หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดและทวนสอบวงจรการทดสอบผลิตภัณฑ์หม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง

สาขาวิชาชีพไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EET-BDZX-064B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดและทวนสอบวงจรการทดสอบผลิตภัณฑ์หม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง

รหัสและอาชีพตาม ISCO-08 ได้แก่

รหัสอาชีพ 2413 : วิศวกรไฟฟ้า

รหัสอาชีพ 7241 : ช่างเครื่องและชางปรับทางด้านอุปกรณ์ไฟฟ้ากําลัง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถกำหนดและทวนสอบวงจรการทดสอบผลิตภัณฑ์หม้อแปลงไฟฟ้ากำลังได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
IEC 60076 ในขอบเขตของ Power Transformerหรือ IEEE C57.12 ในขอบเขตของ Distribution and Power Transformerหรือ มอก. 384 : หม้อแปลงไฟฟ้ากำลังหรือ ข้อกำหนดของลูกค้า เป็นต้น

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
EP131 กำหนดวงจรการทดสอบที่เหมาะสม 10.1 สามารถกำหนดวงจรทดสอบให้สอดคล้องกับมาตรฐานได้ EP131.01 145036
EP131 กำหนดวงจรการทดสอบที่เหมาะสม 10.2 สามารถกำหนดวงจรทดสอบให้สอดคล้องกับหลักการทางวิศวกรรมไฟฟ้าได้ EP131.02 145037
EP131 กำหนดวงจรการทดสอบที่เหมาะสม 10.3 สามารถกำหนดมาตรการความปลอดภัยในการทดสอบได้ EP131.03 145038
EP132 ทวนสอบความใช้ได้ของวงจรการทดสอบ 11.1 สามารถอธิบายหลักการ และวิธีการเลือกวิธีทวนสอบความใช้ได้ของวงจรการทดสอบได้ EP132.01 145039
EP132 ทวนสอบความใช้ได้ของวงจรการทดสอบ 11.2 สามารถกำหนดเกณฑ์การตัดสินผลการทวนสอบวงจรการทดสอบได้ EP132.02 145040
EP132 ทวนสอบความใช้ได้ของวงจรการทดสอบ 11.3 สามารถวิเคราะห์ และประเมินผลความใช้ได้ของวงจรการทดสอบได้ EP132.03 145041

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

(ก) ทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น

– ทักษะภาษาอังกฤษ

– ทักษะการคำนวณ

(ข) ความรู้ก่อนหน้าที่จำเป็น

– ความรู้ในระดับพื้นฐานเกี่ยวกับมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง

– ความรู้ในระดับพื้นฐานเกี่ยวกับหลักการ และความปลอดภัยในการทดสอบไฟฟ้าแรงสูง

– ความรู้ในระดับพื้นฐานเกี่ยวกับหลักการทางวิศวกรรมไฟฟ้า


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

– ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล

– ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ

– ทักษะการประเมิน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

– ความรู้ในระดับเข้าใจ และประยุกต์เกี่ยวกับมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง

– ความรู้ในระดับเข้าใจ และประยุกต์เกี่ยวกับหลักการ และความปลอดภัยในการทดสอบไฟฟ้าแรงสูง

– ความรู้ในระดับเข้าใจ และประยุกต์เกี่ยวกับหลักการทางวิศวกรรมไฟฟ้า

– ความรู้ในระดับเข้าใจ และประยุกต์เกี่ยวกับการทวนสอบความใช้ได้


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

– มีหลักฐานการผ่านงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือรับรองการทำงาน หรือใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือหน่วยงานต้นสังกัด หรือแผนภาพวงจรการทดสอบ หรือรายงานการทวนสอบความใช้ได้ของวงจรการทดสอบ เป็นต้น

– มีอายุหลักฐานการปฏิบัติงานไม่เกิน 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นสมัคร

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

– ใบประกาศนียบัตร/บันทึกการผ่านการอบรม สัมมนา หรือหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง เช่น หลักการหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง หรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง หรือหลักการที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทดสอบไฟฟ้าแรงสูง หรือหลักการที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมไฟฟ้า หรือหลักการที่เกี่ยวข้องกับการทวนสอบ เป็นต้น

– มีอายุหลักฐานความรู้ไม่เกิน 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นสมัคร

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยต้องแสดงถึง

– ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

– วิธีการปฏิบัติงาน

– มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

วิธีการประเมิน

– พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

– พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

มีทักษะและความรู้เกี่ยวกับ การกำหนดและทวนสอบวงจรการทดสอบผลิตภัณฑ์หม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง

(ก) คำแนะนำ

– ให้ความสำคัญกับรูปแบบวงจรที่เหมาะสม และความใช้ได้ของวงจรการทดสอบ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

ข.1) วัตถุดิบ หรือ ข้อมูลนำเข้า

– ข้อมูลที่จำเป็น เช่น มาตรฐานการทดสอบ ทฤษฎีทางวิศวกรรมไฟฟ้า มาตรฐานความปลอดภัย เป็นต้น

ข.2) เครื่องมือ หรือ อุปกรณ์

– คอมพิวเตอร์ และซอพต์แวร์ที่จำเป็น

ข.3) ขั้นตอน ระเบียบหรือวิธีปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน

การกำหนดวงจรการทดสอบที่เหมาะสม

– ระบุเงื่อนไข และตัวแปร ในการทดสอบ

– กำหนดพื้นที่ และอุปกรณ์ช่วยทดสอบ เช่น แคปปาซิเตอร์ เป็นต้น

– กำหนดวงจรในการทดสอบ

– กำหนดมาตรการความปลอดภัยในการทดสอบ

– การทวนสอบทวนการสอบความใช้ได้ของวงจรการทดสอบ

– เลือกวิธีและเครื่องมือในการทวนสอบความใช้ได้ของวงจรการทดสอบ

– กำหนดเกณฑ์การตัดสินผลการทวนสอบ

– วิเคราะห์ และประเมินผลความใช้ได้ของวงจรการทดสอบ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

– การสอบข้อเขียน และ/หรือ

– แฟ้มสะสมงาน



ยินดีต้อนรับ