้ระบบเรดาร์ 1.1 บอกหลักการพื้นฐานของระบบเรดาร์ NF10301.01 62222
NF10301 ปฏิบัติงานโดยการใช้ระบบเรดาร์ 1.2 เปิด/ปิดและใช้งานเรดาร์ NF10301.02 62223
NF10301 ปฏิบัติงานโดยการใช้ระบบเรดาร์ 1.3 แก้ไขปัญหาเบื้องต้นของเรดาร์ (RadarResolution) NF10301.03 62224
NF10301 ปฏิบัติงานโดยการใช้ระบบเรดาร์ 1.4 วัดระยะ (Range Measurement) จากเรดาร์ NF10301.04 62225
NF10301 ปฏิบัติงานโดยการใช้ระบบเรดาร์ 1.5 จำแนกภาพ และภาพหลอก (FalseEchoes) NF10301.05 62226
NF10301 ปฏิบัติงานโดยการใช้ระบบเรดาร์ 1.6 วิเคราะห์การสะท้อนหลายภาพ (MultipleEchoes) บนจอเรดาร์ NF10301.06 62227
NF10301 ปฏิบัติงานโดยการใช้ระบบเรดาร์ 1.7 ระบุภาพสะท้อนที่เป็นเส้น (Side-lobe Echoes) บนจอเรดาร์ NF10301.07 62228
NF10301 ปฏิบัติงานโดยการใช้ระบบเรดาร์ 1.8 ระบุด้านบอด ด้านสะท้อน (Blindand Shadow Sectors) บนจอเรดาร์ NF10301.08 62229
NF10301 ปฏิบัติงานโดยการใช้ระบบเรดาร์ 1.9 การใช้เส้นแบริ่ง 2 เส้น (Two Bearing) หาตำบลที่บนเรดาร์ NF10301.09 62230
NF10302 ใช้เรดาร์เพื่อหลีกเลี่ยงการโดนกันของเรือ 2.1 คำนวณเส้นทางและความเร็วของเรือ NF10302.01 62231
NF10302 ใช้เรดาร์เพื่อหลีกเลี่ยงการโดนกันของเรือ 2.2 ค้นหาเส้นทางและความเร็วที่เปลี่ยนไปของเรือลำอื่น NF10302.02 62232
NF10302 ใช้เรดาร์เพื่อหลีกเลี่ยงการโดนกันของเรือ 2.3 คำนวณเวลาและระยะทางของการเข้าใกล้จุดตัดกันและพบกัน NF10302.03 62233
NF10302 ใช้เรดาร์เพื่อหลีกเลี่ยงการโดนกันของเรือ 2.4 ตั้งสัญญานเตือนในการเข้าใกล้กันของเรือสองลำบนจอเรดาร์ NF10302.04 62234
NF10302 ใช้เรดาร์เพื่อหลีกเลี่ยงการโดนกันของเรือ 2.5 ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับระหว่างประเทศเพื่อป้องกันเรือโดนกันในทะเล NF10302.05 62235

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ทักษะการประเมินทิศทางและความเร็วของเป้าหมาย

  • ทักษะการใช้เรดาร์ในการควบคุมการเดินเรือ

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรดาร์

  • วิชาเครื่องช่วยการเดินเรือ ตามหลักสูตรในข้อบังคับกรมเจ้าท่าว่าด้วยการสอบความรู้ผู้ทำการในเรือ ฝ่ายเดินเรือ ปี พ.ศ.2557 ว่าด้วยการเดินเรือด้วยเรดาร์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • หนังสือคนประจำเรือ (SEAMAN Book)

  • หนังสือคนประจำเรือ (SEA Book) สำหรับแรงงานต่างด้าว

  • แบบบันทึกรายการผลจากการสังเกต



หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  • ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถของผู้ทําการในเรือ ฝ่ายเดินเรือ จากกรมเจ้าท่า

  • เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรมที่เกี่ยวข้อง



คำแนะนำในการประเมิน




  • ผู้ประเมินตรวจประเมิน โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



วิธีการประเมิน




  • การสัมภาษณ์

  • การจำลองสถานการณ์

  • การสาธิตการปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

           การเดินเรือด้วยเรดาร์ เป็นการควบคุมการเดินเรือโดยใช้เรดาร์ในการเดินเรือ ภายใต้สภาพที่มีทัศนะวิสัยจำกัด เช่น มีหมอกหนา การจราจรคับคั่ง เวลากลางคืน หรือมีฝนตกหนัก เป็นต้น โดยครอบคลุมเรดาร์ 2 รุ่นหลักตามคลื่นความถี่คือ X-band และ S-band โดยทั่วไป X-band จะมีกำลังส่งมาตรฐานอยู่ที่ 4-25 kW และ S-band จะมีกำลังส่งมาตรฐานอยู่ที่ 30 kW



คำแนะนำ




  • การใช้งานเรดาร์ให้พิจารณาจากคู่มือการใช้งานเรดาร์ที่มีคลื่นความถี่ X-band และ S-band เท่านั้น

  • การใช้รัศมีเรดาร์ สามารถใช้ได้ทั้งแบบคลื่นความถี่สั้น และคลื่นความถี่ยาว

  • ใช้ทักษะและความรู้ตามข้อ 13 (ก) และ (ข)



คำอธิบายรายละเอียด




  • เรดาร์เดินเรือ (Marine Radar หรือ Navigational Radar) เป็นเครื่องมืออิเลคทรอนิคที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางสำหรับเรือแทบทุกชนิด เรดาร์เป็นระบบที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในการระบุระยะทาง ความสูง ทิศทาง ความเร็วของวัตถุที่อยู่กับที่และเคลื่อนที่ เช่น เครื่องบิน เรือ เครื่องส่งจะส่งคลื่นวิทยุออกมา แล้วไปสะท้อนกับวัตถุเป้าหมายและเครื่องรับจะจับสัญญาณที่สะท้อนกลับออกมา เครื่องมือนี้ใช้ในการหาความเร็ว ทิศทางและระยะทางของวัตถุ ดังนั้นจึงมีประโยชน์ในการค้นหาสิ่งกีดขวางในการเดินเรือและใช้ในการหาที่เรือลักษณะการทางานเบื้องต้นของเรดาร์นั้น จะได้แยกอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ได้แก่ ระยะต่ำสุดและระยะสูงสุด

  • ระยะต่ำสุด (Minimum Range) เมื่อเรดาร์ถูกใช้เป็นอุปกรณ์ช่วยเหลือเพื่อ ไม่ให้เกิดการชนหรือปะทะกันระหว่างเรือกับเรือ หรือเรือกับวัตถุต่าง ๆ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ในระยะใกล้ ๆ และมันเป็นอันตรายอย่างมากถ้าเป้าหมายหรือวัตถุใกล้เข้ามายังเรือแต่ไม่มีภาพปรากฏให้เห็นบนจอภาพ การค้นหาเป้าหมายในระยะใกล้ ๆ ต้องขึ้นอยู่กับความสูงของสายอากาศ (ซึ่งมีการแพร่กระจายคลื่นทางแนวตั้ง) ที่อยู่เหนือพื้นน้ำ

  • ระยะสูงสุด (Maximum Range) การจับภาพในระยะสูงสุดของเรดาร์ (Rmax) จะต้องขึ้นอยู่กับหลายองค์ประกอบ เช่น ความสูงของสายอากาศเหนือพื้นน้ำ ความสูงของเป้าเหนือพื้นน้ำ ขนาดของเป้าหมาย รูปร่างและวัตถุซึ่งเป็นเป้าหมาย และความโค้งของพื้นผิวโลกและชั้นบรรยากาศก็ถือเป็นส่วนประกอบสำคัญ ระยะสูงสุดจะเท่ากับระยะของเส้นขอบฟ้าหรือสั้นกว่า ในความเป็นจริงเส้นขอบฟ้าจะยาวกว่าการมองด้วยตาเปล่าประมาณ 6%   


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การสัมภาษณ์]



การจำลองสถานการณ์



การสาธิตการปฏิบัติ



 



ยินดีต้อนรับ