หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ป้องกันปัญหา ปรับปรุง จัดการความเสี่ยงและโอกาส ในการทดสอบ

สาขาวิชาชีพไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EET-NVTG-072B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ป้องกันปัญหา ปรับปรุง จัดการความเสี่ยงและโอกาส ในการทดสอบ

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง

รหัสและอาชีพตาม ISCO-08 ได้แก่

รหัสอาชีพ 2413 : วิศวกรไฟฟ้า

รหัสอาชีพ 7241 : ช่างเครื่องและช่างปรับทางด้านอุปกรณ์ไฟฟ้ากําลัง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถป้องกันปัญหา ปรับปรุง จัดการความเสี่ยงและโอกาส ในการทดสอบผลิตภัณฑ์หม้อแปลงไฟฟ้ากำลังได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
EP421 คัดเลือกหัวข้อ ทำความเข้าใจสถานการณ์ และตั้งเป้าหมาย 38.1 สามารถอธิบายวิธีการคัดเลือกหัวข้อได้ EP421.01 145118
EP421 คัดเลือกหัวข้อ ทำความเข้าใจสถานการณ์ และตั้งเป้าหมาย 38.2 สามารถทำความเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันได้สอดคล้องกับสถานการณ์จริง EP421.02 145119
EP421 คัดเลือกหัวข้อ ทำความเข้าใจสถานการณ์ และตั้งเป้าหมาย 38.3 สามารถตั้งเป้าหมายการป้องกันปัญหาที่เหมาะสมได้ EP421.03 145120
EP422 วิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงของปัญหา กำหนดมาตรการ และวางแผนกิจกรรม 39.1 สามารถอธิบายหลักการ และวิธีการวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงของปัญหาได้ EP422.01 145121
EP422 วิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงของปัญหา กำหนดมาตรการ และวางแผนกิจกรรม 39.2 สามารถกำหนดและคัดเลือกมาตรการป้องกันได้สอดคล้องกับเป้าหมาย และสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาได้ EP422.02 145122
EP422 วิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงของปัญหา กำหนดมาตรการ และวางแผนกิจกรรม 39.3 สามารถวางแผนกิจกรรมจากมาตรการป้องกันที่กำหนดได้สอดคล้องกับเวลา และทรัพยากร EP422.03 145123
EP423 ดำเนินการ ประเมินผล และ จัดทำเป็นมาตรฐาน 40.1 สามารถดำเนินการตามมาตรการ และบันทึกกิจกรรมอย่างครบถ้วนถูกต้องได้ EP423.01 145124
EP423 ดำเนินการ ประเมินผล และ จัดทำเป็นมาตรฐาน 40.2 สามารถประเมินผลการดำเนินมาตรการได้ EP423.02 145125
EP423 ดำเนินการ ประเมินผล และ จัดทำเป็นมาตรฐาน 40.3 สามารถจัดทำเป็นมาตรฐานการทดสอบใหม่ได้ EP423.03 145126

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

(ก) ทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น

– ทักษะการคำนวณ

– ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ

– ทักษะการใช้งานโปรแกรมวิเคราะห์ผลทางสถิติ

(ข) ความรู้ก่อนหน้าที่จำเป็น

– ความรู้ในระดับพื้นฐานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง

– ความรู้ในระดับพื้นฐานเกี่ยวกับมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง

– ความรู้เกี่ยวกับสถิติ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

– ทักษะการใช้งาน The 7 QC Tools และ The 7 New QC Tools

– ทักษะการจัดลำดับความสำคัญ

– ทักษะการสังเกต

– ทักษะการสื่อสาร

(ข) ความต้องการด้านความรู้

– ความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกันปัญหา และโอกาสในการพัฒนาการทดสอบ

– ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการปรับปรุงการทำงานด้วย QC Story


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

– มีหลักฐานการผ่านงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือรับรองการทำงาน หรือใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือรายงานการจัดทำ QC Story หรือรายงานการวิจัย เป็นต้น

– มีอายุหลักฐานการปฏิบัติงานไม่เกิน 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นสมัคร

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

– ใบประกาศนียบัตร/บันทึกการผ่านการอบรม สัมมนา หรือหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง เช่น หลักการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง หรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง หรือสถิติเพื่อการวิจัย หรือการจัดการความเสี่ยง หรือQC Story เป็นต้น

– มีอายุหลักฐานความรู้ไม่เกิน 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นสมัคร

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยต้องแสดงถึง

– ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

– วิธีการปฏิบัติงาน

– มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

วิธีการประเมิน

– พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

– พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

มีทักษะและความรู้เกี่ยวกับ การคัดเลือกหัวข้อการทำความเข้าใจสถานการณ์และตั้งเป้าหมาย การวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงของปัญหา กำหนดมาตรการและวางแผนกิจกรรม การดำเนินการประเมินผลและ จัดทำเป็นมาตรฐาน

(ก) คำแนะนำ

– ให้ความสำคัญกับการยกระดับความถูกต้องให้เทียบเท่า หรือเหนือกว่ามาตรฐานและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง และการเพิ่มขีดความสามารถของการทดสอบ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

ข.1) วัตถุดิบ หรือ ข้อมูลนำเข้า

– ข้อมูลที่จำเป็น เช่น ข้อมูลงานที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด ข้อร้องเรียน ผลสะท้อนกลับจากลูกค้า ผลการตรวจประเมิน ผลการทดสอบความชำนาญ เป้าหมายและผลการดำเนินงานปัจจุบัน ข้อมูลที่จำเป็นในการวางแผน

ข.2) เครื่องมือ หรือ อุปกรณ์

– คอมพิวเตอร์ และซอพต์แวร์ที่จำเป็น

ข.3) ขั้นตอน ระเบียบหรือวิธีปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน

– การคัดเลือกหัวข้อ ทำความเข้าใจสถานการณ์ และตั้งเป้าหมาย

•    คัดเลือกหัวข้อ

•    ทำความเข้าใจสถานการณ์

•    ตั้งเป้าหมายการป้องกันปัญหา

– การวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงของปัญหา กำหนดมาตรการ และวางแผนกิจกรรม

•    วิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงของปัญหา

•    กำหนดมาตรการป้องกัน

•    วางแผนกิจกรรม

– การดำเนินการ ประเมินผล และจัดทำเป็นมาตรฐาน

•    ดำเนินการ และบันทึกกิจกรรม

•    ประเมินผล

•    จัดทำเป็นมาตรฐาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

– การสอบข้อเขียน และ/หรือ

– แฟ้มสะสมงาน



ยินดีต้อนรับ