หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

นำเรือและการบังคับเรือประมง

สาขาวิชาชีพการเดินเรือ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MRT-JMTW-064A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ นำเรือและการบังคับเรือประมง

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักเดินเรือประมง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะมีทักษะในการใช้เทคนิคสำหรับการบังคับและการนำเรือประมงบังคับและนำเรือประมงในทุกสภาวะแวดล้อม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมการเดินเรือประมงพาณิชย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
  ISCO; 6222 ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงน้ำจืด และประมงชายฝั่งทะเล ISCO; 6223 ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงน้ำลึก

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย ปีพ.ศ.2456 หมวดที่ 1 มาตรา 12 – 16 พระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน ปีพ.ศ.2522  หมวด ก – หมวด จ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
NF10701 ใช้เทคนิคสำหรับการบังคับและการนำเรือประมง 1.1 บังคับเรือในระหว่างที่ทำการประมง NF10701.01 62259
NF10701 ใช้เทคนิคสำหรับการบังคับและการนำเรือประมง 1.2 นำเรือเข้า-ออกท่าเทียบเรือ NF10701.02 62260
NF10701 ใช้เทคนิคสำหรับการบังคับและการนำเรือประมง 1.3 นำเรือเข้า-ออกท่าเทียบเรือข้างเรือลำอื่นในทะเล NF10701.03 62261
NF10702 บังคับและนำเรือประมงในทุกสภาวะแวดล้อม 2.1 ประเมินผลกระทบจากลมและกระแสน้ำในการนำเรือ NF10702.01 62262
NF10702 บังคับและนำเรือประมงในทุกสภาวะแวดล้อม 2.2 บังคับเรือในน้ำตื้น NF10702.02 62263
NF10702 บังคับและนำเรือประมงในทุกสภาวะแวดล้อม 2.3 พ่วงจูงและการถูกพ่วงจูง NF10702.03 62264
NF10702 บังคับและนำเรือประมงในทุกสภาวะแวดล้อม 2.4 ควบคุมเรือเข้าหาฝูงปลาและสัตว์น้ำที่จะทำการจับ NF10702.04 62265
NF10702 บังคับและนำเรือประมงในทุกสภาวะแวดล้อม 2.5 ใช้ความเร็วเรือที่เหมาะสมและปลอดภัยในขณะทำการปล่อยเครื่องมือประมง NF10702.05 62266
NF10702 บังคับและนำเรือประมงในทุกสภาวะแวดล้อม 2.6 ใช้อัตราเลี้ยวในการตีวงล้อมในการทำประมงแบบอวนล้อม NF10702.06 62267
NF10702 บังคับและนำเรือประมงในทุกสภาวะแวดล้อม 2.7 ใช้ความเร็วเรือที่เหมาะสมในขณะทำการลากอวนในเรือประมงแบบอวนลาก NF10702.07 62268
NF10702 บังคับและนำเรือประมงในทุกสภาวะแวดล้อม 2.8 ประเมินน้ำหนักและจำนวนสัตว์น้ำที่จับได้จากความเร็วและภาระของเครื่องยนต์ที่เปลี่ยนไป NF10702.08 62269

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ทักษะการควบคุมบังคับเรือ

  • ทักษะการอ่านร่องคลื่น เช่น คลื่นลม (Wind wave)  และคลื่นหัวเรียบ (Swell)

  • ทักษะการหาที่กำบังลม

  • ทักษะการถือท้ายเรือ

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ความรู้เรื่องวิชาการเรือที่ระบุในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย ปีพ.ศ.2456 หมวดที่ 1 มาตรา 12 - 16

  •  ความรู้ในระเบียบปฏิบัติการขออนุญาตนำเรือเข้าออกเมืองท่าต่างๆ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • หนังสือคนประจำเรือ (SEAMAN Book)

  • หนังสือคนประจำเรือ (SEA Book) สำหรับแรงงานต่างด้าว

  • แบบบันทึกรายการผลจากการสังเกต



หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  • ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถของผู้ทําการในเรือ ฝ่ายเดินเรือ จากกรมเจ้าท่า

  • เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรมที่เกี่ยวข้อง



คำแนะนำในการประเมิน




  • ผู้ประเมินตรวจประเมิน โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



วิธีการประเมิน




  • การสัมภาษณ์

  • การจำลองสถานการณ์

  • การสาธิตปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

           การนำเรือและบังคับเรือภายใต้หน่วยสมรรถนะนี้ ผู้ปฏิบัติงานต้องเข้าใจรูปแบบการเคลื่อนที่ของเรือ ได้แก่ การโคลง การโยน การแกว่ง การหมุนรอบตัว การแอ่นกลาง และการตกท้องช้าง รวมทั้ง การควบคุมถือท้ายเรือโดยเครื่องบังคับเลี้ยวของเรือประมงแต่ละประเภท



คำแนะนำ




  • การหลีกเลี่ยงการเดินเรือในพื้นที่หวงห้ามตามกฎหมายกำหนด ตามเขตพื้นที่ทำการประมงตามพระราชกำหนดการประมง กรมประมง พ.ศ. 2558 เช่น แนวเขตอนุรักษ์ประการังและพืชทะเลต่างๆ

  • ศึกษาและเข้าใจอัตราเลี้ยวของเรือ (Rate of turn) และพิสัยปฏิบัติการของเรือ

  •  ใช้ทักษะและความรู้ตามข้อ 13 (ก) และ (ข)



คำอธิบายรายละเอียด




  • N/A


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • การสัมภาษณ์

  • การจำลองสถานการณ์

  • การสาธิตปฏิบัติ



ยินดีต้อนรับ