หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนและออกแบบระบบคุณภาพในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

สาขาวิชาชีพไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EET-QYBV-043B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนและออกแบบระบบคุณภาพในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักพัฒนาระบบคุณภาพในกระบวนการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

รหัสและอาชีพตาม ISCO-08 ได้แก่

รหัสอาชีพ 2143 : วิศวกรไฟฟ้า

รหัสอาชีพ 2144 : วิศวกรอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          มีทักษะความรู้เกี่ยวกับการวางแผนและออกแบบระบบคุณภาพในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
EQ121 วางแผนระบบคุณภาพได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิผล 4.1 วางแผนระบบคุณภาพให้สอดคล้องกับมาตรฐานได้ EQ121.01 144904
EQ121 วางแผนระบบคุณภาพได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิผล 4.2 อธิบายและเลือกใช้เครื่องมือจัดการด้านสถิติขั้นสูงได้ EQ121.02 144905
EQ122 ออกแบบระบบคุณภาพได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิผล 5.1 บริหารระบบคุณภาพได้สอดคล้องครบถ้วนกับมาตรฐานของลูกค้าหรือและมาตรฐานสากลที่กำหนดได้ EQ122.01 144906
EQ122 ออกแบบระบบคุณภาพได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิผล 5.2 อธิบายเครื่องมือจัดการด้านคุณภาพที่สำคัญได้ EQ122.02 144907

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

(ก) ทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น

– ทักษะเขียน

– ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ

– ทักษะการนำเสนองาน

(ข) ความรู้ก่อนหน้าที่จำเป็น

– ความรู้พื้นฐานนำเกี่ยวกับระบบคุณภาพ

– ความรู้ข้อควรปฏิบัติแนะนำเกี่ยวกับระบบคุณภาพ

– ความรู้มาตรฐานความปลอดภัยในการทำงาน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

– ทักษะการตีความคำแนะนำการทำงาน

– ทักษะการตีความ กำหนด และอธิบายขั้นตอนการทำงาน

– ทักษะการแก้ปัญหาในสถานการณ์ฉุกเฉิน

– ทักษะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

– ความรู้หลักการทั่วไปด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

– ความรู้การประยุกต์ใช้งานคอมพิวเตอร์

– ความรู้วางแผนและออกแบบระบบคุณภาพ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

– มีหลักฐานการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับสายงานพัฒนาระบบคุณภาพในกระบวนการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ หนังสือรับรองการทำงาน หรือใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือหน่วยงานต้นสังกัด

– มีอายุหลักฐานการผ่านงานไม่เกิน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นสมัคร

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

ใบประกาศนียบัตร/บันทึกการผ่านการอบรม สัมมนา ในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง เช่น ความปลอดภัยในการทำงาน การใช้งานอุปกรณ์ความปลอดภัย

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยต้องแสดงถึง

– ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

– วิธีการปฏิบัติงาน

– มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

วิธีการประเมิน

– พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

– พิจารณาตามหลักฐานความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ

N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

– ระบบการจัดการด้านคุณภาพที่เป็นมาตรฐานสากล อาทิเช่น ISO9000, RBA-EICC, WEE, TUV หรือข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง

– ขอบเขตหน้าที่ของบุคลากรของระบบคุณภาพในกระบวนการผลิต อาทิเช่น

1) การควบคุมคุณภาพภายใน (Quality Control, In-Process Quality Control, Quality Assurance, Process Quality Engineering, Outgoing Quality Assurance)

2) การควบคุมคุณภาพภายนอกและการประกันคุณภาพ (Out of Box Audit, Incoming Quality Assurance, Final Quality Audit/Assurance, Reliability Engineering, Metrology & Calibration Engineering, Supplier Quality Engineering, Customer Quality Engineering/Customer Satisfaction Engineering, Materials Service Laboratory, Analysis Service Laboratory)

– เครื่องมือจัดการด้านคุณภาพที่สำคัญ อาทิเช่น Six Sigma และการจัดการปัญหาคุณภาพด้วย Root Cause Analysis ที่สำคัญ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

– ข้อสอบข้อเขียน

– ข้อสอบสัมภาษณ์

– แฟ้มสะสมงาน

 



ยินดีต้อนรับ