หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ทดสอบผลิตภัณฑ์หม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง หัวข้อ Type tests

สาขาวิชาชีพไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EET-SUCK-067B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ทดสอบผลิตภัณฑ์หม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง หัวข้อ Type tests

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง

รหัสและอาชีพตาม ISCO-08 ได้แก่

รหัสอาชีพ 2413 : วิศวกรไฟฟ้า

รหัสอาชีพ 7241 : ช่างเครื่องและช่างปรับทางด้านอุปกรณ์ไฟฟ้ากําลัง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถทดสอบผลิตภัณฑ์หม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง หัวข้อ Type tests ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
IEC 60076 ในขอบเขตของ Power Transformerหรือ IEEE C57.12 ในขอบเขตของ Distribution and Power Transformerหรือ มอก. 384 : หม้อแปลงไฟฟ้ากำลังหรือ ข้อกำหนดของลูกค้า เป็นต้น

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
EP231 Temperature-rise test 24.1 สามารถอธิบายหลักการ และวิธีการทดสอบได้ EP231.01 145080
EP231 Temperature-rise test 24.2 สาธิตวิธีการต่อวงจรทดสอบ EP231.02 145081
EP231 Temperature-rise test 24.3 สามารถอธิบายวิธีอ่านค่า และบันทึกผลการทดสอบได้ EP231.03 145082
EP232 Dielectric type tests 25.1 สามารถอธิบายหลักการ และวิธีการทดสอบได้ EP232.01 145083
EP232 Dielectric type tests 25.2 สาธิตวิธีการต่อวงจรทดสอบ EP232.02 145084
EP232 Dielectric type tests 25.3 สามารถอธิบายวิธีอ่านค่า และบันทึกผลการทดสอบได้ EP232.03 145085

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

(ก) ทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น

– ทักษะการใช้เครื่องมือวัดพื้นฐาน

– ทักษะการวัดค่าทางไฟฟ้าแรงสูง

– ทักษะการจดบันทึก

(ข) ความรู้ก่อนหน้าที่จำเป็น

– ความรู้เกี่ยวกับชนิด และประเภทหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง

– ความรู้ในระดับพื้นฐานเกี่ยวกับมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง

– ความรู้ในระดับพื้นฐานเกี่ยวกับหลักการ และความปลอดภัยในการทดสอบไฟฟ้าแรงสูง


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

– ทักษะการใช้เครื่องมือวัดเฉพาะทาง

– ทักษะะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

(ข) ความต้องการด้านความรู้

– ความรู้ในระดับเข้าใจ และประยุกต์เกี่ยวกับมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง

– ความรู้ในระดับเข้าใจ และประยุกต์เกี่ยวกับหลักการ และความปลอดภัยในการทดสอบไฟฟ้าแรงสูง

– ความรู้ในระดับเข้าใจ และประยุกต์เกี่ยวกับหลักการทางวิศวกรรมไฟฟ้า


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

– มีหลักฐานการผ่านงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือรับรองการทำงาน หรือใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือบันทึกผลการทดสอบ เป็นต้น

– มีอายุหลักฐานการปฏิบัติงานไม่เกิน 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นสมัคร

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

– ใบประกาศนียบัตร/บันทึกการผ่านการอบรม สัมมนา หรือหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง เช่น มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง หรือหลักการที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทดสอบไฟฟ้าแรงสูง หรือหลักการที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมไฟฟ้า หรือวิธีทดสอบและข้อควรระวังที่เกี่ยวข้องในการทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง เป็นต้น

– มีอายุหลักฐานความรู้ไม่เกิน 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นสมัคร

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยต้องแสดงถึง

– ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

– วิธีการปฏิบัติงาน

– มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

วิธีการประเมิน

– พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

– พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

มีทักษะและความรู้เกี่ยวกับ ทดสอบผลิตภัณฑ์หม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง หัวข้อ Type tests

(ก) คำแนะนำ

– ให้ความสำคัญกับความถูกต้องให้เทียบเท่า หรือเหนือกว่ามาตรฐานและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง และการเพิ่มขีดความสามารถของการทดสอบ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

ข.1) วัตถุดิบ หรือ ข้อมูลนำเข้า

– ข้อมูลที่จำเป็น เช่น ข้อมูลข้อกำหนดลูกค้า ใบสั่งงาน

– ตัวอย่างชิ้นงาน เช่น ผลิตภัณฑ์ที่เข้าทดสอบ

ข.2) เครื่องมือ หรือ อุปกรณ์

– คอมพิวเตอร์ และซอพต์แวร์ที่จำเป็น

– เครื่องมือวัด

– เครื่องมือ สิ่งอำนวยความสะดวก

– สถานที่

ข.3) ขั้นตอน ระเบียบหรือวิธีปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน

– ต่อ และตรวจสอบวงจรทดสอบ

– จำลองการทดสอบผลิตภัณฑ์

– อ่านค่า และบันผลการทดสอบ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

– การสอบข้อเขียน และ/หรือ

– แฟ้มสะสมงาน



ยินดีต้อนรับ