หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ทบทวนความต้องการการทดสอบผลิตภัณฑ์หม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง

สาขาวิชาชีพไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EET-JUFT-062B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ทบทวนความต้องการการทดสอบผลิตภัณฑ์หม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง

รหัสและอาชีพตาม ISCO-08 ได้แก่

รหัสอาชีพ 2413 : วิศวกรไฟฟ้า

รหัสอาชีพ 7241 : ช่างเครื่องและช่างปรับทางด้านอุปกรณ์ไฟฟ้ากําลัง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถทบทวนความต้องการการทดสอบผลิตภัณฑ์หม้อแปลงไฟฟ้ากำลังได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
IEC 60076 ในขอบเขตของ Power Transformerหรือ IEEE C57.12 ในขอบเขตของ Distribution and Power Transformerหรือ มอก. 384 : หม้อแปลงไฟฟ้ากำลังหรือ ข้อกำหนดของลูกค้า เป็นต้น

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
EP111 ทบทวนความต้องการ และข้อกำหนดทางเทคนิคของลูกค้า 1.1 สามารถอธิบายวิธีการทบทวน และหลักการประเมินความสามารถในการทำตามข้อกำหนดทางเทคนิคของลูกค้า EP111.01 145007
EP111 ทบทวนความต้องการ และข้อกำหนดทางเทคนิคของลูกค้า 1.2 สามารถอ่านแบบผลิตภัณฑ์ และข้อกำหนดทางเทคนิค เพื่อจำแนกประเภท และชนิดของผลิตภัณฑ์ EP111.02 145008
EP111 ทบทวนความต้องการ และข้อกำหนดทางเทคนิคของลูกค้า 1.3 สามารถประเมินความสอดคล้องของความต้องการ และข้อกำหนดทางเทคนิคของลูกค้า EP111.03 145009
EP112 ทบทวนภาวะแวดล้อมในการทดสอบ 2.1 สามารถอธิบายวิธีการทบทวน และหลักการประเมินความสอดคล้องของภาวะแวดล้อมในการทดสอบ EP112.01 145010
EP112 ทบทวนภาวะแวดล้อมในการทดสอบ 2.2 สามารถอ่านผลจากเครื่องมือวัดภาวะแวดล้อมในการทดสอบ EP112.02 145011
EP112 ทบทวนภาวะแวดล้อมในการทดสอบ 2.3 สามารถประเมินความสอดคล้องของภาวะแวดล้อมในการทดสอบ EP112.03 145012
EP113 ทบทวนเครื่องมือวัดในการทดสอบ 3.1 สามารถอธิบายวิธีการทบทวน และหลักการประเมินความสอดคล้องของเครื่องมือวัดในการทดสอบ EP113.01 145013
EP113 ทบทวนเครื่องมือวัดในการทดสอบ 3.2 สามารถอ่านข้อกำหนดทางเทคนิค และผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดในการทดสอบ EP113.02 145014
EP113 ทบทวนเครื่องมือวัดในการทดสอบ 3.3 สามารถประเมินความสอดคล้องของเครื่องมือวัดในการทดสอบ EP113.03 145015
EP114 ทบทวนอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกในการทดสอบ 4.1 สามารถอธิบายวิธีการทบทวน และหลักการประเมินความสอดคล้องของเครื่องมือ และสิ่งอำนวยความสะดวก EP114.01 145016
EP114 ทบทวนอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกในการทดสอบ 4.2 สามารถอ่านข้อกำหนดทางเทคนิค และผลการบำรุงรักษาอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก EP114.02 145017
EP114 ทบทวนอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกในการทดสอบ 4.3 สามารถประเมินความสอดคล้องของอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกในการทดสอบ EP114.03 145018
EP115 ทบทวนความเสี่ยงในการทดสอบ 5.1 สามารถอธิบายวิธีการทบทวนความเสี่ยงในการทดสอบในแต่ละด้าน EP115.01 145019
EP115 ทบทวนความเสี่ยงในการทดสอบ 5.2 สามารถระบุปัจจัยเสี่ยง ประเมินระดับความเสี่ยง ในแต่ละด้าน EP115.02 145020
EP115 ทบทวนความเสี่ยงในการทดสอบ 5.3 สามารถวิเคราะห์และประเมินมาตรการการจัดการความเสี่ยง EP115.03 145021

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

(ก) ทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น

– ทักษะภาษาอังกฤษ

– ทักษะการอ่านแบบผลิตภัณฑ์ และข้อกำหนดทางเทคนิค

– ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์

(ข) ความรู้ก่อนหน้าที่จำเป็น

– ความรู้เกี่ยวกับชนิด และประเภทหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง

– ความรู้ในระดับรู้หลักการเกี่ยวกับมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง

– ความรู้ในระดับพื้นฐานเกี่ยวกับเครื่องมือวัด การอ่านค่า และการสอบเทียบ

– ความรู้ในระดับพื้นฐานเกี่ยวกับการบำรุงรักษาเครื่องมือวัด อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก

– ความรู้ในระดับพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยง


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

– ทักษะการคิดวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจ

– ทักษะการประเมิน

– ทักษะการสื่อสาร

(ข) ความต้องการด้านความรู้

– ความรู้หลักการประเมินและเลือกขอบเขตหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง

– ความรู้ในระดับเข้าใจ และประยุกต์ เกี่ยวกับมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง

– ความรู้ในระดับเข้าใจ และประยุกต์เกี่ยวกับเครื่องมือวัด การอ่านค่า และการสอบเทียบ

– ความรู้ในระดับเข้าใจ และประยุกต์เกี่ยวกับการบำรุงรักษาเครื่องมือวัด อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก

– ความรู้ในระดับเข้าใจ และประยุกต์เกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

– มีหลักฐานการผ่านงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือรับรองการทำงาน หรือใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือหน่วยงานต้นสังกัด หรือใบทบทวนข้อตกลง เป็นต้น

– มีอายุหลักฐานการปฏิบัติงานไม่เกิน 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นสมัคร

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

– ใบประกาศนียบัตร/บันทึกการผ่านการอบรม สัมมนา หรือหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง เช่น หลักการหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง หรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง หรือหลักการที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือวัด การอ่านค่า และการสอบเทียบ หรือหลักการที่เกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษาเครื่องมือวัด อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก หรือการจัดการความเสี่ยง เป็นต้น

– มีอายุหลักฐานความรู้ไม่เกิน 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นสมัคร

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

– ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

– วิธีการปฏิบัติงาน

– มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

วิธีการประเมิน

– พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

– พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

มีทักษะและความรู้เกี่ยวกับ การทบทวนความต้องการการทดสอบผลิตภัณฑ์หม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง

(ก) คำแนะนำ

– ให้ความสำคัญกับความถูกต้องตามมาตรฐาน ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง และขีดความสามารถของการทดสอบ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

ข.1) วัตถุดิบ หรือ ข้อมูลนำเข้า

– ข้อมูลที่จำเป็น เช่น ข้อกำหนดการทดสอบของลูกค้า ผลจากเครื่องมือวัดภาวะแวดล้อมในการทดสอบ ข้อกำหนดทางเทคนิค และผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดในการทดสอบ ผลการบำรุงรักษาอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก เป็นต้น

ข.2) เครื่องมือ หรือ อุปกรณ์

– คอมพิวเตอร์ และซอพต์แวร์ที่จำเป็น

ข.3) ขั้นตอน ระเบียบหรือวิธี

– ทบทวนความเพียงพอของข้อมูลในข้อกำหนดการทดสอบของลูกค้า

– กำหนดขอบเขตของผลิตภัณฑ์ มาตรฐาน การแสดงผล และเกณฑ์การตัดสินผลการทดสอบ

– ประเมินขีดความสามารถ และทรัพยากรที่จำเป็นในการทดสอบ

– ประเมินความเสี่ยง และจัดทำมาตรการป้องกัน

– จัดทำผลการทบทวนและแจ้งให้ลูกค้า และผู้เกี่ยวข้องรับทราบ เป็นลายลักษณ์อักษรปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

– การสอบข้อเขียน และ/หรือ

– แฟ้มสะสมงาน



ยินดีต้อนรับ