หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณการประมง

สาขาวิชาชีพการเดินเรือ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MRT-EIDF-076A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณการประมง

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักเดินเรือประมง, ลูกเรือประมง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะสามารถเข้าใจหลักการประมงที่ยั่งยืน หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องมือผิดประเภท และมีการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมการเดินเรือประมงพาณิชย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
  ISCO; 6222 ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงน้ำจืด และประมงชายฝั่งทะเล ISCO; 6223 ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงน้ำลึก ISCO; 8350 ลูกเรือและผู้ปฏิบัติงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ประกาศกรมประมงเรื่อง แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยการป้องกัน  ยับยั้งและขจัดการทําการประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม  พ.ศ.2558 – 2562 และแผนการบริหารจัดการประมงทะเลของประเทศไทย นโยบายแห่งชาติด้านการจัดการประมงทะเล  พ.ศ.  2558 – 2562

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
NF20801 เข้าใจหลักการประมงที่ยั่งยืน 1.1 หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องมือผิดประเภท NF20801.01 62381
NF20801 เข้าใจหลักการประมงที่ยั่งยืน 1.2 หลีกเลี่ยงการจับลูกปลาเศรษฐกิจ NF20801.02 62382
NF20801 เข้าใจหลักการประมงที่ยั่งยืน 1.3 หลีกเลี่ยงการจับปลาในฤดูวางไข่และฤดูหวงห้าม และเขตหวงห้าม NF20801.03 62383
NF20801 เข้าใจหลักการประมงที่ยั่งยืน 1.4 อธิบายมาตรการในการควบคุมจำนวน ขนาดและประเภทของเครื่องมือประมง NF20801.04 62384
NF20802 ใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า 2.1 ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด NF20802.01 62385
NF20802 ใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า 2.2 ใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด NF20802.02 62386

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ทักษะการใช้ความเร็วของเรือที่เหมาะสมและประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง (Speed operating optimization)

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ข้อเสนอแนะและแนวทางการประมงแบบยั่งยืนของกรมประมง ตามพระราชกำหนดการประมง ปีพ.ศ.2558

  • กฎ ระเบียบป้องกันการประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU fishing) ปี พ.ศ.2553

  • ระบบติดตามเรือและเขตการทำประมง

  • การใช้พลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • หนังสือคนประจำเรือ (SEAMAN Book)

  • หนังสือคนประจำเรือ (SEA Book) สำหรับแรงงานต่างด้าว

  • แบบบันทึกรายการผลจากการสังเกต



หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  • ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถของผู้ทําการในเรือ ฝ่ายเดินเรือ จากกรมเจ้าท่า

  • เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรมที่เกี่ยวข้อง



คำแนะนำในการประเมิน




  • ผู้ประเมินตรวจประเมิน โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



วิธีการประเมิน




  • การสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

           จรรยาบรรณการประมงที่นำมาประยุกต์ใช้ในหน่วยสมรรถนะนี้ มีความครอบคลุมการประมงเฉพาะเรื่องของการบริหารและการจัดการประมง การจับสัตว์น้ำจากธรรมชาติ โดยเฉพาะจากท้องทะเล การผสมผสานการประมงกับการบริหารและการจัดการบริเวณชายฝั่ง และอุตสาหกรรมประมงและการค้า



คำแนะนำ




  • ทำการประมงในพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตจากกรมประมงเท่านั้น

  • ใช้ทักษะและความรู้ตามข้อ 13 (ก) และ (ข)



คำอธิบายรายละเอียด




  • จรรยาบรรณว่าด้วยการทำประมงอย่างรับผิดชอบ (Code of Conduct) เป็นกฎเกณฑ์ของมาตรฐานของพฤติกรรม และความประพฤติ ในการทำประมงด้วยความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันระหว่างประเทศ สามารถเป็นเอกสารอ้างอิงเบื้องต้น สำหรับองค์กรหรือบุคคลทั่วไปที่มีประโยชน์เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างมาตรฐานพฤติกรรมและกรอบทางกฎหมาย และขนบธรรมเนียม เพื่อการทำประมงอย่างมีความรับผิดชอบ เช่นการใช้ประโยชน์และการผลิตสัตว์น้ำ อย่างมีความรับผิดชอบ นอกจากนี้ จรรยาบรรณยังช่วยสนับสนุนความร่วมมือทางวิชาการ  และการเงินเพื่อให้การจัดการ อนุรักษ์ คุ้มครอง และการพัฒนาการประมงบรรลุผล ช่วยสนับสนุนการช่วยเหลือด้านการประมง ที่มีต่อความมั่นคงทางอาหารและการทำมาหากิน ประกันการรักษามาตรฐานที่ต้องการ ทางด้านสาธารณสุขและคุณภาพอาหาร โดยเน้นถึงความต้องการอาหารและโภชนาการ ของชุมชนท้องถิ่น  สนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศในการวิจัยด้านประมงและการถ่ายทอดทางเทคโนโลยี



                วัตถุประสงค์ของจรรยาบรรณฯ  กำหนดหลักการทำประมงด้วยความรับผิดชอบ ตามกฎหมายระหว่างประเทศกำหนดหลักการและบรรทัดฐาน เพื่อนำไปปฏิบัติในการกำหนดนโยบายของรัฐ เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง ด้วยความรับผิดชอบให้เป็นหลักอ้างอิงสำหรับในการออกกฎ ระเบียบ และมาตรการใหม่ หรือปรับปรุงกฎระเบียบ หรือมาตรการที่มีอยู่แล้ว ตามกรอบของกฎหมายในการทำประมงอย่างรับผิดชอบ   



                 สาระสำคัญของจรรยาบรรณ ฯ การใช้ประโยชน์สัตว์น้ำแบบยั่งยืน โดยให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม การจัดการเพาะเลี้ยง จะไม่เป็นผลเสียต่อระบบนิเวศวิทยา ทรัพยากรและคุณภาพ ของทรัพยากรธรรมชาติ การเพิ่มมูลค่าสัตว์น้ำจากการแปรสภาพ ต้องสอดคล้องกับมาตรฐานทางสุขอนามัย เพื่อผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่มีคุณภาพ สำหรับการบริโภคใช้เป็นหลักการแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการอนุรักษ์ จัดการ และการพัฒนาประมง เพื่อให้ประเทศต่างๆ นำไปใช้เป็นนโยบายและแผนปฏิบัติงาน ทางการประมงของประเทศ อย่างรับผิดชอบตามความสมัครใจ (Voluntary) โดยไม่มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายระหว่างประเทศ




  • กฎ ระเบียบป้องกันการประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU fishing) ปี พ.ศ.2553 ประกอบด้วยสามลักษณะต่อไปนี้




  1. การทำประมงที่ผิดกฎหมาย (Illegal Fishing) หมายถึง กิจกรรมการทำประมงที่มีลักษณะดังต่อไปนี้



            - การทำการประมงโดยเรือประมงไทย หรือเรือประมงต่างชาติในน่านน้ำภายใต้เขตอำนาจของรัฐใดๆ โดย ไม่ได้รับอนุญาต หรือฝ่าฝืนกฎหมายและระเบียบของรัฐนั้น หรือ



            - การทำการประมงโดยเรือประมงของรัฐที่เป็นภาคีสมาชิกขององค์การบริหารจัดการประมงระดับภูมิภาค (RFMOs) แต่ได้ดำเนินการที่ฝ่าฝืนมาตรการอนุรักษ์และจัดการของ RFMOs ซึ่งรัฐนั้นมีข้อ ผูกพัน หรือฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง หรือ



            - การทำการประมงฝ่าฝืนกฎหมายภายในของรัฐใด หรือพันธกรณีระหว่างประเทศ ที่รวมถึงการฝ่าฝืน กฎระเบียบขององค์การบริหารจัดการประมงระดับภูมิภาคที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกระทำโดยรัฐที่ให้ความร่วมมือ



       2. การประมงที่ขาดการรายงาน (Unreported Fishing) หมายถึง กิจกรรมการทำการประมงที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้



            - ไม่ได้แจ้ง หรือรายงานผลจับ หรือรายงานเท็จต่อหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายและ ระเบียบของรัฐนั้น หรือ



            - ไม่ได้แจ้ง หรือรายงานผลจับหรือรายงานเท็จต่อ RFMOs ในพื้นที่ความรับผิดชอบขององค์กรนั้น ซึ่ง เป็นการฝ่าฝืนวิธีการรายงานของ RFMOs 



       3. การทำการประมงที่ไร้การควบคุม (Unregulated Fishing) หมายถึง กิจกรรมการทำการประมงที่มี ลักษณะดังต่อไปนี้



           - ในพื้นที่ความรับผิดชอบของ RFMOs โดยเรือที่ไม่มีสัญชาติ หรือเรือชักธงสัญชาติของรัฐที่ไม่ได้เป็น ประเทศสมาชิก หรือโดยเรือของกลุ่มประเทศที่ไม่มีสถานะเป็นรัฐ (Fishing entity) ในลักษณะที่ไม่ สอดคล้องหรือฝ่าฝืนต่อมาตรการอนุรักษ์และจัดการขององค์กรนั้น



          - ในพื้นที่ของประชากรสัตว์น้ำที่ยังไม่มีมาตรการการอนุรักษ์และจัดการ ในลักษณะที่ไม่สอดคล้องกับ ความรับผิดชอบของรัฐในการอนุรักษ์ทรัพยากรทะเลที่มีชีวิตภายใต้หลักกฎหมายระหว่างประเทศ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • การสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ