หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารงานคุณภาพของกลุ่มงานทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

สาขาวิชาชีพไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EET-HNBG-049B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารงานคุณภาพของกลุ่มงานทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในอุตสาหกรรม

รหัสและอาชีพตาม ISCO-08 ได้แก่

รหัสอาชีพ 2143 : วิศวกรไฟฟ้า

รหัสอาชีพ 2144 : วิศวกรอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถบริหารงานคุณภาพของกลุ่มงานทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
ET111 กำหนดนโยบายคุณภาพให้กลุ่มงานทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 1.1 อธิบายหลักการกำหนดนโยบายคุณภาพ ET111.01 144935
ET111 กำหนดนโยบายคุณภาพให้กลุ่มงานทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 1.2 อธิบายวิธีการทำให้บรรลุเป้าหมายนโยบายคุณภาพ ET111.02 144936
ET112 สื่อสารนโยบายคุณภาพให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 2.1 เลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ET112.01 144937
ET112 สื่อสารนโยบายคุณภาพให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 2.2 แสดงการใช้ภาษาที่เหมาะสมในการสื่อสาร ET112.02 144938
ET112 สื่อสารนโยบายคุณภาพให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 2.3 ใช้งานอุปกรณ์และเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ ET112.03 144939
ET113 พิจารณาแต่งตั้งตำแหน่ง มอบหมาย อำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบ ให้บุคลากรในกลุ่มงานทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 3.1 อธิบายแนวคิดการแต่งตั้งและมอบหมายอำนาจหน้าที่แก่บุคลากรในกลุ่มงานทดสอบ ET113.01 144940
ET113 พิจารณาแต่งตั้งตำแหน่ง มอบหมาย อำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบ ให้บุคลากรในกลุ่มงานทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 3.2 เสนอแนะแนวทางหรือบอกวิธีการจูงใจให้บุคลากรในกลุ่มงานทดสอบทำงานอย่างเต็มศักยภาพ ET113.02 144941

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

(ก) ทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น

– ทักษะการคิดวิเคราะห์

– ทักษะการสื่อสาร

– ทักษะการนำเสนอ

(ข) ความรู้ก่อนหน้าที่จำเป็น

– ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการกลุ่มงานทดสอบ

– ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการสื่อสาร


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

– ทักษะการคิดวิเคราะห์

– ทักษะการใช้ภาษา

(ข) ความต้องการด้านความรู้

– ความรู้เกี่ยวกับ SWOT Analysis

– ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการระดับหน่วยงาน

– ความรู้เกี่ยวกับกลุ่มงานทดสอบและกระบวนการทดสอบ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

– มีหลักฐานการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับสายงานทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ หนังสือรับรองการทำงาน หรือใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือหน่วยงานต้นสังกัด

– มีอายุหลักฐานการผ่านงานไม่เกิน 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นสมัคร

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

ใบประกาศนียบัตร/บันทึกการผ่านการอบรม สัมมนา ในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง เช่น การบริหารองค์กร มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบ/สอบเทียบ มอก.17025 (ISO/IEC17025) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมข้อกำหนดทั่วไปสำหรับหน่วยตรวจ มอก.17020 (ISO/IEC 17020) เป็นต้น

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยต้องแสดงถึง

– ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

– วิธีการปฏิบัติงาน

– มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

วิธีการประเมิน

– พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

– พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

มีทักษะความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานคุณภาพของกลุ่มงานทดสอบ คือ วางนโยบายคุณภาพ สื่อสารนโยบายคุณภาพ รวมถึงพิจารณาตำแหน่ง แต่งตั้งมอบหมายอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ ให้บุคลากรในกลุ่มงานทดสอบ

(ก) คำแนะนำ

– ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ และพันธกิจขององค์กร

– ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับแผนการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

ข.1) ขั้นตอน ระเบียบหรือวิธีปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน

– ใช้ SWOT Analysis กับกลุ่มงานทดสอบ เพื่อทำความเข้าใจสถานะและบริบทของ กลุ่มงานทดสอบ และตั้งเป้าหมายที่ดีตามหลัก SMART

– กำหนดนโยบายคุณภาพของกลุ่มงานทดสอบ และจัดทำแผนเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ โดยสามารถอธิบายวิธีการคิดที่เป็นระบบ (Systems Thinking)

– สื่อสารนโยบายคุณภาพโดยแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการใช้ภาษาและเทคโนโลยี ในการสื่อสารที่เหมาะสม สุภาพ เข้าใจง่าย และกระชับ

– กำหนด เลือกใช้ ทรัพยากรมนุษย์ภายในกลุ่มงานทดสอบให้สอดคล้องกับศักยภาพความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ของแต่ละบุคคล โดยสามารถอธิบายแนวคิดในการกำหนดเลือกใช้

– จูงใจ สร้างแรงบันดาลใจ ให้บุคลากรในกลุ่มงานทดสอบ ทำงานอย่างเต็มศักยภาพตามสมรรถนะที่มี โดยสามารถเสนอแนะแนวทางหรือวิธีการ

ข.2) สภาวะในการทำงาน

– ดำเนินการโดยมีกรอบเวลาและทำให้ได้ตามกรอบเวลา

– ดำเนินการโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้และความยั่งยืน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สมรรถนะอาจจะได้รับการประเมินผ่าน

– ข้อสอบข้อเขียน

– ข้อสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ