หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดวิธีการประเมินและดำเนินการประเมินผลในแต่ละขั้นตอนการทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

สาขาวิชาชีพไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EET-FNEC-057B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดวิธีการประเมินและดำเนินการประเมินผลในแต่ละขั้นตอนการทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในอุตสาหกรรม

รหัสและอาชีพตาม ISCO-08 ได้แก่

รหัสอาชีพ 2143 : วิศวกรไฟฟ้า

รหัสอาชีพ 2144 : วิศวกรอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถกำหนดวิธีการประเมินและดำเนินการประเมินผลในแต่ละขั้นตอนการทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
ET411 วิเคราะห์วิธีการประเมิน 19.1 อธิบายวิธีการหาค่าความไม่แน่นอนของการวัด Type A และ Type B ET411.01 144983
ET411 วิเคราะห์วิธีการประเมิน 19.2 แสดงวิธีการคำนวณหาค่าความไม่แน่นอนในการวัดตามที่กำหนด ET411.02 144984
ET412 เลือกใช้วิธีการทางสถิติ และเครื่องมือทางสถิติ 20.1 อธิบายวิธีการวิเคราะห์ผลข้อมูลด้วย Regression และ T-Test ตามที่กำหนด ET412.01 144985
ET412 เลือกใช้วิธีการทางสถิติ และเครื่องมือทางสถิติ 20.2 แสดงวิธีการใช้งานเครื่องมือ (Software) วิเคราะห์ผลทางสถิติตามที่กำหนด ET412.02 144986
ET413 ประเมินผลการทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 21.1 อธิบายวิธีการประเมินผลการทดสอบ และเกณฑ์การยอมรับ ET413.01 144987
ET413 ประเมินผลการทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 21.2 อธิบายรายงานผลการทดสอบและแปลผล ET413.02 144988

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

(ก) ทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น

– ทักษะทางคณิตศาสตร์

– ทักษะการคำนวณทางสถิติ

(ข) ความรู้ก่อนหน้าที่จำเป็น

– ความรู้เชิงสถิติ

– ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรมวิเคราะห์เชิงสถิติ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

– ทักษะการประเมิน

– ทักษะการใช้งานโปรแกรมวิเคราะห์เชิงสถิติ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

– ความรู้ในเชิงสถิติ

– ความรู้เกี่ยวกับการแปลผลการทดสอบและการประเมิน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

– มีหลักฐานการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับสายงานทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ หนังสือรับรองการทำงาน หรือใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือหน่วยงานต้นสังกัด

– มีอายุหลักฐานการผ่านงานไม่เกิน 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นสมัคร

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

ใบประกาศนียบัตร/บันทึกการผ่านการอบรม สัมมนา ในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง เช่น การประเมินผลทางสถิติด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป การแปลผลและตีความข้อมูล การตรวจประเมินระบบคุณภาพ

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยต้องแสดงถึง

– ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

– วิธีการปฏิบัติงาน

– มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

วิธีการประเมิน

– พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

– พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

มีทักษะความรู้เกี่ยวกับการกำหนดวิธีการประเมินและดำเนินการประเมินผลในแต่ละขั้นตอนการทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

(ก) คำแนะนำ

– ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับวิธีการทางสถิติ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

ข.1) ขั้นตอน ระเบียบหรือวิธีปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน

– เลือกใช้วิธีการทางสถิติ เช่น T-Test, F- Test Z Score, Regression, Anova, Factorial, Uncertainty เป็นต้น

– วิเคราะห์ผลด้วยโปรแกรมทางสถิติ เช่น Excel, SPSS, Minitab เป็นต้น

– แปลผล และจัดทำรายงานการประเมิน 

ข.2) สภาวะในการทำงาน

– ดำเนินการโดยคำนึงถึงความถูกต้องแม่นยำของผลการประเมิน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สมรรถนะอาจจะได้รับการประเมินผ่าน

– ข้อสอบข้อเขียน

– ข้อสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ