หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดำเนินการจัดการระบบคุณภาพในกระบวนการผลิต

สาขาวิชาชีพไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EET-KBDM-044B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดำเนินการจัดการระบบคุณภาพในกระบวนการผลิต

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักพัฒนาระบบคุณภาพในกระบวนการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

รหัสและอาชีพตาม ISCO-08 ได้แก่

รหัสอาชีพ 2143 : วิศวกรไฟฟ้า

รหัสอาชีพ 2144 : วิศวกรอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          มีทักษะความรู้เกี่ยวกับการจัดการระบบคุณภาพในกระบวนการผลิต

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
EQ211 จัดการระบบคุณภาพได้สอดคล้องครบถ้วนกับมาตรฐานและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง 6.1 ปฏิบัติตามระบบคุณภาพ ตามมาตรฐานและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องได้ EQ211.01 144908
EQ211 จัดการระบบคุณภาพได้สอดคล้องครบถ้วนกับมาตรฐานและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง 6.2 จัดการระบบคุณภาพได้ตามมาตรฐานของลูกค้าและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง EQ211.02 144909
EQ212 จัดทำแผนควบคุมคุณภาพ (Quality Control Plan) ขั้นตอนการทำงาน (Standard Operating Procedure - SOP) ระบบการจัดการเอกสาร (Document Control) และระบบ Engineering Change System (ECN/ECO) ได้อย่างถูกต้อง 7.1 จัดทำบันทึกตามแผนควบคุมคุณภาพหรือขั้นตอนการทำงานได้อย่างถูกต้อง EQ212.01 144910
EQ212 จัดทำแผนควบคุมคุณภาพ (Quality Control Plan) ขั้นตอนการทำงาน (Standard Operating Procedure - SOP) ระบบการจัดการเอกสาร (Document Control) และระบบ Engineering Change System (ECN/ECO) ได้อย่างถูกต้อง 7.2 จัดทำระบบเอกสารและการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงเอกสารได้ EQ212.02 144911

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

(ก) ทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น

– ทักษะเขียน

– ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ

– ทักษะการนำเสนองาน

(ข) ความรู้ก่อนหน้าที่จำเป็น

– ความรู้พื้นฐานนำเกี่ยวกับระบบคุณภาพ

– ความรู้ข้อควรปฏิบัติแนะนำเกี่ยวกับระบบคุณภาพ

– ความรู้มาตรฐานความปลอดภัยในการทำงาน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

– ทักษะการตีความคำแนะนำการทำงาน

– ทักษะการตีความ กำหนด และอธิบายขั้นตอนการทำงาน

– ทักษะการแก้ปัญหาในสถานการณ์ฉุกเฉิน

– ทักษะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

– ความรู้หลักการทั่วไปด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

– ความรู้การประยุกต์ใช้งานคอมพิวเตอร์

– ความรู้เกี่ยวกับระบบคุณภาพ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

– มีหลักฐานการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับสายงานพัฒนาระบบคุณภาพในกระบวนการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ หนังสือรับรองการทำงาน หรือใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือหน่วยงานต้นสังกัด

– มีอายุหลักฐานการผ่านงานไม่เกิน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นสมัคร

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

ใบประกาศนียบัตร/บันทึกการผ่านการอบรม สัมมนา ในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง เช่น ความปลอดภัยในการทำงาน การใช้งานอุปกรณ์ความปลอดภัย

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยต้องแสดงถึง

– ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

– วิธีการปฏิบัติงาน

– มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

วิธีการประเมิน

– พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

– พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ

N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

– ระบบการจัดการด้านคุณภาพที่เป็นมาตรฐานสากล อาทิเช่น ISO9000, RBA-EICC, WEE, TUV หรือข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง

– แผนควบคุมคุณภาพ (Quality Control Plan) ขั้นตอนการทำงาน (Standard Operating Procedure - SOP) ระบบการจัดการเอกสาร (Document Control) วิธีสำหรับการปฏิบัติการแก้ไขข้อบกพร่อง (Corrective Action Request - CAR) และระบบ Engineering Change System (ECN/ECO)

– ขอบเขตหน้าที่ของบุคลากรของระบบคุณภาพในกระบวนการผลิต อาทิเช่น การควบคุมคุณภาพภายใน การควบคุมคุณภาพภายนอก และการประกันคุณภาพ เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง (Sampling Techniques), 7 QC tools

– เครื่องมือจัดการด้านคุณภาพและสถิติพื้นฐาน อาทิเช่น Histogram, Check Sheet, Scatter Diagram, Control Charts, Pareto Charts และการใช้ Basic Statistic ในโปรแกรม Minitab หรือเทียบเคียง

– ระบบรับข้อร้องเรียน การบันทึกข้อร้องเรียน การแก้ไขและการสื่อสารผลการปรับปรุงกับผู้ร้องเรียน อาทิเช่น การใช้ 3D และ 8D Response

– ความสามารถของเครื่องมือวัด measurement capability analysis (MCA) or MSA เครื่องมือวัดที่งานคุณภาพเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ เช่น GO gage และ NOGO gage


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

– ข้อสอบข้อเขียน

– ข้อสอบปฏิบัติ

– ข้อสอบสัมภาษณ์

– แฟ้มสะสมงาน



ยินดีต้อนรับ